Author: admin

แนะนำกุรรออ์ ซับอะฮ์ (3) – อาซิม

อาซิม  ท่านชื่อ อบูบักร อาซิม บิน อะบิลนุญูด อัล อะซะดีย์ ท่านเป็นนักอ่านที่มีชื่อเสียงที่สุดในหมู่นักอ่านทั้ง 7 ท่านเป็นชาวกูฟะฮ์ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับด้วย ท่านอาซิมเรียนกุรอานในรูปแบบอัรฎ์ (อ่านให้อาจารย์ฟังโดยอาจารย์จะคอยตรวจสอบความถูกต้อง) กับ ท่านท่านอะบูอับดุลเราะห์มานซุลละมีย์  ท่านท่านอะบูอับดุลเราะห์มานซุลละมีย์ มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดศาสตร์การอ่านกุรอานให้กับนักอ่านชาวกูฟะฮ์เป็นอย่างมากซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของท่านอิมาม อะลี บิน อะบีฏอลิบ

Read More...

แนะนำกุรรออ์ ซับอะฮ์ (2) – อิบนิ กะซีร

อิบนิ กะซีร ท่านมีชื่อว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ กะซีร ดารี มักกีย์ เป็นนักกอรีจากเมืองมักกะฮ์ คำว่าดารีเป็นฉายาของท่านหมายถึงพ่อค้าน้ำหอม ซึ่งมาจากการที่ช่วงเวลาหนึ่งท่านมีอาชีพเป็นพ่อค้าน้ำหอมอยู่ในตลาดเมืองมักกะฮ์ ท่านเป็นชาวมักกะฮ์โดยกำเนิดและเสียชีวิตที่เมืองนี้ด้วย  ท่านอิบนิกะซีร เรียนกุรอานในรูปแบบ อัรฎ์ (อ่านให้อาจารย์ฟังโดยอาจารย์จะคอยตรวจสอบความถูกต้อง) จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน ซาอิบ (เป็นซอฮาบะฮ์สมัยนบี) จากท่านมุญาฮิด

Read More...

แนะนำกุรรออ์ ซับอะฮ์ (1) – อิบนิอะมีร

ท่านมีชื่อว่า อับดุลลอฮ์ บิน อามิร บิน ยะซีด ยะฮ์ซุบีย์ มีฉายานามว่า อะบูอิมรอน เป็นชาวซีเรีย มีเชื้อสายตระกูลเป็นชาวเยเมน ท่านเรียนการอ่านมาจากท่าน มุฆีเราะฮ์ บิน อะบี ชะฮาบ มัคซูมีย์ ซึ่งท่านมุฆีเราะฮ์สืบทอดการอ่านมาจากท่านอุศมาน บิน

Read More...

รูปแบบการอ่านกุรอาน (อิลมุลกิรออะฮ์)

อิลมุล กิรออะฮ์ เป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่อง กฏเกณฑ์ในการอ่านออกเสียง  การหยุด  การเริ่มต้น การอ่านควบตัวอักษร รวมทั้งกล่าวถึงการอ่านคำในกุรอานในรูปแบบต่าง ๆ  ด้วย ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ถือเป็นครูสอนกุรอานคนแรกของโลกอิสลามบรรดาซอฮาบะฮ์บางท่านเช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอุศมาน บิน อัฟฟาน ท่านอับดุลลอฮ์

Read More...

บทบัญญัติเกี่ยวกับเอียะอ์ติกาฟ

บทบัญญัติเกี่ยวกับเอียะอ์ติกาฟ เอียะอ์ติกาฟคือการพักแรมในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ ชนิดต่าง ๆ ของการเอียะอ์ติกาฟ เอียะอ์ติกาฟแบ่งออกเป็นสองรูปแบบด้วยกันคือ  1 - เอียะอ์ติกาฟมุสตะฮับ  2 - เอียะอ์ติกาฟวาญิบ เอียะอ์ติกาฟตามหลักการโดยตัวของมันเองเป็น ช่วงเวลาการเอียะอ์ติกาฟ สามารถเอียะอ์ติกาฟได้ตลอดทั้งปี อย่างน้อยสามวันโดยให้ตั้งใจเหนียตอยู่ในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์และถือศิลอดก็ถือว่าใช้ได้แล้ว   เงื่อนไขการเอียะอ์ติกาฟ เงื่อนไขของความถูกต้องของการเอียะอ์ติกาฟ บางส่วนขึ้นอยู่มีกับตัวผู้เอียะอ์ติกาฟเอง แต่บางส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับเอียะอ์ติกาฟ ซึ่งจะขอกล่าวถึงเงื่อนไขและอะกามที่จำเป็นดังนี้ เงื่อนไขของผู้เอียะอ์ติกาฟ  1.มีสติสัมปชัญญะ(ผู้วิกลจริตถือว่าไม่ถูกต้อง) 2.ผู้มีศรัทธา(ไม่ใช่มุอ์มินถือว่าไม่ถูกต้อง) 3.ตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)( การมีเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ (ริยา) และการมีเจตนาโอ้อวด ทำให้เอียะติกาฟเป็นโมฆะ) 4.ถือศีลอดในช่วงเอียะติกาฟ 5.การขออนุญาติ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องขออนุญาติ เงื่อนไขการเอียะติกาฟ 1.เวลา  จะต้องไม่น้อยกว่า 3 วัน

Read More...

บทบาทของสตรีจากคำสอนของบรรดามะศูมีน

บทบาทของสตรีจากคำสอนของบรรดามะศูมีน คำสอนสั่งจากบรรดามะซูมีนจะทำให้เราเข้าใจถึงบทบาทของสตรีมากขึ้น วจนะที่1. ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวว่า أَكثَرُ الخَيرِ فِى النِّساءِ ความดีงามและบารากัตที่มีมากที่สุดอยู่ในตัวสตรี (มันลายะฮฺฎอรอฮุลฟากิฮฺ,เล่มที่3,หน้าที่ 385, วัจนะที่ 4352)   วจนะที่ 2 . ท่านศาสดา(ศ.)ได้กล่าวว่า اَلمَرأَةُ الصّالِحَةُ أَحَدُ الكاسبین สตรีผู้ประเสริฐคือหนึ่งในที่มาของความพัฒนาของครอบครัว  (บิฮารุลอันวาร , เล่มที่103,หน้าที่ 238, วัจนะที่ 39)   วจนะที่

Read More...

ผู้จดบันทึกอัล กุรอาน

ตามที่บรรดามุสลิมเราทราบกันดีอยู่แล้วก็คือท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) เป็นผู้ที่ไม่รู้หนังสือ คืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ไม่มีบันทึกในประวัติศาสตร์เลยว่าท่านเขียนหรือท่านอ่านสิ่งใด  ด้วยเหตุนี้เองในหมู่ชาวอาหรับ ท่านจึงได้รับฉายาว่า อุมมี (ผู้ไม่รู้หนังสือ) อัล กุรอานเองก็กล่าวถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) ในลักษณะนี้เช่นเดียวกันโดยกล่าวไว้ในซูเราะฮ์อะอ์รอฟในโองการที่ 157 – 158 ว่า  فَآمِنُوا

Read More...

วิเคราะห์เรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 3)

เวลาในเรื่องเล่ากุรอานมีบทบาทอย่างไรบ้าง ? ในเรื่องเล่ากุรอานสถานที่ถูกฉายไว้อย่างไรบ้าง ? องค์ประกอบของเรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 2) เวลา เวลาถือว่ามีบทบาทสำคัญสำหรับการเล่าเรื่องเช่นกัน   เวลาเป็นองค์ประกอบที่เหมือนกับพาหนะที่เนื้อเรื่องใช้ขับขี่เพื่อขับเคลื่อนเหตุการณ์ให้ดำเนินไปสู่อนาคตข้างหน้า ช่วงเวลาในฉากต่าง ๆ ของเรื่องเล่าจะวาดภาพในหัวของผู้ฟังให้ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง ธรรมชาติของเวลาคือการขับเคลื่อนและการเคลื่อนไหวไปสู่อนาคตข้างหน้า  ดังนั้นหากพิจารณาในเรื่องเล่าที่เล่าบนพื้นฐานของความเป็นจริง ช่วงเวลาต่าง ๆ ของเรื่องจะถูกวางไว้อย่างเป็นระเบียบสมบูรณ์ แต่ในส่วนของเรื่องเล่าที่ไม่ได้เล่าจากเรื่องจริง บางทีจะเห็นว่าเวลาไม่ได้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของมัน เรื่องเล่าในกุรอานที่ผู้เล่าเป็นผู้มีวาจาสัจและเล่าบนพื้นฐานความจริง องค์ประกอบเรื่องเวลาจะถูกนำเสนอไปอย่างมีความหมายและเรียงร้อยอย่างเป็นระบบระเบียบตามธรรมชาติของมันอย่างชัดเจน เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างจะกล่าวถึงเรื่องราวการถูกเลือกของอาลิอิมรอนให้เป็นศาสนทูตจนกระทั่งท่านนบีอีซาซึ่งเป็นหนึ่งใน

Read More...

วิเคราะห์เรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 2)

องค์ประกอบของเรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 1) กุรอานให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของเรื่องเล่าอย่างไร ? คุณสมบัติของตัวละครในเรื่องเล่ากุรอานมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? กุรอานให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่องของเรื่องเล่าอย่างไร ? องค์ประกอบของเรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 1) ในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าส่วนมากจะถูกนำเสนออยู่ในองค์ประกอบเฉพาะเช่นต้องมีตัวละคร เนื่อเรื่อง มีการกล่าวถึงเวลา สถานที่และมีบทสนทนาอยู่ในนั้นโดยถ้าหากว่าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปจะถูกถือว่าเป็นความบกพร่องของเรื่องเล่าดังกล่าวไปเลย  แต่เรื่องเล่าในกุรอานทุกองค์ประกอบที่กล่าวถึงทั้งหมดอวางอยู่ภายใต้  “วัตถุประสงค์” องค์ประกอบทุกอย่างมีบทบาทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์นี้เอง ดังนั้นในเรื่องเล่ากุรอานบางทีจะมีการพูดถึงเนื้อหาของเรื่องมากกว่าการกล่าวถึงตัวละคร บางทีบทสนทนาของเรื่องเป็นเนื้อหาสำคัญในการเล่าเรื่องและให้ความสำคัญมากกว่าเวลาหรือสถานที่ จากตรงนี้จะขอนำเสนอองค์ประกอบของการเล่าเรื่องโดยสังเขปพร้อมยกตัวอย่างจากอัลกุรอานมาประกอบคำอธิบายด้วย ตัวละคร ตัวละครถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องและเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญของเรื่องด้วย

Read More...

วิเคราะห์เรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 1)

กิซเซาะฮ์คืออะไร ? กิซเซาะฮ์ (เรื่องเล่า) กุรอานเป็นอย่างไร ? คำนิยามของคำว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน” ประเด็นเกี่ยวกับคำว่า กิซเซาะตุลกุรอาน นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันดังต่อไปนี้ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า โองการที่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าคือโองการที่นำเอาศิลปะและองค์ประกอบในการเล่าเรื่องมาใช้ในการนำเสนอ ตามทัศนะนี้เรื่องราวของ อัซฮาบุลฟีล ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าเพราะมีเนื้อหาสั้นไปไม่มีองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า โองการที่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน” คือโองการที่เล่าเรื่องราวของบรรพชนในอดีตเท่านั้น

Read More...

Mobile Sliding Menu