แบบฉบับความละอายจากบุตรีนบีชุอัยบ์

In ผู้หญิง

แบบฉบับความละอายจากบุตรสาวแห่งท่านศาสดาชุอัยบ์(อ) 

เมื่อท่านศาสดาชุอัยบฺ(อ)พบว่าท่านศาสดามูซา(อ)เป็นชายหนุ่มผู้มีเกียรติมีคุณธรรมและรักนวลสงวนตัวจึงว่าจ้างเขาเพื่องานในไร่นาอีกทั้งยังจัดการสมรสให้ท่านศาสดามูซา(อ)กับบุตรสาวของตน,ให้สถานที่พักพิงใกล้บริเวณงานแก่ท่านอีกด้วย

قَالَ إِنِّي أُرِيدُ أَنْ أُنكِحَكَ إِحْدَى ابْنَتَيَّ هَاتَيْنِ عَلَى أَن تَأْجُرَنِي ثَمَانِيَ حِجَجٍ 

فَإِنْ أَتْمَمْتَ عَشْرًا فَمِنْ عِندِكَ وَمَا أُرِيدُ أَنْ أَشُقَّ عَلَيْكَ سَتَجِدُنِي إِن شَاءَ اللَّهُ مِنَ الصَّالِحِينَ

เขา (ชุไอบ) กล่าวว่า “แท้จริง ฉันต้องการที่จะให้ท่านสมรสกับลูกสาวคนหนึ่งในสองคนนี้ โดยท่านจะต้องทำงานให้ฉัน 8 ปี และถ้าท่านทำได้ครบ 10 ปี ก็เป็นความดีที่มาจากท่าน ฉันไม่ต้องการที่จะทำความลำบากให้ท่าน อินชาอัลลอฮ์ ท่านจะพบฉันอยู่ในหมู่คนดี” ซูเราะห์ กอศ็อศ 27

ดังนั้นด้วยความยึดมั่นอยู่ในศีลธรรมและการรักนวลสงวนตัวท่านศาสดามูซา(อ)จึงได้รับปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  3 ประการ งาน,ครอบครัวและที่อยู่อาศัย 

ข้อสังเกต

(1.)บุตรสาวสามารถมีบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างภาคภูมิด้วยการยึดมั่นอยู่กับศีลธรรม จรรยา,ความมียางอายและการรักนวลสงวนตัว.

(2.)เหล่าสตรีมิได้เป็นผู้ขอความช่วยเหลือจากท่านศาสาดมูซา(อ)ในการชักลอกน้ำจากบ่อเพื่อให้น้ำแก่ฝูงสัตว์เลี้ยงแต่ท่านศาสาดามูซา(อ)ไต่ถามและนำเสนอการช่วยเหลือด้วยตนเอง.

(3.)การสนทนาพูดคุยระหว่างสองฝ่ายเป็นเรื่องราวของการงานและไม่ได้มีการเกี่ยวพาราสีหรือเรื่องราวส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง.

(4.)การสนทนาระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้นในที่สาธารณะและมิได้มีพฤติกรรมลับๆล่อๆใดๆ.

(5.)เจตนาของการช่วยมิได้มีประสงค์อื่นใดแอบแฝงเป็นเพียงการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ผู้อ่อนแอกว่าเพื่อแสวงหาความพอใจจากพระผู้เป็นเจ้า.

(6.)เหล่าบุตรสาวของท่านศาสดาชุอัยบฺ(อ)ออกนอกบ้านพร้อมกันหลายคนและเป็นการดีกว่าที่ด็กสาวควรจะหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านคนเดียว.

(7.)สตรีควรหลีกเลี่ยงที่จะปะปนกับเหล่าบุรุษแม้แต่ในที่ทำงานที่ดูเหมือนจะจำเป็นก็ตาม.

(8.)เหล่าสุภาพบุรุษควรจะให้เกียรติสตรีที่รักนวลสงวนตัว.

(9.)ศาสดามูซา(อ)สนทนากับบุตรสาวทั้งสองของท่านศาสดาชุอัยบ์(อ)โดยไม่ได้แสดงท่าทีเจาะจงสนทนากับบุตรสาวคนใดเป็นพิเศษให้เป็นจุดสนใจ.

(10.)ท่านศาสดามูซา(อ)ไม่ได้สานต่อการสื่อสารให้ต่อเนื่องโดยหยุดไว้เพียงให้การช่วยเหลือให้เสร็จสิ้นแล้วกลับไปพักผ่อนใต้ร่มเงาที่ห่างไกลจากพวกนางตามเดิม.

อันที่จริงยังคงสามารถทอดบทเรียนแห่งอิฟฟะห์และฮะยาอจากเรื่องราวข้างต้นได้อีกมากมาย ทว่าความจำกัดของบทความไม่เอื้อให้ได้กล่าวถึงทั้งหมดจึงเสนอแนะให้ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำรับตำราตัฟซีรอัลกุรอาน

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu