คู่สนทนาของอัลกุรอาน (กุรอาน พูดกับใคร)

In อัลกุรอาน

คู่สนทนาของอัลกุรอาน

จำเป็นต้องกล่าวถึงเรื่อง “คู่สนทนาของอัลกุรอาน”ว่า แต่ละสำนักคิด ศาสนาไม่ว่าจะเป็นเทวะนิยมหรือเป็นแนวทางที่ถูกสร้างขึ้นมาต้องมีคู่สนทนาของตนเองทั้งสิ้น ซึ่งคู่สนทนาของแต่ละกลุ่มนั้นย่อมแตกต่างกัน

เช่น เป็นไปได้ที่สำนักคิดหนึ่งจะมีกลิ่นไอของชนชาติ เหมือนดังที่ส่วนมากพรรคต่าง ๆ ที่มีกลิ่นไอของชนชาติซึ่งมีอุดมการณ์เพื่อเสรีภาพและความผาสุกของชนชาติของตน ดังนั้นคู่สนทนาของพวกเขาก็คือเฉพาะชนชาติของพวกเขาโดยไม่เกี่ยวกับชนชาติอื่น เช่นพรรคแรงงานของอังกฤษ หรือพรรคอนุรักษ์นิยมเป็นต้น

และเช่นเดียวกัน เป็นไปได้ที่สำนักคิดหนึ่งจะมีกลิ่นไอของเผ่าพันธุ์ กล่าวคือพวกเขามีเป้าหมายเพื่อให้เผ่าของตนได้รับความปลอดภัย ดังนั้นคู่สนทนาของพวกเขาก็คือ เผ่าพันธุ์ของพวกเขา เหมือนดังที่กระบวนการชนผิวดำมีต่อชนผิวขาว ซึ่งคู่สนทนาของพวกเขาเฉพาะกลุ่มชนผิวดำเท่านั้น

หรือบางครั้งมีสำนักคิดหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อปากท้อง ซึ่งข้อเสนอของพวกเขาก็คือให้ผู้ที่หิวโหยรวมตัวกันเพื่อสร้างพลังที่สามารถทวงสิทธิของตนจากบรรดาผู้ละเมิดกลับคืนมา ดังนั้นคู่สนทนาของพวกเขาก็คือกลุ่มผู้ที่หิวโหย

เช่นมาร์กซิสม์ ที่แอบอ้างว่ามาเพื่อให้ชนชั้นแรงงานได้รับความผาสุก ซึ่งคู่สนทนาของพวกเขาก็คือพวกแรงงานไม่ใช่กลุ่มพวกนายทุน

ต่อไปนี้เราลองมาดูซิว่า คู่สนทนาของอิสลาม คือใคร ?  และยอมรับใครเป็นสมาชิกในการสนทนาบ้าง ?  หรือ เนื่องจากอิสลามมาปรากฏในหมู่ชนชาวอาหรับ  ดังนั้นคู่สนทนาของอิสลามคือชาวอาหรับ ?  หรือเนื่องจากมาปรากฏที่นครมักกะฮ์ ดังนั้นคู่สนทนาคือชนชาวนครมักกะฮ์ ? 

เมื่อเราย้อนกลับมาดูคู่สนทนาของอัลกุรอาน เราก็จะพบกับความจริงที่ว่า จะไม่พบการเรียกหรือสนทนาอย่างประโยคที่ว่า “โอ้ ชาวอาหรับ” หรือ “ โอ้ชาวกุเรช” หรือ “โอ้ชาวมักกะฮ์” หรือ “โอ้ชาวมะดีนะฮ์”  หรือโอ้ชาวเมืองชาม”  แต่อัลกุรอานใช้การสนทนาสองลักษณะ คือ เชิญชวนมนุษย์ชาติโดยจะใช้ประโยคที่ว่า “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย” และการสนทนาอีกลักษณะหนึ่งมีสำหรับกลุ่มผู้ที่ศรัทธาแล้ว ซึ่งต้องการที่จะมอบคำสั่งต่าง ๆ ให้แก่พวกเขา โดยจะใช้ประโยคว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา”

จากตรงนี้จึงเกิดคำถามหนึ่งขึ้นมาว่า เดิมทีการกำหนดให้มนุษยชาติทั้งหมดเป็นคู่สนทนาของอัลกุรอานนั้นถูกต้องหรือไม่ ? หรือว่า มันเกิดขึ้นจริงตามนั้นแล้ว ?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าอิสลามไม่ได้ตัดสินความเป็นมนุษย์ว่าเขาเป็นชนชาติใด เผาพันธุ์ใด หรือชนชั้นใด  แต่โลกทัศน์ของอิสลามมองที่ “ฟิตเราะฮ์” (ธรรมชาติดั้งเดิม)ของเขาต่างหาก อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสร้างมนุษย์มาโดยได้เป่าวิญญาณและจิตใต้สำนึกอันสูงส่งแก่พวกเขา ซึ่งไม่ว่าเขาจะเกิดมาจากบิดามารดาท่านใด เขาก็จะมีวิญญาณและจิตใต้สำนึกอันนี้เหมือนกันทั้งหมด จิตใต้สำนึกของชนชาติ เผาพันธุ์ หรือ ฯลฯ เป็นจิตใต้สำนึกที่เกิดขึ้นมาทีหลัง และอิสลามกำลังสนทนาและเชิญชวนวิญญาณและจิตใต้สำนึกดั้งเดิมนั้นนั่นเอง

กล่าวคือ โอ้มนุษยเอ๋ย ฉันขอเรียกร้องเชิญชวนเจ้าเนื่องจากความเป็นมนุษย์ของเจ้า ไม่ใช่เนื่องจากการด้อยโอกาสของพวกเจ้า หรือเนื่องจากความเป็นชนผิวดำของพวกเจ้า หรือ เนื่องจาก ฯลฯ นั่นก็หมายความว่าอิสลามเชิญชวนสู่ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ศักดิ์ศรีของชนชาติ เผ่าพันธุ์หรือผลประโยชน์ทางวัตถุ

หรือจะกล่าวอีกได้ว่า : อิสลามกล่าวกับมนุษย์ที่ต้องการความยุติธรรมไม่ใช่เนื่องจากว่าเขาจะได้รับผลประโยชน์จากความยุติธรรมนั้น แต่เนื่องจากความยุติธรรมเป็นคุณค่าหนึ่งของความเป็นมนุษย์ 

อัลกุรอานกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า เป้าหมายหลักอันหนึ่งของอิสลามคือการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น และแน่นอนเมื่อความยุติธรรมบังเกิดขึ้น พวกละเมิดและพวกกดขี่ย่อมได้รับความขาดทุนและบรรดาผู้ที่ถูกกดขี่ย่อมได้รับผลประโยชน์ แต่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างการที่เรากล่าวว่าเป้าหมายของอิสลามคือต้องการปลดปล่อยบรรดาผู้ด้อยโอกาส กับการที่เรากล่าวว่า คู่สนทนาของอัลกุรอานคือบรรดาผู้ด้อยโอกาส ไม่ใช่เช่นนั้น อิสลามต้องการปลดปล่อยบรรดาผู้ด้อยโอกาส แต่ทว่าคู่สนทนาของอัลกุรอานคือมนุษยชาติทั้งหมด กล่าวคือแม้กระทั่งฟิรอูนก็คือคู่สนทนาคนหนึ่งของอัลกุรอาน เพราะอัลกุรอานมองว่ามนุษย์ทุกคนแม้กระทั่งฟิรอูน ที่เป็นผู้กดขี่และไร้ซึ่งมนุษยธรรม แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีธรรมชาติดั้งเดิมที่พระองค์ทรงประทานให้แก่เขามา นั่นก็คือธรรมชาติดั้งเดิมในความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เมื่อเหล่าบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้ามาเพื่อต่อสู้กับฟิรอูน สิ่งแรกที่พวกเขากระทำคือ พยายามคืนความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ด้านในให้แก่เขา ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า  “เจ้าจงไปหาฟิรอูนเพราะเขาละเมิดฝ่าฝืน แล้วจงกล่าวว่า ท่านต้องการจะขัดเกลาไหม ? และจะให้ฉันนำท่านไปสู่พระผู้อภิบาลของท่านไหม ? เพื่อท่านจะได้เกรงกลัว”(ซูเราะฮ์นาซิอาต โองการที่ 17-19)

กล่าวคือ โอ้มูซา เจ้าจงไปหาเขา แล้วจงดูซิว่าสามารถที่จะปลดปล่อยความเป็นมนุษย์ที่กักขังอยู่ได้หรือไม่ ? หากเห็นแล้วไม่สามารถที่จะปลดปล่อยได้ก็ให้ใช้วิธีโจมตีจากภายนอก นั่นก็หมายความว่าให้เริ่มต้นด้วยการเชิญชวนจากภายในแล้วค่อยจู่โจมจากภายนอก

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu