วะฮ์ยู ตอนที่ 2 

In อัลกุรอาน

ในตอนที่แล้วเราได้กล่าวถึงเรื่องของความหมายของ วะฮ์ยู พร้อมกับกล่าวถึงรูปแบบการประทานวะฮ์ยูให้กับท่านผู้อ่านไปแล้วในฉบับนี้เราจะขอกล่าวถึง ข้อสงสัยที่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องวะฮ์ยู ข้อสงสัยดังกล่าวนั้นส่วนมากจะเป็นคำถามของนักบูรพาคดีที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

นักบูรพาคดีเชื่อว่าท่านศาสดา (ซ) ได้รับความรู้มาจากแหล่งความรู้ 2 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกคือได้รับมาจากการสะสมประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอาหรับแหล่งที่สองได้รับมาจากการเรียนรู้จากคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียนซึ่งในทางวิชาการเรียกแหล่งความรู้สองแหล่งดังกล่าวนั้นว่า แหล่งความรู้จากภายใน และแหล่งความรู้จากภายนอก ซึ่งเราจะขออธิบายทีละประเด็นดังต่อไปนี้

แหล่งความรู้จากภายใน

แหล่งความรู้จากภายใน คือแหล่งความรู้ที่ท่านศาสดาได้รับมาจากการใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวอาหรับ ซึ่งท่านศาสดาได้รับประสบการณ์และความรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งนักวิชาการตะวันตกหลายท่านมีความเชื่อดังต่อไปนี้ 

  1. พวกเขาเชื่อว่าท่านศาสดาสะสมประสบการณ์และความรู้จากพฤติกรรมของชาวอาหรับดั้งเดิม 

ฮามิลตัน  กิบบ์ นักบูรพาคดีชาวอังกฤษกล่าวว่า – มุฮัมมัด ก็เหมือนกับนักประดิษฐ์และนักค้นคว้าทั่วไปที่ได้รับประสบการณ์และความเชื่อมาจากสังคมที่ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งในที่นี้เมืองมักกะฮ์เป็นแหล่งความรู้สำคัญที่สุด และสามารถกล่าวได้ว่า ความรู้ส่วนมากมุฮัมมัดได้รับมาจากการใช้ชีวิตอยู่ในมักกะฮ์

  1. นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ท่านศาสดาได้รับแนวความคิดมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์ บิน อะบี ซอลลัต 

คิลมาน  ฮาวารนักวิชาการชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า – แหล่งที่มาของคำสอนในกุรอานได้รับมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์บินอะบีซอลลัต เพราะว่าระหว่างบทกวีของอุมัยยะฮ์ ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องหลักเอกภาพของพระเจ้าและเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้ามีความคล้ายคลึงกับกุรอานเป็นอย่างมาก และบรรดามุสลิมได้ทำลายบทประพันธ์ของอุมัยยะฮ์ไปแล้ว โดยอ้างว่าการอ่านบทกลอนดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้าม

พาเวอร์นักวิชาการอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า – ความคล้ายคลึงกันระหว่างบทประพันธ์ของอุมัยยะฮ์ กับกุรอานเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัดได้รับอิทธิพลมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์เพระว่าอุมัยยะฮ์มาก่อนท่านศาสดามุฮัมมัด

  1. นักวิชาการตะวันตกบางท่านเชื่อว่าคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัดได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษของท่านเอง

เรนาน   นักบูรพาคดีผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งกล่าวว่า – ก่อนการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด ชาวอาหรับดั้งเดิมบางเผ่ามีความเชื่อถึงความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าอยู่แล้ว ดังนั้นคำสอนของท่านศาสดาก็เหมือนเป็นวิวัฒนาการและการสืบสานมรดกทางความเชื่อของชาวอาหรับดั้งเดิมนั่นเอง

แหล่งความรู้จากภายนอก

แหล่งความรู้จากภายนอกหมายถึงแหล่งความรู้ที่ท่านศาสดาได้เรียนรู้จากคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียน ซึ่งนักวิชาการชาวตะวันตกเชื่อว่าแหล่งความรู้ดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

  1. แหล่งความรู้ที่ถูกบันทึก – เช่นบรรดาคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียน
  2. แหล่งความรู้ที่ไม่ถูกบันทึก – เช่นคำกล่าวของและคำสอนของบาทหลวงชาวยิวดั้งเดิม

แหล่งความรู้ที่ถูกบันทึก  

ซีเดอร์สกี้ นักวิชาการชาวตะวันตกผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งเขียนไว้ในหนังสือของตัวเองว่า – หลักความเชื่อของอิสลามทั้งในกุรอานและแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัดรวมถึงเรื่องเล่าในกุรอานได้รับอิทธพลมาจากคัมภีร์ของขาวยิวและคริสเตียน

โกรซัยเฮอร์ หนึ่งในนักบูรพาคดีคนสำคัญอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า – คำสอนของอัลกุรอานที่กล่าวถึงสภาพชีวิตในโลกหน้า คำสอนเหล่านั้นได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนของชาวยิวโดยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้รับความรู้ต่าง ๆ มาจากการได้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวยิวและคริสเตียน  ซึ่งคำสอนเหล่านั้นท่านศาสดาได้เรียนรู้มาอย่างลึกซึ้ง และหลังจากนั้นต่อมาท่านได้นำเสนอคำสอนต่าง ๆ เหล่านั้นให้กับประชาชน โดยอ้างว่า เป็นคำสอนจากพระผู้เป็นเจ้า

สปิงเกอร์ นักวิชาการอีกท่านหนึ่งเชื่อว่า คัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวยิวได้ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและในช่วงสมัยที่ท่านศาสดาใช้ชีวิตอยู่กับชาวอาหรับท่านได้รับคัมภีร์เหล่านั้นมาศึกษา

แหล่งความรู้ที่ไม่ถูกบันทึก 

นักบูรพาคดีบางท่านเชื่อว่า คัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวยิวและคริสเตียน ไม่เคยถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและยังเชื่ออีกว่า ท่านศาสดาไม่เคยได้ศึกษาจากที่ไหนมาก่อน แต่พวกเขาเชื่อว่า คำสอนของอิสลามทั้งหมดได้รับอิทธิพลจากการที่ท่านศาสดา ได้เคยรับฟังคำสอนของศาสนายิวและคริสเตียนดั้งเดิม

เอ็ม วัตต์ กล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นคนไม่รู้หนังสือและไม่เคยร่ำเรียนมาจากสำนักใด ๆ แต่เป็นไปได้ว่า ท่านศาสดาได้รับคำสอนเหล่านั้นมาจากการได้สนทนาและคลุกคลีกับชาวยิวและคริสเตียนเพราะหากดูจากชีวประวัติของท่านศาสดาแล้ว ในช่วงชีวิตของท่านศาสดาหลาย ๆ ครั้งมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวยิวและคริสเตียน

และจากความเชื่อของนักวิชาการกลุ่มนี้ เชื่อว่าท่านศาสดาได้รับอิทธิพลมาจากบุคคลดังต่อไปนี้   1- วะรอเกาะฮ์ บิน เนาว์ฟัล ลุงของท่านหญิงคอดิยะฮ์  ท่านวะรอเกาะฮ์เองได้เคยกล่าวว่า ก่อนการถูกแต่งตั้งของท่านศาสดามุฮัมมัด เขาได้เคยใช้ชีวิตกับฉันถึง 15 ปี

  1. บาทหลวง บุฮัยรอ  นักบูรพาคดีบางท่านเชื่อว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดได้เคยเข้าพบปะพูดคุยกับบาทหลวงคนดังกล่าวหลายครั้งอีกทั้งยังเคยเดินทางร่วมกันหลายครั้งอีกด้วย

ท่านผู้อ่านทั้งหลาย เหล่านี้เป็นความเชื่อของนักค้นคว้าอิสลามตะวันตกซึ่งเราจะขอตอบพวกเขาเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. ปัญหาสำคัญของนักค้นคว้าอิสลามตะวันตกก็คือพวกเขาปฏิเสธความเหนือธรรมชาติของคำสอนในกุรอาน ด้วยเหตุนี้เองพวกเขาจึงไม่สามารถให้คำตอบกับตัวเองในเรื่องนี้ได้และพวกเขาจะยังคงเดินหลงทางอีกต่อไป 

ใครก็ตามที่ศึกษาและค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาวอาหรับอย่างลึกซึ้งทั้งก่อนและหลังการมาของอิสลามจะเห็นว่าอิสลามได้เปลี่ยนแปลงสังคมอาหรับได้มากมายเพียงใดและถ้าหากพิจารณาจากปฏิกริยาของบรรดาผู้ปฏิเสธอิสลามในสมัยนั้นจะพบว่าคำสอนของท่านศาสดาไม่ได้เกิดจากพัฒนาการหรือเป็นการเติมเต็มและสืบสานทางความเชื่อของบุคคลเหล่านั้นเลย แต่ทว่า คำสอนของอิสลามแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความเชื่อของชาวอาหรับในสมัยนั้น รวมทั้งหลักปฏิบัติทั้งหลายก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย 

  1. อุมัยยะฮ์ บินอาบี ซอลลัต เป็นนักประพันธ์ที่ใช้ชีวิตทั้งในช่วงก่อนและหลังการมาของอิสลาม ตัวอุมัยยะฮ์เองได้การแจ้งข่าวจากบรรพบุรุษว่าจะมีศาสดาถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ แม้กระทั้งตัวเขาเองมีความคิดและหวังอยู่ลึก ๆ ว่าศาสดาคนดังกล่าวคือตัวเขาเอง และเมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด ถูกแต่งตั้งเขาปฏิเสธท่านศาสดาเพราะความอิจฉา (แต่ภายหลังเขาได้เข้ารับอิสลามแต่เป็นเพียงอิสลามแค่เปลือกนอกเท่านั้น) เมื่อครั้งที่ท่านศาสดาได้ยินบทกวีของเขาได้กล่าวว่า – เขาศรัทธาแค่เพียงปลายลิ้นเท่านั้นหัวใจของเขาไม่ได้ศรัทธาเลยแม้แต่น้อย

ประเด็นเกี่ยวกับความคล้ายคลึงของกุรอานกับบทกวีของอุมัยยะฮ์ไม่ได้แสดงว่า ท่านศาสดาไปรับอิทธิพลมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์เพราะสมมุติฐานดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่า ตัวอุมัยยะฮ์เองต่างหากได้รับอิทธิพลจากคำสอนของกุรอาน หรือเป็นไปได้อีกว่า ไม่มีใครได้รับอิทธิพลจากใครเลย  และมีรายงานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า อุมัยยะฮ์ มีชีวิตอยู่จนถึงปีฮิจเราะฮ์ที่ 9 และบทกวีส่วนมากที่เขาประพันธ์ขึ้นส่วนมากเขาประพันธ์ขึ้นหลังจากการมาของอิสลาม

  1. ถึงแม้ว่าตามรายงานทางประวัติศาสตร์จะแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของท่านศาสดาบางท่านไม่ได้เป็นพวกบูชาเจว็ด แต่ก็ไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับเอกานุภาพของพระเจ้าและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้าของพวกเขาอย่างชัดเจน ดังนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนของกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษของท่านศาสดา และอีกด้านหนึ่ง หากบรรพบุรุษของท่านศาสดาเห็นว่าความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขาสอดคล้องและเหมือนกับกุรอานคงไม่มีใครออกมาคัดค้านคำสอนของท่านศาสดาอย่างแน่นอน แต่รายงานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของท่านศาสดาลุกขึ้นต่อสู้กับท่านศาสดาอยู่ตลอดเวลา
  2. เกี่ยวกับประเด็นความคล้ายคลึงของกุรอานกับบรรดาคัมภีร์ของยิวและคริสเตียนไม่ได้แสดงว่า คำสอนของกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์เหล่านั้น แต่ในทางกลับกันกลับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากุรอานและคัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านั้นมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน คือเป็นคำสอนที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง แต่

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu