บทบัญญัติเกี่ยวกับเอียะอ์ติกาฟ

In อะฮ์ลุลบัยต์

บทบัญญัติเกี่ยวกับเอียะอ์ติกาฟ

เอียะอ์ติกาฟคือการพักแรมในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์

ชนิดต่าง ๆ ของการเอียะอ์ติกาฟ

เอียะอ์ติกาฟแบ่งออกเป็นสองรูปแบบด้วยกันคือ 

1 – เอียะอ์ติกาฟมุสตะฮับ 

2 – เอียะอ์ติกาฟวาญิบ

เอียะอ์ติกาฟตามหลักการโดยตัวของมันเองเป็น

ช่วงเวลาการเอียะอ์ติกาฟ

สามารถเอียะอ์ติกาฟได้ตลอดทั้งปี อย่างน้อยสามวันโดยให้ตั้งใจเหนียตอยู่ในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์และถือศิลอดก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

 

เงื่อนไขการเอียะอ์ติกาฟ

เงื่อนไขของความถูกต้องของการเอียะอ์ติกาฟ บางส่วนขึ้นอยู่มีกับตัวผู้เอียะอ์ติกาฟเอง แต่บางส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับเอียะอ์ติกาฟ ซึ่งจะขอกล่าวถึงเงื่อนไขและอะกามที่จำเป็นดังนี้

เงื่อนไขของผู้เอียะอ์ติกาฟ 

1.มีสติสัมปชัญญะ(ผู้วิกลจริตถือว่าไม่ถูกต้อง)

2.ผู้มีศรัทธา(ไม่ใช่มุอ์มินถือว่าไม่ถูกต้อง)

3.ตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)( การมีเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ (ริยา) และการมีเจตนาโอ้อวด ทำให้เอียะติกาฟเป็นโมฆะ)

4.ถือศีลอดในช่วงเอียะติกาฟ

5.การขออนุญาติ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องขออนุญาติ

เงื่อนไขการเอียะติกาฟ

1.เวลา  จะต้องไม่น้อยกว่า 3 วัน

  1. สถานที่ ต้องเป็นมัสยิดญามิอฺ (หมายถึงมัสยิดที่ใช้ประกอบพิธีละหมาดญ่ามาอะห์)

3.พำนักในมัสยิดโดยไม่ออกจามมัสยิด

การเนียตในเอียะติกาฟ

1.เอียะติกาฟเหมือนอิบาดะฮ์อื่นๆที่จะต้องตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)การมีเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ (ริยา) การมีเจตนาโอ้อวด และมีเจตนาเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ(ซบ.)ถือว่าเป็นโมฆะ

2.เนียตนั้นไม่จำเป็นว่าเราจะตั้งเจนนาเอียะติกาฟวาญิบหรือมุสตะฮับ

3.ตั้งแต่เริ่มเอียะติกาฟ จนกระทั้งจบเอียะติกาฟจะต้องตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)

ดังนั้นเพียงการตั้งเจตนาว่าจะเริ่มเอียะติกาฟ ถือว่าถูกต้อง หรือเพียงแค่บุคคลผู้หนึ่งตั้งเจตนาว่าจะไมมัสยิด ตั้งการปรากฏของแสงเงินแสงทองของรุ่งอรุณ ถือว่าถูกต้อง

4.ในเอียะติกาฟมนุษย์สามารถที่เอียะติกาฟเพื่อตัวเอง หรือเพื่อผู้อื่นได้ ในส่วนที่สองเรียกว่า เอียะติกาฟ นิยาบะตี

5.การเอียะติกาฟเพื่อผู้อื่นถือว่าไม่เป็นไร แต่จะต้องถือให้กับผู้ที่ยังมีชีวิต…….

สรุปคือ เอียะติกาฟนั้นมีหลายส่วนด้วยกัน 

1.เอียะติกาฟสำหรับตัวมนุษย์เอง 

2.เอียะติกาฟสำหรับผู้อื่น 

3.เอียะติกาฟเพื่อคนตาย

4.เอียะติกาฟเพื่อคนเป็น

หมายเหตุ

*แม้ว่าการถือศิลอดไม่สามารถทำแทนกันได้แต่ทว่าการถือศิลอดในเอียะติกาฟเช่นเดียวกับการนมาซที่มีต่อเตาวาฟที่การงานหนึ่งจะต้องสัมพันธ์ไปอีกการงานหนึ่ง เช่นเดียวกับเตาวาฟและนมาซที่ผู้กระทำต้องมีชีวิตถึงจะถูกต้อง การเอียะติกาฟและการถือศิลอดก็เช่นกัน

*การเอียะติกาฟเพื่อคนสองคนหรือเพื่อหลายคนถือว่าไม่ถูกต้อง แต่สามารถทำการเนียตเอียะติกาฟเพื่อตัวเองได้โทษอุทิสผลบุญเหล่านั้นแก่ผู้อื่น จะจำนวน 1 คน หรือหลายคน มีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

การถือศีลอดในเอียะติกาฟ

1.ในช่วงเวลาเอียะติกาฟนั้นจะต้องถือศิลอด ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ เช่น คนเดินทาง คนป่วย สตรีที่มีประจำเดือน หรือนิฟาอ์ และผู้ที่ตั้งใจจะไม่ถือศิลอด เอียะติกาฟของเขาไม่ถูกต้อง

2.ผู้เดินทาง และผู้ป่วยหากทำการเอียะติกาฟ ถือว่าไม่ถูกต้อง แต่สตรีที่มีประจำเดือนหรือนิฟาอ์ ไม่เพียงการเอียะติกาฟของนางจะไม่ถูกต้องแล้วแต่ทว่าการพำนักอยู่ในมัสยิดนางยังเป็นบาปอีกด้วย

3.การเอียะติกาฟในวันอีดฟิตร อีดีรอัดฮา หรือสองวันก่อนอีดซึ่งวันที่สามไปตกอยู่วันอีดถือว่าไม่ถูกต้อง

4.ไม่จำเป็นที่จะถือศีลอดเพื่อการเอียะติกาฟ ศิลอดทุกๆศิลอดถือว่าถูกต้องเช่น ในช่วงเอียะติกาฟ ถือศิลอดใช่ (กอฎอ)นัซ(บนบาน)…….

5.หากผู้หนึ่งได้ทำการนัซ (บนบาน)ว่าจะถือศีลอดในช่วงเวลาที่ทำเอียะติกาฟ การถือศีลอดนัซ(บนบาน)เป็นหน้าที่ของเขา

 เอี๊ยะติกาฟ (إعْـتِـكافٌ)  อ่านว่า เอี๊ยะ-ติ-กาฟ ผันมาจากกริยาเดิมคือ ( عـَكَفَ ) อ้า-ก้า-ฟ่า โดยเพิ่ม อ้าลิฟกับตา เข้ามา ตามหลักภาษาแปลว่าการประจำอยู่ ณ สถานที่ไดสถานที่หนึ่งและอยู่ติด ฝังตัวกับสถานที่นั้นตลอดเวลา ส่วนคำนิยามตามศาสนบัญญัตินั้นนักนิติศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความไว้มากมายโดยใช้คำที่ต่างกันแต่ความหมายที่ออกมาใกล้เคียงกัน ดังนี้

  1. ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามฮานาฟี คือ การพำนักอยู่ในมัสยิดญามิอฺ (หมายถึงมัสยิดที่ใช้ประกอบพิธีละหมาดญ่ามาอะห์) โดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟพร้อมกับถือศีลอดควบคู่ไปด้วย
  2. ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามมาลีกี คือ การที่มุสลิมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วอยู่ประจำกับมัสยิดโดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟพร้อมกับถือศีลอดหนึ่งวันเพื่อเป็นการอิบาดะห์
  3. ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามชาฟีอี คือ การพำนักอยู่ในมัสยิดของบุคคลที่ศาสนากำหนดโดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟ
  4. ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามอะห์หมัด คือ การประจำอยู่ในมัสยิดเพื่อแสดงความภักดีต่ออัลเลาะห์ ด้วยกับรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้ กล่าวคือ ต้องเป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ สะอาดปราศจากฮ่าดัสใหญ่หรือสิ่งที่ทำให้จำเป็นต้องอาบน้ำวายิบ  

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu