ความแตกต่างเรื่องมรดกระหว่างชายและหญิง

In ผู้หญิง

คำถาม :  ทำไมตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามถึงให้สิทธิแก่บุรุษในการรับมรดกมากกว่าสตรีเป็นสองเท่า? ซึ่งกเกณฑ์เช่นนี้เป็นการกดขี่สิทธิสตรีและเลือกปฏิบัติต่อสตรีใช่หรือไม่?

      คำตอบ  สิทธิทางมรดกของศาสนาอิสลามตามที่ทราบกันก็คือ ผู้ชายมีสิทธิในการรับมรดกมากกว่าผู้หญิงเป็นสองเท่า  แต่ถ้าศึกษาให้ละเอียดในเรื่องนี้จะพบว่าในหลายๆกรณีที่เป็นข้อปลีกย่อยผู้ชายจะไม่ได้รับมรดกเป็นสองเท่าของผู้หญิงเสมอไป  และในหลายกรณีที่ผู้หญิงได้สิทธิในมรดกเท่ากับผู้ชาย

      สิ่งหนึ่งที่อยากให้ท่านทั้งหลายได้ตระหนักก็คือ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผู้ที่ขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสังคมนั้นมาจากเพศชาย และอีกประการหนึ่ง ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้จ่ายของครอบครัวตามหลักการของศาสนาอิสลามนั้นก็เป็นผู้ชาย  ภาระหน้าที่ๆต้องใช้จ่ายของผู้ชายนั้นมีอยู่อย่างมากมาย อาทิ มะฮัร (ค่าสินสมรส)ของภรรยา  ค่าเลี้ยงดูครอบครัวไม่ว่าจะเป็นภรรยาหรือบุตร(นะฟะเกาะฮ์) หรือแม้กระทั่งค่าจ้างในการทำงานบ้านหรือแม้แต่การให้นมบุตรของภรรยา (หากนางได้เรียกร้อง)และอื่นๆ  ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของผู้ชายทั้งสิ้น     ในขณะที่หน้าที่ในการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่นนี้ตามหลักการของศาสนาอิสลามแล้วไม่เป็นหน้าที่ของสตรีแต่อย่างใด

      ฉะนั้นถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่าเรื่องของการแบ่งมรดกนั้นไม่ได้กดขี่สิทธิของสตรีแต่อย่างใด   และถ้าหากมองลึกลงไปกว่านั้นจะพบได้ว่า ผู้หญิงยังได้รับทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ผู้ชายหามาอีกเช่นกัน

       ส่วนอีกประการหนึ่ง หากศึกษาให้ดีจะพบว่าในอดีตที่ผ่านมาในหลายๆสังคมของมนุษย์ สตรีไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกด้วยซ้ำไป ในขณะที่ศาสนาอิสลามได้ยืนยันถึงสิทธิในเรื่องนี้ของสตรี  ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวว่า

لِلرِّجَالِ نَصِيبٌ مِمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأقْرَبُونَ وَلِلنِّسَاءِ نَصِيبٌ مِمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأقْرَبُونَ مِمَّا قَلَّ مِنْهُ أَوْ كَثُرَ نَصِيبًا مَفْرُوضًا 

      สำหรับบรรดาชายนั้น มีส่วนได้รับ(มรดก)จากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับบรรดาหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนได้รับที่ถูกกำหนดอัตราส่วนไว้แล้ว (ซูเราะฮ์นิซาอ์ โองการที่ 7) 

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu