วะฮ์ยู ตอนที่ 2 

ในตอนที่แล้วเราได้กล่าวถึงเรื่องของความหมายของ วะฮ์ยู พร้อมกับกล่าวถึงรูปแบบการประทานวะฮ์ยูให้กับท่านผู้อ่านไปแล้วในฉบับนี้เราจะขอกล่าวถึง ข้อสงสัยที่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องวะฮ์ยู ข้อสงสัยดังกล่าวนั้นส่วนมากจะเป็นคำถามของนักบูรพาคดีที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

นักบูรพาคดีเชื่อว่าท่านศาสดา (ซ) ได้รับความรู้มาจากแหล่งความรู้ 2 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกคือได้รับมาจากการสะสมประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอาหรับแหล่งที่สองได้รับมาจากการเรียนรู้จากคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียนซึ่งในทางวิชาการเรียกแหล่งความรู้สองแหล่งดังกล่าวนั้นว่า แหล่งความรู้จากภายใน และแหล่งความรู้จากภายนอก ซึ่งเราจะขออธิบายทีละประเด็นดังต่อไปนี้

แหล่งความรู้จากภายใน

แหล่งความรู้จากภายใน คือแหล่งความรู้ที่ท่านศาสดาได้รับมาจากการใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวอาหรับ ซึ่งท่านศาสดาได้รับประสบการณ์และความรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งนักวิชาการตะวันตกหลายท่านมีความเชื่อดังต่อไปนี้ 

  1. พวกเขาเชื่อว่าท่านศาสดาสะสมประสบการณ์และความรู้จากพฤติกรรมของชาวอาหรับดั้งเดิม 

ฮามิลตัน  กิบบ์ นักบูรพาคดีชาวอังกฤษกล่าวว่า – มุฮัมมัด ก็เหมือนกับนักประดิษฐ์และนักค้นคว้าทั่วไปที่ได้รับประสบการณ์และความเชื่อมาจากสังคมที่ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งในที่นี้เมืองมักกะฮ์เป็นแหล่งความรู้สำคัญที่สุด และสามารถกล่าวได้ว่า ความรู้ส่วนมากมุฮัมมัดได้รับมาจากการใช้ชีวิตอยู่ในมักกะฮ์

  1. นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ท่านศาสดาได้รับแนวความคิดมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์ บิน อะบี ซอลลัต 

คิลมาน  ฮาวารนักวิชาการชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า – แหล่งที่มาของคำสอนในกุรอานได้รับมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์บินอะบีซอลลัต เพราะว่าระหว่างบทกวีของอุมัยยะฮ์ ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องหลักเอกภาพของพระเจ้าและเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้ามีความคล้ายคลึงกับกุรอานเป็นอย่างมาก และบรรดามุสลิมได้ทำลายบทประพันธ์ของอุมัยยะฮ์ไปแล้ว โดยอ้างว่าการอ่านบทกลอนดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้าม

พาเวอร์นักวิชาการอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า – ความคล้ายคลึงกันระหว่างบทประพันธ์ของอุมัยยะฮ์ กับกุรอานเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัดได้รับอิทธิพลมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์เพระว่าอุมัยยะฮ์มาก่อนท่านศาสดามุฮัมมัด

  1. นักวิชาการตะวันตกบางท่านเชื่อว่าคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัดได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษของท่านเอง

เรนาน   นักบูรพาคดีผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งกล่าวว่า – ก่อนการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด ชาวอาหรับดั้งเดิมบางเผ่ามีความเชื่อถึงความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าอยู่แล้ว ดังนั้นคำสอนของท่านศาสดาก็เหมือนเป็นวิวัฒนาการและการสืบสานมรดกทางความเชื่อของชาวอาหรับดั้งเดิมนั่นเอง

แหล่งความรู้จากภายนอก

แหล่งความรู้จากภายนอกหมายถึงแหล่งความรู้ที่ท่านศาสดาได้เรียนรู้จากคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียน ซึ่งนักวิชาการชาวตะวันตกเชื่อว่าแหล่งความรู้ดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

  1. แหล่งความรู้ที่ถูกบันทึก – เช่นบรรดาคัมภีร์ของชาวยิวและคริสเตียน
  2. แหล่งความรู้ที่ไม่ถูกบันทึก – เช่นคำกล่าวของและคำสอนของบาทหลวงชาวยิวดั้งเดิม

แหล่งความรู้ที่ถูกบันทึก  

ซีเดอร์สกี้ นักวิชาการชาวตะวันตกผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งเขียนไว้ในหนังสือของตัวเองว่า – หลักความเชื่อของอิสลามทั้งในกุรอานและแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัดรวมถึงเรื่องเล่าในกุรอานได้รับอิทธพลมาจากคัมภีร์ของขาวยิวและคริสเตียน

โกรซัยเฮอร์ หนึ่งในนักบูรพาคดีคนสำคัญอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า – คำสอนของอัลกุรอานที่กล่าวถึงสภาพชีวิตในโลกหน้า คำสอนเหล่านั้นได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนของชาวยิวโดยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้รับความรู้ต่าง ๆ มาจากการได้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวยิวและคริสเตียน  ซึ่งคำสอนเหล่านั้นท่านศาสดาได้เรียนรู้มาอย่างลึกซึ้ง และหลังจากนั้นต่อมาท่านได้นำเสนอคำสอนต่าง ๆ เหล่านั้นให้กับประชาชน โดยอ้างว่า เป็นคำสอนจากพระผู้เป็นเจ้า

สปิงเกอร์ นักวิชาการอีกท่านหนึ่งเชื่อว่า คัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวยิวได้ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและในช่วงสมัยที่ท่านศาสดาใช้ชีวิตอยู่กับชาวอาหรับท่านได้รับคัมภีร์เหล่านั้นมาศึกษา

แหล่งความรู้ที่ไม่ถูกบันทึก 

นักบูรพาคดีบางท่านเชื่อว่า คัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวยิวและคริสเตียน ไม่เคยถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและยังเชื่ออีกว่า ท่านศาสดาไม่เคยได้ศึกษาจากที่ไหนมาก่อน แต่พวกเขาเชื่อว่า คำสอนของอิสลามทั้งหมดได้รับอิทธิพลจากการที่ท่านศาสดา ได้เคยรับฟังคำสอนของศาสนายิวและคริสเตียนดั้งเดิม

เอ็ม วัตต์ กล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นคนไม่รู้หนังสือและไม่เคยร่ำเรียนมาจากสำนักใด ๆ แต่เป็นไปได้ว่า ท่านศาสดาได้รับคำสอนเหล่านั้นมาจากการได้สนทนาและคลุกคลีกับชาวยิวและคริสเตียนเพราะหากดูจากชีวประวัติของท่านศาสดาแล้ว ในช่วงชีวิตของท่านศาสดาหลาย ๆ ครั้งมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวยิวและคริสเตียน

และจากความเชื่อของนักวิชาการกลุ่มนี้ เชื่อว่าท่านศาสดาได้รับอิทธิพลมาจากบุคคลดังต่อไปนี้   1- วะรอเกาะฮ์ บิน เนาว์ฟัล ลุงของท่านหญิงคอดิยะฮ์  ท่านวะรอเกาะฮ์เองได้เคยกล่าวว่า ก่อนการถูกแต่งตั้งของท่านศาสดามุฮัมมัด เขาได้เคยใช้ชีวิตกับฉันถึง 15 ปี

  1. บาทหลวง บุฮัยรอ  นักบูรพาคดีบางท่านเชื่อว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดได้เคยเข้าพบปะพูดคุยกับบาทหลวงคนดังกล่าวหลายครั้งอีกทั้งยังเคยเดินทางร่วมกันหลายครั้งอีกด้วย

ท่านผู้อ่านทั้งหลาย เหล่านี้เป็นความเชื่อของนักค้นคว้าอิสลามตะวันตกซึ่งเราจะขอตอบพวกเขาเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. ปัญหาสำคัญของนักค้นคว้าอิสลามตะวันตกก็คือพวกเขาปฏิเสธความเหนือธรรมชาติของคำสอนในกุรอาน ด้วยเหตุนี้เองพวกเขาจึงไม่สามารถให้คำตอบกับตัวเองในเรื่องนี้ได้และพวกเขาจะยังคงเดินหลงทางอีกต่อไป 

ใครก็ตามที่ศึกษาและค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาวอาหรับอย่างลึกซึ้งทั้งก่อนและหลังการมาของอิสลามจะเห็นว่าอิสลามได้เปลี่ยนแปลงสังคมอาหรับได้มากมายเพียงใดและถ้าหากพิจารณาจากปฏิกริยาของบรรดาผู้ปฏิเสธอิสลามในสมัยนั้นจะพบว่าคำสอนของท่านศาสดาไม่ได้เกิดจากพัฒนาการหรือเป็นการเติมเต็มและสืบสานทางความเชื่อของบุคคลเหล่านั้นเลย แต่ทว่า คำสอนของอิสลามแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความเชื่อของชาวอาหรับในสมัยนั้น รวมทั้งหลักปฏิบัติทั้งหลายก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย 

  1. อุมัยยะฮ์ บินอาบี ซอลลัต เป็นนักประพันธ์ที่ใช้ชีวิตทั้งในช่วงก่อนและหลังการมาของอิสลาม ตัวอุมัยยะฮ์เองได้การแจ้งข่าวจากบรรพบุรุษว่าจะมีศาสดาถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ แม้กระทั้งตัวเขาเองมีความคิดและหวังอยู่ลึก ๆ ว่าศาสดาคนดังกล่าวคือตัวเขาเอง และเมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด ถูกแต่งตั้งเขาปฏิเสธท่านศาสดาเพราะความอิจฉา (แต่ภายหลังเขาได้เข้ารับอิสลามแต่เป็นเพียงอิสลามแค่เปลือกนอกเท่านั้น) เมื่อครั้งที่ท่านศาสดาได้ยินบทกวีของเขาได้กล่าวว่า – เขาศรัทธาแค่เพียงปลายลิ้นเท่านั้นหัวใจของเขาไม่ได้ศรัทธาเลยแม้แต่น้อย

ประเด็นเกี่ยวกับความคล้ายคลึงของกุรอานกับบทกวีของอุมัยยะฮ์ไม่ได้แสดงว่า ท่านศาสดาไปรับอิทธิพลมาจากบทกวีของอุมัยยะฮ์เพราะสมมุติฐานดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่า ตัวอุมัยยะฮ์เองต่างหากได้รับอิทธิพลจากคำสอนของกุรอาน หรือเป็นไปได้อีกว่า ไม่มีใครได้รับอิทธิพลจากใครเลย  และมีรายงานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า อุมัยยะฮ์ มีชีวิตอยู่จนถึงปีฮิจเราะฮ์ที่ 9 และบทกวีส่วนมากที่เขาประพันธ์ขึ้นส่วนมากเขาประพันธ์ขึ้นหลังจากการมาของอิสลาม

  1. ถึงแม้ว่าตามรายงานทางประวัติศาสตร์จะแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของท่านศาสดาบางท่านไม่ได้เป็นพวกบูชาเจว็ด แต่ก็ไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับเอกานุภาพของพระเจ้าและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้าของพวกเขาอย่างชัดเจน ดังนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนของกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษของท่านศาสดา และอีกด้านหนึ่ง หากบรรพบุรุษของท่านศาสดาเห็นว่าความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขาสอดคล้องและเหมือนกับกุรอานคงไม่มีใครออกมาคัดค้านคำสอนของท่านศาสดาอย่างแน่นอน แต่รายงานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของท่านศาสดาลุกขึ้นต่อสู้กับท่านศาสดาอยู่ตลอดเวลา
  2. เกี่ยวกับประเด็นความคล้ายคลึงของกุรอานกับบรรดาคัมภีร์ของยิวและคริสเตียนไม่ได้แสดงว่า คำสอนของกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์เหล่านั้น แต่ในทางกลับกันกลับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากุรอานและคัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านั้นมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน คือเป็นคำสอนที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง แต่

 

Exit mobile version