ความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชายในมุมมองอิสลาม

In ครอบครัว

มีคำกล่าวว่าในทัศนะของอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นตัวหลัก ส่วนผู้หญิงเป็นส่วนประกอบ และในแง่ของความเป็นมนุษย์ผู้หญิงมีสถานะต่ำกว่าผู้ชาย คำกล่าวดังกล่าวถือว่าถูกต้องหรือไม่  ? 

คำตอบคือ เพศหญิงและเพศชาย มีความเท่าเทียมกันในฐานะที่ทั้งคู่เป็นมนุษย์  โดยมีคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่มีโครงสร้างทางกายภาพที่แตกต่างกัน และการคำนึงถึงความเหมือนซึ่งความแตกต่างระหว่างชายกับหญิงนี้เองที่จะสามารถให้คำตอบแก่เราในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของความเหมือนระหว่างชายและหญิงหากเราพิจาณาจากคำสอนของอัลกุรอานเราสามารถแบ่งออกเป็นข้อ ๆได้ดังนี้

  1. ชายและหญิงมีความเหมือนกันในด้านแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ หมายถึงเป็นมนุษย์เหมือนกัน ในอดีตที่ผ่านมามีทัศนะเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าผู้หญิงไม่ใช่มนุษย์ แต่อิสลามมีความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับทัศนะดังกล่าวอย่างรุนแรง

ในโองการที่ 1 ของซูเราะฮ์นิซาอ์กล่าวว่า  “มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงให้คุ่ครองของเขาบังเกิดจากเขา”

ในประโยคที่กล่าวว่า “ได้ทรงให้คู่ครองของเขาบังเกิดจากเขา” ในโองการข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคู่ครองของท่านศาสดาอาดัมเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับท่านศาสดาอาดัม (อ.) 

เช่นเดียวกันความเหมือนกันระหว่างท่านศาสดาอาดัม (อ.)  และพระนางฮาวาในด้านการถูกล่อลวงจากชัยฏอนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความเหมือนกันในด้านชะตากรรมระหว่างหญิงและชายด้วย ในส่วนนี้มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึงก็คือ เมื่อเรานำเรื่องราวของท่านศาสดาอาดัม (อ.) ที่ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์เตารอตกับสิ่งที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมาเปรียบเทียบกัน เราจะพบประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ในคัมภีร์เตารอตหนังสือปฐมกาล บทที่ 3 โองการที่ 1- 31 กล่าวว่า : “งูตัวหนึ่งเข้ามาพูดคุยสนทนากับพระนางฮาวาและได้โน้มน้าวพระนางฮาวา จนในที่สุดพระนางฮาวาหลงไปตามคำพูดของงูเห็นว่าต้นไม้นั้นเป็นต้นไม้ที่ดี งูล่อลวงให้ท่านหญิงเห็นว่าเป็นต้นไม้ที่ดีและจะทำให้เพิ่มพูนความรู้ หลักจากนั้นเองพระนางจึงกินผลไม้ของต้นนั้นและยังนำผลไม้ดังกล่าวมาให้สามีของนางด้วยและสามีของนางก็กินผลไม้นั้นด้วย เมื่ออาดัมถูกตำหนิจากการกระทำดังกล่าวจึงกล่าวว่า – ผู้หญิงที่พระองค์ทรงให้มาเป็นคู่ครองของฉัน ได้นำผลไม้นั้นมาให้ฉัน ฉันจึงกินมันเข้าไป พระผู้เป็นเจ้าจึงตรัสกับนางว่า –  เจ้าได้ทำอะไรลงไป นางกล่าวว่า – งูได้ล่อลวงฉัน ฉันจึงกินผลไม้นั้น” 

ตามคำกล่าวข้างต้น ชาวยิวและคริสเตียนจึงเชื่อว่า ชัยฏอนได้ล่อลวงพระนางฮาวา และพระนางฮาวาก็ได้ล่อลวงศาสดาอาดัม (อ.) อีกต่อหนึ่ง

อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของท่านศาสดาอาดัม (อ.) โดยกล่าวว่า ทั้งสองได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติและคำสั่งห้ามจากอัลลอฮ์ (ซบ.) เหมือนกันทั้งคู่ และทั้งคู่ก็ถูกล่อลวงจากชัยฏอนเหมือนกัน ดังนั้นตามทัศนะของอัลกุรอานแล้วพระนางฮาวาไม่ได้เป็นผู้ล่อลวงท่านศาสดาอาดัม (อ.)  แต่ทั้งคู่เป็นผู้ถูกล่อลวงจากชัยฏอนเหมือนกัน

2 . บุรุษและสตรีมีศักยภาพที่จะไปถึงยังความสมบูรณ์แบบของความเป็นมนุษย์จากการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่อย่างที่บางคนคิดกันว่าบุรุษเท่านั้นจะได้รับความสมบูรณ์แบบของความเป็นมนุษย์ 

3 .มีบุรุษและสตรี อยู่ในกลุ่มที่อยู่กับสัจธรรมและทั้งกลุ่มที่อธรรม ไม่ใช่ว่าเพศจะเป็นสิ่งจำกัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ไปอยู่ร่วมกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ใช่อยู่ที่ความเป็นชายหรือหญิงแต่อยู่ความศรัทธาที่แท้จริงของแต่ละคนต่างหาก .

  1. มีภาระหน้าที่และบทบัญญัติอื่น ๆ อีกมากมายที่สตรีและบุรุษมีเหมือนกัน  เช่น โองการที่ 30-31 ซูเราะฮ์นูร

“จงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาชาย ให้พวกเขาลดสายตาของพวกเขาลงต่ำ และรักษาอวัยวะเพศของพวกเขา นั่นเป็นการบริสุทธิ์ยิ่งแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงตระหนักในสิ่งที่พวกเขากระทำ”

“และจงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาหญิงให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และรักษาอวัยวะเพศของพวกเธอ….”

เช่นกันในโองการที่สองของซูเราะฮ์นี้ ความว่า : 

“หญิงที่ผิดประเวณีและชายที่ผิดประเวณี พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนจำนวนหนึ่งร้อยที”

โองการที่ 38 ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  ความว่า : 

“และชายที่ขโมยและหญิงที่ขโมย พวกเจ้าจงตัดมือของทั้งสองคน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่ทั้งสองได้กระทำไว้ ด้วยการลงโทษจากอัลลอฮ์”

  1. ไม่มีความแตกต่างที่เป็นการกดขี่ข่มเหงระหว่างบุรุษกับสตรี เมื่อครั้งที่รัศมีแห่งอิสลามได้ทอแสง ชาวอาหรับที่ตั้งภาคีมีจารีตประเพณีจนเป็นเหตุให้สตรีเพศต้องถูกกดขี่อย่างรุนแรง ถึงขั้นที่ว่าพวกเขาจะนำบุตรสาวของตนเองไปฝังทั้งเป็น ซึ่งอัลกุรอานประณามการกระทำเช่นนี้ไว้ในซูเราะฮ์นะห์ล โองการที่ 58-59 และซูเราะฮ์ตักวีร โองการที่ 8-9 
  2. สตรีเพศก็สามารถมีบทบาททางสังคมและการเมืองอย่างเป็นเอกเทศเหมือนกับบุรุษเพศ ไม่ใช่ว่าพวกเธอจะต้องตามหลังบุรุษเพศเสมอไป พวกเธอมีสิทธิที่จะเข้าร่วมได้จนถึงขั้นที่ความแตกต่างทางโครงสร้างของร่างกายและความรู้สึกตามที่พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างขึ้นมา ไม่อาจเอื้ออำนวยให้สามารถเข้าร่วมภารกิจทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันได้  อัลกุรอานกล่าวถึงความเป็นเอกเทศของสตรีเพศในด้านสังคมและการเมืองไว้ในซูเราะฮ์มุมตะหินะฮ์ โองการที่ 10 และ12 ว่า : 

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา  เมื่อบรรดาหญิงผู้ศรัทธาเป็นผู้ลี้ภัยมาหาพวกเจ้า ก็จงสอบสวนพวกนาง อัลลอฮ์ทรงรู้ดียิ่งในการศรัทธาของพวกนาง ครั้นเมื่อพวกเจ้ารู้ว่าพวกนางเป็นผู้ศรัทธา ก็อย่าได้ส่งพวกนางกลับไปยังพวกปฏิเสธศรัทธา พวกนางมิได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา และพวกเขาก็มิได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกนาง  และจงจ่ายคืนให้พวกเขา (สามีเดิมที่เป็นกาเฟร) สิ่งที่พวกเขาได้จ่ายไป (มะฮัร) 

 โอ้ ศาสดา เมื่อบรรดาหญิงผู้ศรัทธาได้มาหาเจ้าโดยพวกนางเพื่อให้ปฏิญาณแก่เจ้าว่า พวกนางจะไม่ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮ์ ไม่ขโมย ไม่ผิดประเวณี ไม่ฆ่าลูก ๆ ของพวกนาง และจะไม่ใส่ร้ายที่พวกนางได้กุมันขึ้นมาระหว่างมือและเท้าของพวกนาง ( โดยไม่โกหกว่าลูกที่เกิดจากการร่วมหลับนอนกับคนอื่นเป็นลูกของสามีของพวกนาง ) และจะไม่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าในเรื่องดีงาม ดังนั้นจงรับการปฏิญาณของพวกนาง และจงขอต่ออัลลอฮ์ให้ทรงอภัยแก่พวกนาง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ”

  1. สตรีเพศสามารถมีเอกสิทธิทางทรัพย์สินและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเป็นเอกเทศ อิสลามตามหลักธรรมคำสอนของอัลกุรอานสตรีมีสิทธิในการเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในเรื่องมรดก

“สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้ และสำหรับหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้”  

“และสำหรับแต่ละคนนั้น เราได้ให้มีผู้รับมรดก จากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และบรรดาผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าได้ตกลงไว้นั้น ก็จงให้แก่พวกเขาซึ่งส่วนได้ของพวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นพยานในทุกสิ่งทุกอย่าง” (ซูเราะฮ์นิซาอ์ โองการที่ 32-33)

  1. ผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่มีสิทธิร่วมกันในการสร้างครอบครัว ในการอบรมสั่งลูก ๆ ของตน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้เป็นแม่ที่อุ้มครรภ์มาเป็นเวลา 9 เดือน และต้องให้น้ำนมแก่ลูกประมาณ 2 ปี มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูลูก ๆตั้งแต่คลอด ย่อมมีผลต่อลูกมากกว่าผู้เป็นพ่อ ฉะนั้นเธอย่อมมีสิทธิมากกว่าผู้เป็นพ่อ ด้วยเหตุนี้อัลกุรอานและคำสอนที่ได้รับมาจากฮะดีษจำนวนมากมายนอกจากจะกล่าวถึงสิทธิที่มีร่วมกันระหว่างผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่แล้ว ยังกล่าวถึงสิทธิที่ ๆ มีมากกว่าของผู้เป็นแม่ไว้อีกด้วย ดังที่มีฮะดีษกล่าวไว้ว่า “สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา” 

บางโองการกล่าวถึงสิทธิร่วมกันระหว่างผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่  :

“และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน”

 

“ และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้อภิบาลของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย” (ซูเราะฮ์อิสรออ์ โองการที่ 23-24)

และยังมีโองการที่กล่าวถึงสิทธิที่มากกว่าของผู้ที่เป็นแม่ ไว้อีกเช่นกันว่า : 

“และเราได้สั่งเสียมนุษย์ให้ทำดี ต่อบิดามารดาของเขา มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความเหนื่อยยาก และได้คลอดเขาด้วยความเจ็บปวด และการอุ้มครรภ์เขาและการหย่านมของเขาในระยะเวลาสามสิบเดือน” (ซูเราะฮ์อะห์กอฟ โองการที่ 15)

การกล่าวถึงความเหนื่อยยากลำบากของผู้ที่เป็นแม่ นอกจากจะเป็นการบ่งบอกถึงสิทธิที่มากกว่าของผู้เป็นแม่แล้วยังชี้ให้เห็นถึงสถานภาพที่สูงส่งของนางอีกด้วย

ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พอสรุปได้ว่าความเป็นเพศชายและเพศหญิง มีความเหมือนกันในความเป็นมนุษย์โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำกันแต่ประการใด

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu