แนะนำกุรรออ์ ซับอะฮ์ (2) – อิบนิ กะซีร

In อัลกุรอาน

อิบนิ กะซีร

ท่านมีชื่อว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ กะซีร ดารี มักกีย์ เป็นนักกอรีจากเมืองมักกะฮ์ คำว่าดารีเป็นฉายาของท่านหมายถึงพ่อค้าน้ำหอม ซึ่งมาจากการที่ช่วงเวลาหนึ่งท่านมีอาชีพเป็นพ่อค้าน้ำหอมอยู่ในตลาดเมืองมักกะฮ์ ท่านเป็นชาวมักกะฮ์โดยกำเนิดและเสียชีวิตที่เมืองนี้ด้วย 

ท่านอิบนิกะซีร เรียนกุรอานในรูปแบบ อัรฎ์ (อ่านให้อาจารย์ฟังโดยอาจารย์จะคอยตรวจสอบความถูกต้อง) จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน ซาอิบ (เป็นซอฮาบะฮ์สมัยนบี) จากท่านมุญาฮิด และจากท่าน ดาร์บาส คนรับใช้ของท่านอิบนิอับบาส ในบางโองการในอัลกุรอานท่านอิบนิกะซีร จะอ่านตามรูปแบบกุรอานที่บันทึกโดยชาวมักกะฮ์ซึ่งจะมีการอ่านแตกต่างบ้างเล็กน้อยกับการอ่านของมุสลิมในเมืองอื่น ๆ

รูปแบบการอ่านของท่านอิบนิกะซีรจะมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางตอนดังต่อไปนี้ 

ในกรณีที่เป็นกฏ อิดฆอม มุตะกอริบัยน์ ในตัวอักษร د   (ดาล) หรือตัวอักษร ذ  (ซาล) ท่านอิบนิกะซีรจะอ่านออกเสียง ตัว د   (ดาล) ในประโยคเช่น ما عبدتم   แทนการออกเสียงตัว ت  (ตาอ์)  หรือในประโยคเช่น اذ ظلموا  จะออกเสียงตัว ذ  (ซาล) แทนตัว ظ  (ซอ) 

ในกรณีอ่าน คำสรรพนาม  هم   ที่มีตัวอักษร ญัร (คำบุพบท) นำหน้า เช่น بهم   หรือ اليهم โดยใส่สระ ฎอมมะฮ์ ที่ตัว م (มีม) ในกรณีที่มีประโยคอื่นตามหลังเช่นประโยคที่ว่า

إِذَا رَجَعْتُمْ إِلَيْهِمْ قُل لاَّ تَعْتَذِرُوا

จะอ่านเป็น

إِذَا رَجَعْتُمْ إِلَيْهِمُ قُل لاَّ تَعْتَذِرُوا

หรือประโยคที่ว่า

وَإِذَا مَرُّوا بِهِمْ يَتَغَامَزُونَ

จะอ่านเป็น

وَإِذَا مَرُّوا بِهِمُ يَتَغَامَزُونَ

มีนักรายงานฮะดิษรายงานการอ่านของท่านอิบนิกะซีร 2 ท่านด้วยกันคือ มุฮัมมัด บิน ท่านอะบูอับดุลเราะห์มาน หรือที่รู้จักกันในนาม กอมบัล และ อะห์มัด บิน มุฮัมมัด บัซซีย์ 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu