อธิบายซูเราะฮ์อัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 1

In อัลกุรอาน

บทนำ

ซูเราะฮ์อัล-มาอิดะฮ์ เป็นซูเราะฮ์ที่ประทานลงมา ณ เมืองมะดีนะฮ์ซึ่งประกอบด้วย 120 โองการ 2,804 คำ และ11,933 อักษร นักวิชาการสายอุลูมกุรอานกล่าวกันว่า ซูเราะฮ์นี้ถูกประทานลงมาหลังจากซูเราะฮ์ฟัฏฮ์ แต่ในบางรายงานได้บันทึกไว้ว่า ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ประทานในช่วงเทศกาลฮัจญ์ตุ้ลวิดาอ์ (ฮัจญ์อำลาของท่านนบี ซ.ล.) ระหว่างการเดินทางจากมักกะฮ์สู่มาดีนะฮ์ ทว่าตามลำดับเรียบเรียงของอัลกุรอานซูเราะฮ์นี้ ปรากฎอยู่ในลำดับที่ 5 ของซูเราะฮ์อัลกุรอานทั้งหมด

นามของซูเราะฮ์ “มาอิดะฮ์” หมายถึง “สำรับอาหาร”  ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องราวการประทานสำรับอาหารจากฟากฟ้าสำหรับวงศ์วานของท่านศาสดาอีซา (อ) ซึ่งมีกล่าวไว้ในโองการที่ 114 ของซูเราะฮ์

ใจความโดยรวมของซูเราะฮ์อัล-มาอิดะฮ์ สาธยายถึงวิชาการเกี่ยวกับหลักการศรัทธาในอิสลาม รวมไปถึงภาระกิจหรือบัญญัติต่าง ๆ ที่ผู้ศรัทธาพึงจะต้องปฏิบัติ 

ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในซูเราะฮ์ อัล-มาอิดะฮ์

  1. กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการแต่งตั้งท่านอาลี อามีรุ้ลมุอฺมินีน (อ) การเป็นผู้นำหลังจากท่านศาสดา (ซ.ล) 
  2. กล่าวถึงหลักการศรัทธาของบรรดาสาวกของท่านศาสดาอีซา (อ)
  3. กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวันอาคิเราะฮ์ วันฟื้นคืนชีพ และการเป็นสักขีพยายานของบรรดาศาสดาในแต่ละยุคแก่ประชาชาติของตนเอง
  4. กล่าวถึงการคงมั่นในคำมั่นสัญญา ความเท่าเทียมในสังคม การเป็นสักขีพยาน
  5. กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของลูกหลานของท่านศาสดาอาดัม (อ)
  6. กล่าวถึงบัญญัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่สะอาดและเป็นที่อนุมัติ
  7. กล่าวถึงบัญญัติเกี่ยวกับการทำวูฏู และการทำตะยัมมุม

โองการสำคัญที่สุดในซูเราะฮ์ อัล-มาอิดะฮ์ คือโองการที่กล่าวถึงการแต่งตั้งท่านอาลี อามีรุ้ลมุอฺมินีน (อ)  ครั้งเมื่อเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่านนบี (ซ.ล) พร้อมกับอุมมะฮ์ของท่าน ณ บ่อน้ำฆอดีรคุม ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวได้กล่าวเอาไว้ในโองการที่  3 และโอการที่ 67 ของซูเราะฮ์นี้  และการบริจาคทานด้วยแหวนของท่าน อาลี อามีรุ้ลมุอฺมีนีน (อ) ขณะที่ท่านกำลังก้มลงรูกัวะอฺ (โค้งคาราวะ) ต่อพระองค์ ขณะที่ท่านทำนมาซ ในโองการที่ 55 ของซูเราะฮ์ดังกล่าว

โองการที่  1

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَوْفُواْ بِالْعُقُودِ أُحِلَّتْ لَكُم بَهِيمَةُ الأَنْعَامِ إِلاَّ مَا يُتْلَى عَلَيْكُمْ غَيْرَ مُحِلِّي الصَّيْدِ وَأَنتُمْ حُرُمٌ إِنَّ اللّهَ يَحْكُمُ مَا يُرِيدُ  (1)

คำแปล :

โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงรักษาบรรดาสัญญาของพวกเจ้าเถิด    สัตว์ประเภทปศุสัตว์นั้นได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว นอกจากสัตว์ที่ถูกสาธยายแก่พวกเจ้าเท่านั้น โดยมิใช่สัตว์ที่ถูกเจ้าล่าในขณะที่พวกเจ้าอยู่ในสภาพเอียะรอม  แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.)นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์(1)

ขยายความ

จากการบันทึกของบรรดานักตัฟซีรเกี่ยวกับโองการนี้ซึ่งกล่าวไว้ว่า ซูเราะฮ์นี้เป็นซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมายังท่านศาสดา (ซ.ล.) ซึ่งมีฮาดิษจากท่านอิม่ามบากิร (อ)   รายงานจากท่านอาลี บุตรของอาบีฏอลิบ (อ) กล่าวว่า หลังจากซูเราะฮ์นี้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดามีชีวิตอยู่อีกเพียงสองหรือสามเดือนเท่านั้น”.

เช่นเดียวกันได้มีบันทึกว่าซูเราะฮ์นี้เป็น “ซูเราะฮ์นาสิค” (ซูเราะฮ์ยกเลิกโองการก่อนหน้านี้) โดยมีรายงานบันทึกเป็นหลักฐานไว้ซึ่งเราได้กล่าวไปแล้วใน ซูเราะฮ์อัล-บากอเราะฮ์ โองการที่ 281) แต่อาจมีผู้สงสัยว่า ทำไมจึงมีรายงานว่าโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมา ไม่ได้อยู่ในซูเราะฮ์นี้ 

ตอบ : แน่นอนถ้าหากเป็นเพียงโองการแล้วถูกต้อง โองการสุดท้ายไม่ใช่โองการในซูเราะฮ์นี้ แต่ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ คือซูเราะฮ์หาใช่โองการไม่เพราะซูเราะฮ์นี้เป็นซูเราะฮ์สุดท้ายไม่ใช่โองการสุดท้าย 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَوْفُواْ بِالْعُقُود…ِ

คำเตือนดังกล่าว เหมือนดั่งผู้กำลังจะออกเดินทาง และกำลังจะสั่งเสียถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ ฉะนั้นโองการนี้กำชับผู้ศรัทธาทั้งหลาย ให้ยึดมั่นบนสัญญาต่าง ๆ   ที่ให้ไว้ ไม่ว่าสัญญานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม

 “الْعُقُود” ในหลักภาษาหมายถึง “การผูกระหว่างเชือกสองเส้น หรือ ระหว่างสองข้างเชือกให้ติดกัน” และคำว่า “العقد” ถูกนำมาใช้ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะทำสัญญาอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะ ใช่ว่าจะหมายถึงทุก ๆ คำมั่นสัญญาหรือข้อตกลงที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีหลักค้ำประกัน  คำดังกล่าวให้ความหมายรวมไปถึงทุก ๆ คำสัญญา (ทั้งสองฝ่ายมีความจริงใจต่อกัน) ระหว่างมนุษย์ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม หรือระหว่างมนุษย์กับพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ในทุกเรื่องและการงาน

ในหนังสือรุฮุลมาอานี ได้คัดลอกจาก รอฆิบ : คำว่า “อักดฺ” (สัญญา ข้อตกลง) แบ่งออกเป็นสามระดับคือ

  1. ข้อตกลงระหว่างมนุษย์ กับ พระเจ้าของเขา
  2. ข้อตกลงระหว่างมนุษย์ กับ ตัวของเขาเอง
  3. ข้อตกลงระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 

(ตัฟซีรรูฮุลมาอานี โองการดังกล่าว)

ประเด็นสำคัญ

  1. โองการนี้เป็นโองการหนึ่งที่นักนิติบัญญัติได้นำมาอ้าง ในการวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาต่าง ๆ ว่าจำเป็นที่จะต้องรักษามันไว้ ห้ามบิดพริ้ว ซึ่งเรียกกฏดังกล่าวว่า “กออิดะฮ์ตุลลุซูม” และโองการนี้ได้กล่าวถึง คำสัญญาระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้าของเขาเกี่ยวกับผู้นำ ผู้เผยแพร่ที่มาจากพระองค์อีกด้วย 
  2. การรักษาคำสัญญาและข้อตกลง เป็นรากแก้วแห่งศาสนาอิสลาม เพราะถ้าหากสังคมหนึ่งสังคมใดปราศจากคำมั่นสัญญา สัมคมนั้นย่อมขาดความสงบสุข เพราะเหตุดังกล่าวอัลกุรอานจึงกำชับเอาไว้ และเช่นเดียวกัน ท่านอิม่ามอาลี (อ) ได้กล่าวเตือน ท่านมาลิก อัฃตัร ถึงเรื่องดังกล่าวเอาไว้ดังนี้ 

“ในหมู่คำบัญญัติใช้ของพระเจ้า ไม่มีเรื่องใดเลยในทรรศนะของมนุษย์โลกที่จะมีความเห็นพ้องต้องกัน เว้นเสียแต่เรื่องของการรักษาคำสัญญา เพราะเหตุดังกล่าว ชนชาติอาหรับก่อนอิสลามพวกเขาจะเคร่งครัดต่อเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขารู้ถึงผลที่จะตามมาหากละเมิดต่อมัน”

อีกฮาดิษหนึ่งจากท่านอิม่ามอาลี (อ) ซึ่งกล่าวว่า

“พระองค์จะมิทรงยอมรับการกระทำใด ๆ เว้นเสียแต่ ความดีงาม และไม่ทรงรับข้อสัญญาใด ๆเว้นเสียแต่ข้อสัญญาที่ถูกรักษาตามเงื่อนไขของมัน”  

จากท่านศาสดา (ซ.ล) :

“ไม่มีศาสนาสำหรับผู้ที่ไม่รักษาคำสัญญา”  

จากท่านอิม่ามศอดิก (อ) :

“สามประการที่พระองค์ไม่อนุมัติให้ละเลยต่อมันอย่างเด็ดขาด“

  1. คืนของฝาก (อะมานะฮ์) แก่เจ้าของ ไม่ว่าเจ้าของจะเป็นคนดีหรือเลวก็ตาม
  2. รักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะเป็นคนดีหรือไม่ก็ตาม
  3. ปฏิบัติดีต่อบิดา – มารดา แม้ว่าท่านทั้งสองจะดีหรือไม่ก็ตาม

อัลกุรอานยังได้กล่าวต่ออีกว่า

ُحِلَّتْ لَكُم بَهِيمَةُ الأَنْعَامِ إِلاَّ مَا يُتْلَى عَلَيْكُمْ غَيْرَ مُحِلِّي الصَّيْدِ وَأَنتُمْ حُرُمٌ…

 (الأَنْعَامِ) เป็นคำพหูพจน์ ของคำว่า (نعم) “นิอัม” หมายถึง “อูฐ” แต่ถ้าคำดังกล่าวมาในรูปพหูพจน์ แปลว่าปศุสัตว์ (สัตว์สี่เท้า) เช่น อูฐ วัว แพะ… (بَهِيمَةُ ) แปลว่า “แข็งแรง ทนทาน” หรือสิ่งที่ “คลุมเครือ” สัตว์ถูกเรียกว่า “บะฮีมะฮ์” เพราะเสียงของมันไม่สามารถจะเข้าใจได้ (คลุมเครือ) 

ฉะนั้น โองการนี้เป็นโองการที่สาธยายแก่บรรดาผู้ศรัทธาถึงสิ่งที่อนุมัติในการบริโภค และบรรดาสัตว์ที่ไม่ถือเป็นข้ออนุมัติซึ่งจะแจ้งให้ทราบในตอนต่อไป

إِلاَّ مَا يُتْلَى عَلَيْكُمْ…

โองการนี้นอกจากจะกล่าวถึงบทบัญญัติที่อนุมัติ และไม่อนุมัติในการบริโภคเนื้อสัตว์แล้วกล่าวถึงบัญญัติเกี่ยวกับผู้สวมชุดอิห์รอม   เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์อีกด้วย      ว่าไม่เป็นการอนุมัติแก่พวกเขาในการออกล่าสัตว์ และสัตว์ที่ได้มาจากกรณีดังกล่าวไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเขา

غَيْرَ مُحِلِّي الصَّيْدِ وَأَنتُمْ حُرُمٌ…

ตอนสุดท้ายของโองการดังกล่าวพระองค์ทรงกล่าวถึง ความรอบรู้ของพระองค์ กล่าวคือ บัญญัติต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นจากพระองค์ ล้วนมาจากความประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น และความประสงค์ของพระองค์นั้นย่อมเกิดจากความปรีชาญานของพระองค์

إِنَّ اللّهَ يَحْكُمُ مَا يُرِيدُ

บทเรียนจากโองการ

  1. จำเป็นจะต้องยึดมั่นและคงไว้ซึ่งสัญญาในทุก ๆ กรณีและสำหรับทุก ๆ คน
  2. การรับประทานเนื้อสัตว์สำหรับผู้ศรัทธาถือว่าเป็นที่อนุมัติ ยกเว้นในบรรดาสัตว์ที่บัญญัติห้ามเอาไว้

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu