เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนบันทึก

In อัลกุรอาน

          อุปกรณ์การเขียนหนังสือในสมัยการประทานอัลกุรอานนั้นเป็นอุปกรณ์ง่าย ๆ  มุสลิมใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่สามารถนำมาเขียนบนสิ่งนั้นได้ ในการรวบรวมฮะดีษและการบันทึกอัลกุรอานก็ได้กล่าวถึงอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอัลกุรอานมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้

          1.อุซุบ (พหุพจน์ของคำว่า อะซีบ) หมายถึง : ไม้อินผลัม ที่ตัดใบของมันออกแล้วเขียนบนส่วนที่มีความกว้าง

          2.ลิคอฟ ( พหุพจน์ของคำว่า ลัคฟะตุน) หมายถึง : หินเล็ก ๆ เป็นแผ่นบาง ๆ 

          3.ริกออ์ ( พหุพจน์ของคำว่า ร็อกอะตุน) หมายถึง : แผ่นกระดาษ ต้นไม้หรือเปลือกไม้บาง ๆ 

          4.อะดีม ( พหุพจน์ของคำว่า อะดะมุน หรือ อุดมุน) หมายถึง : ชิ้นส่วนของหนังสัตว์ที่ทำความสะอาดแล้ว

          5.อักตาฟ ( พหุพจน์ของคำว่า กะติฟุน) หมายถึง : กระดูกอูฐหรือกระดูกแกะ

          6.อัคตาบ (พหุพจน์ของคำว่า เกาะติบุน) หมายถึง : ไม้กระดานที่วางไว้สำหรับนั่งบนหลังอูฐ

          7.อัฎลาอ์ (พหุพจน์ของคำว่า ฎิลอุน)  หมายถึง : กระดูกซี่โครงที่มีความกว้างของสัตว์ต่าง ๆ 

          8.หะรีร หมายถึง : ผืนผ้าไหมที่บางครั้งอัลกุรอานถูกบันทึกไว้บนสิ่งนี้

          9.เกาะรอฏีส (พหุพจน์ของคำว่า กิรฏอซุน) หมายถึง :  กระดาษ

         10.ชิซอซ หมายถึง : ไม้ชนิดหนึ่ง (1)

         ดร. รอมยอร เขียนไว้ว่า : 

          ชาวอาหรับรู้จักกระดาษมาตั้งแต่อดีต ในยุคนั้นกระดาษถูกผลิตขึ้นในอินเดีย แล้วส่งไปยังเยเมน และกองคาราวานของพ่อค้าในช่วงหน้าร้อนและหน้าหนาวได้ขนส่งสินค้าจากเยเมนมายังเมืองชามแล้วส่งต่อยังกรุงโรม และซาอุฯ ในยุคนั้นได้รับมาจากการเปิดการค้าทางตอนใต้และตอนเหนือ (2)

(1) บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 40

(2) หนังสือ ตะอ์รีค กุรอาน ฟี อุลูมิลกุรอาน หน้า 277

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu