รูปแบบการอ่านกุรอาน (อิลมุลกิรออะฮ์)

In อัลกุรอาน

อิลมุล กิรออะฮ์ เป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่อง กฏเกณฑ์ในการอ่านออกเสียง  การหยุด  การเริ่มต้น การอ่านควบตัวอักษร รวมทั้งกล่าวถึงการอ่านคำในกุรอานในรูปแบบต่าง ๆ  ด้วย

ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ถือเป็นครูสอนกุรอานคนแรกของโลกอิสลามบรรดาซอฮาบะฮ์บางท่านเช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอุศมาน บิน อัฟฟาน ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ได้เรียนรู้กุรอานโดยตรงจากท่านศาสดา (ศ็อล ฯ)  บรรดาสาวกที่เรียนรู้กุรอานแล้วก็มีหน้าที่สอนกุรอานให้กับสาวกคนอื่น ๆ ด้วย อีกทั้งบรรดาชนรุ่นหลังที่ไม่ได้อยู่ในช่วงสมัยของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ก็เรียนกุรอานกับบรรดาซอฮาบะฮ์    

ในช่วงเวลาการถ่ายทอดวิชาความรู้จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งนี้เองได้กำเนิดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการอ่านกุรอานขึ้น และเป็นช่วงเวลาที่บรรดามุสลิมมีจำนวนมากขึ้น ต่างคนต่างต้องการที่จะเรียนรู้กุรอาน ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการของเหล่าผู้หลงใหลในกุรอาน 

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดศาสตร์การอ่านกุรอานและได้รายงานการอ่านที่ถูกต้องจากบรรดาซอฮาบะฮ์ อีกทั้งแต่ละคนก็มีลูกศิษย์ที่แตกแขนงออกไปมากมาย จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าศาสตร์การอ่านกุรอานถูกถ่ายทอดมาจากแหล่งเดียวคือจากท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) โดยผ่านบรรดาซอฮาบะฮ์ และตาบิอีน แต่เราจะเห็นการอ่านที่หลากหลายและแตกต่างกัน มีคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

มีคนตั้งสมมุติฐานว่าอาจเป็นเพราะว่าท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) เองอนุญาตให้สามารถอ่านคำบางคำในกุรอานได้หลากหลายรูปแบบ หรือจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงประทานกุรอานโดยอนุญาตให้ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) อ่านคำบางคำได้หลายรูปแบบตั้งแต่แรกแล้ว แต่บางคนก็เชื่อว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นเกิดจากการรายงานฮะดิษเกี่ยวกับการอ่านของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ที่แตกต่างกันของนักรายงานฮะดีษ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือมุสลิมทุกคนพยายามอย่างที่สุดที่จะให้การอ่านของตนเองใกล้เคียงกับการอ่านของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) มากที่สุด ด้วยเหตุนี้เองบางคนต้องเดินทางด้วยความลำบากเพื่อเสาะหาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาศาสตร์การอ่านจากท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) โดยตรง

ในช่วงแรกนักอ่านและผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจะถ่ายทอดวิธีการอ่านแบบตัวต่อตัว  แต่ต่อมาภายหลังได้มีการเขียนกฏเกณฑ์ทั้งหมดเป็นตำราโดยเชื่อกันว่าตำราเล่มแรกที่เขียนเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ นี้คือหนังสือของ ฮัมซะฮ์ บิน ฮะบีบ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกุรรอ ซับอะฮ์ ด้วย

ในหมู่ซอฮาบะฮ์และตาบิอีนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 1 และ 2 มีจำนวน 10 คนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผุ้เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านการอ่านกุรอาน ซึ่งในจำนวน 10 คนดังกล่าวนั้นมีอยู่ 7 ท่านด้วยกันที่มีชื่อเสียงมากทีสุดซึ่งต่อมาภายหลัง 7 ท่านนี้เองได้รับฉายานามว่า กุรรออ์ ซับอะฮ์ (นักอ่านทั้ง 7)

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu