วิเคราะห์เรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 1)

In อัลกุรอาน
  • กิซเซาะฮ์คืออะไร ?
  • กิซเซาะฮ์ (เรื่องเล่า) กุรอานเป็นอย่างไร ?

คำนิยามของคำว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”

ประเด็นเกี่ยวกับคำว่า กิซเซาะตุลกุรอาน นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันดังต่อไปนี้ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า โองการที่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าคือโองการที่นำเอาศิลปะและองค์ประกอบในการเล่าเรื่องมาใช้ในการนำเสนอ ตามทัศนะนี้เรื่องราวของ อัซฮาบุลฟีล ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าเพราะมีเนื้อหาสั้นไปไม่มีองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง

นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า โองการที่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน” คือโองการที่เล่าเรื่องราวของบรรพชนในอดีตเท่านั้น ตามทัศนะนี้ เรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ซึ่งถือเป็นเรื่องเล่าที่อยู่ร่วมสมัยกับการประทานอัลกุรอานจึงไม่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”

นักวิชาการอีกกลุ่มเชื่อว่า กิซเซาะตุลกุรอาน คือโองการที่กล่าวถึงเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตามทัศนะนี้ทุกเรื่องราวที่กุรอานเล่าให้ผู้ฟังรวมทั้งเรื่องราวในสมัยนบีถือเป็น “กิซเซาะตุลกุรอาน” ทั้งหมด บางกลุ่มก็เชื่อว่าตัวอย่างที่ถูกนำเสนอในกุรอานก็ถูกนับว่าเป็น กิซเซาะตุลกุรอานด้วยเช่นกัน 

จากความขัดแย้งตรงนี้ทำให้มีการคำนวนโองการที่ถือเป็นเรื่องเล่าของกุรอานไปในจำนวนที่ขัดแย้งแตกต่างกันออกไปด้วย บางท่านเชื่อว่าหนึ่งในสี่ของโองการทั้งหมดเป็นเรื่องเล่า บางท่านเชื่อว่า มีเพียง116 เรื่องเล่าด้วยกัน

เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “กิซเซาะ” ตามคำนิยามของกุรอานเราจะขอนำเสนอความหมายตามรากศัพย์ของคำว่ากิซเซาะตามคำนิยามของกุรอานและนำเสนอตัวอย่างการนำคำนี้มาใช้ในกุรอานในวาระต่าง ๆ ด้วย

 1.การเล่าเรื่องราวในอดีตหรือเรื่องราวของชนรุ่นก่อน

فَلَمَّا جَاءَهُ وَقَصَّ عَلَيْهِ الْقَصَصَ قَالَ لَا تَخَفْ نَجَوْتَ مِنَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ

“เมื่อมูซามาหาชุเอบและเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาให้เขาฟัง ชุเอบจึงกล่าวกับมูซาว่า อย่ากลัวเลยบัดนี้ท่านได้หนีรอดพ้นจากกลุ่มชนผู้กดขี่แล้ว” 

2.การติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ

บางครั้งกุรอานใช้คำว่า กิซเซาะ ไปในความหมายที่สื่อให้เห็นถึงการติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ โดยกล่าวว่า  

وَقَالَتْ لِأُخْتِهِ قُصِّيهِ  فَبَصُرَتْ بِهِ عَنْ جُنُبٍ وَهُمْ لَا يَشْعُرُونَ

“มารดาของนบีมูซากล่าวกับลูกสาว (พี่สาวนบีมูซา) ว่า จงติดตามมูซาไปเถิด ต่อมาพี่สาวของนบีมูซาก็เห็นท่านนบีมูซาจากระยะไกลในขณะที่พวกศัตรูไม่ได้สนใจมอง”

3.ข่าวคราว , เรื่องราว , เรื่องเล่า

หนึ่งในความหมายของคำว่า กิซเซาะฮ์ คือข่าวที่ถูกเล่าหรือเรื่องเล่า ความหมายนี้ในพจนานุกรมใช้คำว่า กิซเซาะฮ์ ส่วนในกุรอานใช้คำว่า เกาะศอศ โดยคำว่า เกาะศอศ ถูกนำเสนอในกุรอาน 6 ที่ด้วยกัน ซึ่งบางครั้งให้ความหมายเป็นคำนาม ที่หมายถึง ข่าวที่ถูกเล่าหรือข่าวที่ได้รับการติดตาม ดังในโองการนี้ที่กล่าวว่า 

لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِأُولِي الْأَلْبَابِ

แท้จริงเรื่องเล่าของพวกเขา (นบียูซุฟ) มีคำสอนสำหรับผู้มีปัญญา

บางทีก็ให้ความหมายในเชิงอาการนาม หมายถึงการติดตามข่าวและติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ เช่น 

فارْتَدّا عَلَى آثَارِهِما قَصَصًا

หลังจากนั้นมูซาและเด็กหนุ่มที่ติดตามเขา

ความสัมพันธ์ของเรื่องเล่าในกุรอานกับความหมายทางภาษา

คำว่า กิซเซาะฮ์ ที่ถูกใช้ในกุรอานมีความหมายสอดคล้องกับความหมายในทางภาษาอย่างสมบูรณ์  ในกุรอานใช้คำว่า “กอศอศ”  ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “กอซซ่อ” ไปในความหมายที่ว่า ผู้เล่าเรื่องกำลังติดตามเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วซึ่งบางครั้งหมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดมานานแล้วเช่นที่กุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ ฏอฮาโองการที่ 99 ว่า

كَذلِكَ نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ ما قَدْ سَبَقَ

“เช่นนี้แหละ เราได้บอกเล่าข่าวคราวที่ได้เกิดขึ้นแต่กาลก่อนแก่เจ้า”

หรือบางครั้งให้ความหมายตามรากศัพท์เดิม (มัศดัร) ที่หมายถึง การติดตามข่าวคราวหรือติดตามร่องรายของคนหรือสิ่งของ เช่นในกุรอานกล่าวว่า 

قَالَ يَا بُنَيَّ لَا تَقْصُصْ رُؤْيَاكَ عَلَىٰ إِخْوَتِكَ

“เขา(ยะอฺกูบ) กล่าวว่า “โอ้ลูกรักเอ๋ย ! เจ้าอย่าเล่าความฝันของเจ้าแก่พี่น้องของเจ้า”

คำว่า กอศอศ ในกุรอานบางทีมาหลังจากการเล่าเรื่องผ่านไปแล้ว 1 เรื่อง หรือบางทีก็มาหลังจากเล่าเรื่องไปแล้วหลายเรื่องดังเช่นในซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน ที่มาหลังจากเล่าเรื่องเพียงเรื่องเดียวของท่านศาสดาอีซา (อ) 

إِنَّ هَٰذَا لَهُوَ الْقَصَصُ الْحَقُّ

“แท้จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง”

ในซูเราะฮ์อะอ์รอฟ อัลลอฮ์ทรงใช้คำนี้หลังจากเล่าเรื่องหลายเรื่องราวมาแล้ว คือเรื่องราวของนบีอาดัม นูฮ์ ฮูดและมูซา (อ) พระองค์ทรงตรัสว่า 

فَاقْصُصِ الْقَصَصَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ  

“เจ้าจงเล่าเรื่องราวเหล่านั้นเถิด เพื่อว่าพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ”

ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดคำว่า “กอศอศ” ที่ถูกใช้ในกุรอานถูกนำเสนอไปในความหมายเกี่ยวกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วหรือเล่าเรื่องที่มีความต่อเนื่อง มีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างจินตนาการให้เกิดขึ้นในสติปัญญาของผู้ฟังซึ่งในนิยามของกุรอานเรียกว่า กิซเซาะฮ์กุรอาน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะมีความยาวหรือสั้นหรือเกิดขึ้นนานแล้วหรือเพิ่งเกิดก็ตาม

คำอื่นที่ถุกใช้ในความหมายกิซเซาะฮ์

ความหมายคำว่า กิซเซาะฮ์ ในกุรอานไม่ได้ถูกจำกัดไว้ในเฉพาะคำว่า กอศอศ เท่านั้นยังมีคำอื่นที่ให้ความหมายเดียวกันนี้เช่นกัน บางทีเช่นคำว่า นะบะอ์ ฮะดิษ คำเหล่านี้ก็มีความหมายเดียวกับคำว่า กอศอศ ด้วยซึ่งก็สามารถนำโองการที่ใช้คำเหล่านี้มาใช้ในเป้าหมายและแก่นแท้เดียวกับกิซเซาะฮ์ได้เช่นกัน เช่นโองการเหล่านี้ 

نَتْلُو عَلَيْكَ مِن نَّبَإِ مُوسَىٰ وَفِرْعَوْنَ بِالْحَقِّ

“เราจะอ่านแก่เจ้า บางส่วนแห่งเรื่องราวของมูซาและฟิรเอานด้วยความจริง”

وَهَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ مُوسَىٰ

“และเรื่องราวของมูซาได้มีมาถึงเจ้าบ้างไหม”

أَوْ كَالَّذِي مَرَّ عَلَىٰ قَرْيَةٍ وَهِيَ خَاوِيَةٌ عَلَىٰ عُرُوشِهَا

“หรือเช่นผู้ที่ได้ผ่านเมืองหนึ่ง (บัยตุลมักดิส) โดยที่มันพังทับลงบนหลังคาของมัน”

แม้กระทั่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของท่านศาสดาที่ถูกกล่าวไว้ในกุรกานเช่นเรื่องราวเกียวกับสงครามบะดัร สงครามอุฮุด บัยอัตริดวาน ซุลฮุดัยบียะฮ์ ถือเป็นเรื่องเล่ากุรอานด้วยเช่นกัน

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu