โฉมหน้าผู้ศรัทธาในมุมมองของกุรอาน

In อัลกุรอาน

หลายสัปดาห์เข้าไปอ่านเว็บไซต์ ภาษาฟาร์ซีเว็บนึงเป็นเว็บดีมากมีบทความหลากหลายมากมายเลยทีเดียว ก็เลยหยิบมาแปล เป็นบทความสั้น ๆ ที่บอกถึงคุณลักษณะของผู้ศรัทธาที่แท้จริง

 

โฉมหน้าของผู้ศรัทธาในมุมมองของกุรอาน

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ในโองการแรกของซูเราะฮ์ อันฟาล โดยได้ย้ำเตือนกับบรรดาผู้ศรัทธาว่า : ถ้าหากเจ้าเป็นผู้ศรัทธาเจ้าจงภักดีต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์และในอีกสองโองการถัดไปพระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ศรัทธาซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้รับความกระจ่างได้ เกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ศรัทธา

พระองค์ทรงตรัสว่า : แท้จริงแล้วบรรดาผู้ศรัทธาก็คือผู้ที่เมื่อมีการรำลึกถึงอัลลอฮ์เกิดขึ้นหัวใจของพวกเขาจะมีความหวั่นเกรง

และเมื่อโองการของอัลลอฮ์ถูกอ่านความศรัทธาของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นและพวกเขาจะมอบหมาย(กิจการทั้งหมด)ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา

พระองค์ทรงตรัสอีกว่า : (พวกเขาคือ) บรรดาผู้ที่ดำรงนมาซและบริจาคสิ่งที่เราประทานในกับพวกเขา

และยังตรัสอีกว่า : พวกเขาเหล่านั้นคือผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง สำหรับพวกเขาจะมีฐานะอันสูงส่ง ณ ผู้อภิบาลของเขาและพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย

สามโองการข้างต้นอธิบายถึงคุณลักษณะพิเศษของผู้ศรัทธาที่แท้จริงรวมทั้งกล่าวถึงสิ่งที่พวกเขาจะได้รับจากพระผู้เป็นเจ้า คุณลักษณะเหล่านี้ถูกกล่าวถึงเพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงประโยคก่อนหน้าที่พระองค์ทรงตรัสว่า : จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์และจงประณีประนอมกันในหมู่พวกเจ้าทั้งเลายอันที่จริงแล้วยังมีคุณลักษณะของผู้ศรัทธาถูกกล่าวถึงในโองการอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในซูเราะฮ์นี้ถูกหยิบยกมาเพียง 5 คุณลักษณะเท่านั้น ซึ่งใน 5 คุณลักษณะนี้เป็นคุณลักษณะที่ถ้าหากใครมีคุณลักษณะเหล่านี้อยู่ในตัวแล้วหมายถึงบุคคลผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

คำสั่งที่อัลลอฮ์ให้บ่าวของพระองค์ ดำรงการนมาซแทนที่จะสั่งให้นมาซเฉย ๆ เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการจะชี้ให้เห็นว่าการนมาซนั้นไม่ได้เป็นเพียงการปฏิบัติพิธีกรรมธรรมดาแต่มันเป็นการสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา 

ส่วนประโยคที่ว่า จากสิ่งที่เราประทานให้กับพวกเจ้าเป็นประโยคที่ให้ความหมายที่กว้างมาก ซึ่งหมายรวมถึงสิ่งที่เป็นทั้งวัตถุและสิ่งที่เกี่ยวข้องจิตวิญญานด้วย หมายถึงบรรดาผู้ศรัทธาจะยอมมอบทุกสิ่งทุกอย่างในหนทางของพระเจ้าได้

จะเห็นว่าในโองการข้างต้นนี้กล่าวถึงคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธาโดยกล่าวไว้ 5 คุณลักษณะด้วยกัน ในสามคุณลักษณะกล่าวถึงเรื่องทางด้านจิตวิญญานและอีกสองคุณลักษณะกล่าวถึงด้านการปฏิบัติซึ่งจะสามารถแยกออกเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

1 : เกรงกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮ์

2 : เมื่อฟังโองการของอัลลอฮ์อีหม่านจะเพิ่มขึ้น

3 : มอบหมายความสำเร็จในการงานต่าง ๆ ต่ออัลลอฮ์ หมายถึงเชื่อว่าความสำเร็จทุกอย่างเกิดจากการช่วยเหลือและการอนุมัติของอัลลอฮ์

4 : ดำรงและยืนหยัดในการทำนมาซ

5 : บริจาคทาน

 

ก็อินชาอัลลอฮ์หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างสำหรับท่านผู้อ่าน 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu