อิซติฆฟารขุมทรัพย์แห่งอัลกุรอาน

In อัลกุรอาน

จากทัศนะของอัลกุรอาน ความสัมพันธ์ระหว่างกิจการงานของมนุษย์กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขานั้น ถือเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงมาจากกำหนดสภาวะการณ์แห่งองค์ผู้อภิบาล

กลไกลการสรรสร้างมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระองค์ ทุกๆ การงานของมนุษย์มีผลลัพธ์สะท้อนกลับไปสู่ผู้เป็นเจ้าของกิจการงานนั้น ใช่ มีการงานต่างๆ มากมายที่เป็นบ่อเกิดแห่งความดีงาม ความมีสิริมงคล  ทั้งทางด้านวัถุและจิตวิญญาณ  ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น และมีอีกหลายกิจการงานที่เป็นสาเหตุของการนำมาซึ่งความตกต่ำ ความหายนะ และความทุกข์ยากทั้งหลาย ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพในมุมมองของอัล กุรอาน ในแง่มุมต่างๆ อาทิ อิสติฆฟาร(การขออภัยโทษ) อีมาน (ความศรัทธา) ตักวา (ความยำเกรง) ดุอาอ์ (บทขอพร) ตะวักกัล (การมอบหมายต่ออัลลอฮ์) ชุกร์ (การขอบคุณ) การแต่งงาน ฯลฯ)

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การอิสติฆฟาร จะช่วยเปิดทางให้เราไปสู่การพัฒนาตนเองในทุกด้าน เพื่อการประทานความดีงามและปัจจัยยังชีพจากองค์อภิบาล อินชาอัลลอฮ์

  1. อิสติฆฟาร

การเตาบะฮ์ (การขออภัยในความผิดบาป) ต่อเอกองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงอภัยยิ่ง นับเป็นหัวข้อสำคัญที่อัล กุรอานและบรรดาอิมามผู้นำได้เน้นย้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนทโรวาทของบรรดามะอ์ซูม(อ.) อิสติฆฟารถือเป็นหัวข้อสำคัญที่มักถูกกล่าวในบทดุอาอ์ ในการปฏิบัติอามัล อิบาดะฮ์ และในการตะวัซซุล อีกทั้งยังถือเป็นอาวุธที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ประพฤติผิด ที่จะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากความผิดบาปนั้นได้

ณ ที่นี้ เราขอนำเสนอการอิสติฆฟารและการเตาบะฮ์ที่เป็นรากฐานสำคัญในการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพในมุมมองของอัล กุรอานและริวายะฮ์ ซึ่งในกุรอานมี 3 โองการด้วยกันที่อรรถาธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ ใน 2 โองการแรก เป็นการสนทนาระหว่างท่านศาสดาฮูด(อ.) กับพวกอ๊าด ในซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 3 ความว่า

“…และท่านทั้งหลายจงขออภัยต่อองค์อภิบาลของพวกท่านเถิด แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะทรงประทานความสุขอันงดงามแก่พวกท่าน ตราบถึงอายุขัยที่ถูกกำหนดไว้

ชนเผ่าอ๊าด มีร่างกายสูงใหญ่บึกบึน และมีพละกำลังมหาศาล พวกเขามีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและยิ่งใหญ่ เหนือชนกลุ่มอื่น ดังปรากฎในอัล กุรอานซูเราะฮ์ฟัจร์ โองการที่ 8 ความว่า “ซึ่งยังไม่มีการสร้างเยี่ยงกระโจมนั้นในเมืองอื่นๆ

ชนกลุ่มนี้หลงไหลอยู่ในเนี๊ยะมัตที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานให้ พวกเขาต่างเพิ่มพูนและพัฒนามันอย่างลุ่มหลง จนถึงขั้นที่ว่าพวกเขาได้เปลี่ยนสภาพของตนสู่การกราบไหว้เทว

รูปและการตั้งภาคีต่อพระองค์ ด้วยกับการที่พวกเขาหลงผิด พระองค์อัลลอฮ์จึงส่งท่านศาสดาฮูด(อ.)มายังพวกเขา เพื่อชี้นำพวกเขาสู่แนวทางที่เที่ยงตรง แม้ว่าศาสดาฮูด(อ.) จะพยายามชี้นำพวกเขาสู่หนทางแห่งความผาสุขก็ตาม แต่ทว่ามีกลุ่มเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่มีอีมานและศรัทธามั่นต่อพระองค์ ซึ่ชนกลุ่มใหญ่จากหมู่พวกเขาต่างตั้งตัวเป็นศัตรูและดื้อดึงต่อศาสดาฮูด(อ.)ทั้งสิ้น อีกทั้งยังกล่าวหาศาสดาฮูด(อ.)ว่าเป็นผู้เสียสติ และในที่สุดพระองค์อัลลอฮ์(ซบ.)จึงตรัสสั่งให้พวกเขา “เปลี่ยนแปลงสภาพ” ของพวกเขาเอง ดังในซูเราะฮ์อัรเราะอ์ดุ โองการที่ 11 ความว่า

แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของกลุ่มชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพตัวของพวกเขาเอง

และด้วยกับพระประสงค์ของพระองค์ ฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 ปี ทำให้พวกอ๊าดประสพกับภัยแล้ง ข้าวยากหมากแพง และอดอยากหิวโหยในที่สุด ในช่วงนี้เองท่านศาสดาฮูด(อ.)พยายามเรียกร้องเชิญชวนพวกเขาสู่หนทางแห่งความดีงามและความผาสุข ด้วยวิธีการ “ขออภัยโทษต่อพระองค์ , การเลิกสักการะบูชาเทวรูป , การมีอีมานต่อพระองค์ รวมทั้งการปฎิบัติในสิ่งดีงาม

จากโองการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือ (ซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 3) ในตัฟซีรอัลมีซาน ได้อรรถาธิบายถึงอายะฮ์นี้ไว้ว่า จุดมุ่งหมายของคำว่า “เตาบะฮ์” ในรูปของประโยค ثم توبواالیه   ที่ปรากฏหลัง “อิสติฆฟาร” นั้นเป็นการเน้นย้ำถึงการขออภัยโทษและกลับตัวกลับใจสู่พระองค์อย่างแท้จริง ด้วยกับอีมานและการปฏิบัติที่ดีงาม

สำหรับโองการที่สาม คือซูเราะฮ์นุฮ์ โองการที่ 10-12 ความว่า

พวกท่านทั้งหลาย จงขออภัยต่อองค์อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน

ท่านอิมามศอดิก(อ.) ได้อรรถาธิบายถึงโองการข้างต้นว่า “ขณะที่ปัจจัยยังชีพกำลังถูกส่งมายังพวกท่านนั้น ถึงแม้พวกท่านจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลำบากมากมาย หรือต้องทนทุกข์กับระยะเวลาที่ล่าช้าบ้าง ขอให้พวกท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด เพราะพระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในอัล กุรอานว่า จงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ตราบจนวันแห่งการสิ้นโลก สำหรับทรัพย์สินและบุตรหลานที่มากมาย พระองค์จะทรงประทานให้กับพวกท่านในโลกดุนยา ส่วนเรือกสวนไร่นาและลำน้ำนั้น พระองค์จะทรงประทานให้พวกท่านในโลกอาคิเราะฮ์”

จากโองการข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลพวงของการอิสติฆฟารที่มีค่ายิ่งในโลกดุนยามีอยู่ 3 สิ่งด้วยกันคือ “การประทานน้ำฝนที่ยังประโยชน์แก่มนุษย์ , การเพิ่มพูนทรัพย์สินเงินทองที่มากมาย , เนียะมัตจากการประทานบุตรหลาน

มีริวายะฮ์หนึ่ง กล่าวว่า ครั้งหนึ่ง มีบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมามริฏอ(อ.)และร้องเรียนถึง “ภัยแล้ง” ที่เขาประสพ ท่านอิมาม(อ.)จึงแนะนำวิธีการหนึ่งให้กับเขา โดยกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” หลังจากนั้นก็มีอีกบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมาม(อ.) เพื่อร้องเรียนในเรื่องของ “ความยากจนขัดสน” ท่านอิมามแนะนำเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” หลังจากนั้นก็มีอีบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมาม(อ.)เพื่อให้ท่านแนะนำดุอาอ์ให้กับเขาบทหนึ่ง เพื่อขอให้พระองค์อัลลอฮ์ประทานบุตรให้กับเขา ท่านอิมามริฏอ(อ.) ก็กล่าวกับเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” บรรดาผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่างพากันประหลาดใจ และถามขึ้นว่า “ทั้งสามคนที่มาพบท่านนั้น ประสพปัญหาที่แตกต่างกัน ไฉนท่านจึงแนะนำพวกเขาให้ทำการอิสติฆฟารเหมือนกันเล่า” ท่านอิมามริฏอ(อ.)กล่าวว่า “ฉันมิได้แนะนำพวกเขาไปตามอำเภอใจ แต่ทว่าเป็นการชี้นำที่อ้างอิงจากโองการ

อัล กุรอาน และท่านอิมาม(อ.) ก็อ่านโองการกุรอานอังกล่าว”

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการอิสติฆฟาร

ช่วเวลาที่ดีที่สุดของการอิสติฆฟารคือ ยามใกล้รุ่งของวันศุกร์ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในอัล กุรอาน และบรรดาอิมามก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังต่อไปนี้

-ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 17 ความว่า “และบรรดาผู้ที่ขออภัยโทษในยามใกล้รุ่ง”

-ซูเราะฮ์ซาริยาต โองการที่ 18 ความว่า “ในยามใกล้รุ่งพวกเขาขออภัยโทษต่อพระองค์”

ท่านอิมามศอดิก(อ.) อรรถาธิบายถึงโองการข้างต้น ว่า “ใครก็ตามที่กล่าวอิสติฆฟาร 70 ครั้งในยามใกล้รุ่งเขาผู้นั้นคือบุคคลหนึ่งจากอายะห์นี้แน่นอน”

อิสติฆฟารอย่างไร

ท่านอิมามศอดิก(อ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามนมาซวิเตรและกล่าว  อัสตัฆฟิรุลลอฮะ วะอะตูบุอิลัย 70  ครั้งในขณะยืนและพวกเขาใส่ใจในนมาซนี้ เป็นเวลา 1 ปีเต็ม (เมื่อพวกเขาขาดนมาซนี้ พวกเข้าจะนมาซใช้)พระองค์อัลลอฮ์จะบันทึกพวกเขาไว้ในหมู่ชน “ผู้ทำการอิสติฆฟารในยามใกล้รุ่ง” และการให้อภัยเขาเหล่านั้นเป็นวาญิบสำหรับพระองฮ์”

มีริวายะฮ์หนึ่งจากท่านอิมาม ศอดิก(อ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามกล่าวอิสติฆฟารวันละ 400 ครั้งทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน  พระองค์อัลลอฮ์จะทรงประทานความรู้และทรัพสินที่มากมายให้กับเขา” ซึ่งให้อ่านการอิสติฆฟารดังนี้

 

 

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu