อิซติฆฟารขุมทรัพย์แห่งอัลกุรอาน

จากทัศนะของอัลกุรอาน ความสัมพันธ์ระหว่างกิจการงานของมนุษย์กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขานั้น ถือเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงมาจากกำหนดสภาวะการณ์แห่งองค์ผู้อภิบาล

กลไกลการสรรสร้างมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระองค์ ทุกๆ การงานของมนุษย์มีผลลัพธ์สะท้อนกลับไปสู่ผู้เป็นเจ้าของกิจการงานนั้น ใช่ มีการงานต่างๆ มากมายที่เป็นบ่อเกิดแห่งความดีงาม ความมีสิริมงคล  ทั้งทางด้านวัถุและจิตวิญญาณ  ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น และมีอีกหลายกิจการงานที่เป็นสาเหตุของการนำมาซึ่งความตกต่ำ ความหายนะ และความทุกข์ยากทั้งหลาย ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพในมุมมองของอัล กุรอาน ในแง่มุมต่างๆ อาทิ อิสติฆฟาร(การขออภัยโทษ) อีมาน (ความศรัทธา) ตักวา (ความยำเกรง) ดุอาอ์ (บทขอพร) ตะวักกัล (การมอบหมายต่ออัลลอฮ์) ชุกร์ (การขอบคุณ) การแต่งงาน ฯลฯ)

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การอิสติฆฟาร จะช่วยเปิดทางให้เราไปสู่การพัฒนาตนเองในทุกด้าน เพื่อการประทานความดีงามและปัจจัยยังชีพจากองค์อภิบาล อินชาอัลลอฮ์

  1. อิสติฆฟาร

การเตาบะฮ์ (การขออภัยในความผิดบาป) ต่อเอกองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงอภัยยิ่ง นับเป็นหัวข้อสำคัญที่อัล กุรอานและบรรดาอิมามผู้นำได้เน้นย้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนทโรวาทของบรรดามะอ์ซูม(อ.) อิสติฆฟารถือเป็นหัวข้อสำคัญที่มักถูกกล่าวในบทดุอาอ์ ในการปฏิบัติอามัล อิบาดะฮ์ และในการตะวัซซุล อีกทั้งยังถือเป็นอาวุธที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ประพฤติผิด ที่จะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากความผิดบาปนั้นได้

ณ ที่นี้ เราขอนำเสนอการอิสติฆฟารและการเตาบะฮ์ที่เป็นรากฐานสำคัญในการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพในมุมมองของอัล กุรอานและริวายะฮ์ ซึ่งในกุรอานมี 3 โองการด้วยกันที่อรรถาธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ ใน 2 โองการแรก เป็นการสนทนาระหว่างท่านศาสดาฮูด(อ.) กับพวกอ๊าด ในซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 3 ความว่า

“…และท่านทั้งหลายจงขออภัยต่อองค์อภิบาลของพวกท่านเถิด แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะทรงประทานความสุขอันงดงามแก่พวกท่าน ตราบถึงอายุขัยที่ถูกกำหนดไว้

ชนเผ่าอ๊าด มีร่างกายสูงใหญ่บึกบึน และมีพละกำลังมหาศาล พวกเขามีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและยิ่งใหญ่ เหนือชนกลุ่มอื่น ดังปรากฎในอัล กุรอานซูเราะฮ์ฟัจร์ โองการที่ 8 ความว่า “ซึ่งยังไม่มีการสร้างเยี่ยงกระโจมนั้นในเมืองอื่นๆ

ชนกลุ่มนี้หลงไหลอยู่ในเนี๊ยะมัตที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานให้ พวกเขาต่างเพิ่มพูนและพัฒนามันอย่างลุ่มหลง จนถึงขั้นที่ว่าพวกเขาได้เปลี่ยนสภาพของตนสู่การกราบไหว้เทว

รูปและการตั้งภาคีต่อพระองค์ ด้วยกับการที่พวกเขาหลงผิด พระองค์อัลลอฮ์จึงส่งท่านศาสดาฮูด(อ.)มายังพวกเขา เพื่อชี้นำพวกเขาสู่แนวทางที่เที่ยงตรง แม้ว่าศาสดาฮูด(อ.) จะพยายามชี้นำพวกเขาสู่หนทางแห่งความผาสุขก็ตาม แต่ทว่ามีกลุ่มเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่มีอีมานและศรัทธามั่นต่อพระองค์ ซึ่ชนกลุ่มใหญ่จากหมู่พวกเขาต่างตั้งตัวเป็นศัตรูและดื้อดึงต่อศาสดาฮูด(อ.)ทั้งสิ้น อีกทั้งยังกล่าวหาศาสดาฮูด(อ.)ว่าเป็นผู้เสียสติ และในที่สุดพระองค์อัลลอฮ์(ซบ.)จึงตรัสสั่งให้พวกเขา “เปลี่ยนแปลงสภาพ” ของพวกเขาเอง ดังในซูเราะฮ์อัรเราะอ์ดุ โองการที่ 11 ความว่า

แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของกลุ่มชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพตัวของพวกเขาเอง

และด้วยกับพระประสงค์ของพระองค์ ฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 ปี ทำให้พวกอ๊าดประสพกับภัยแล้ง ข้าวยากหมากแพง และอดอยากหิวโหยในที่สุด ในช่วงนี้เองท่านศาสดาฮูด(อ.)พยายามเรียกร้องเชิญชวนพวกเขาสู่หนทางแห่งความดีงามและความผาสุข ด้วยวิธีการ “ขออภัยโทษต่อพระองค์ , การเลิกสักการะบูชาเทวรูป , การมีอีมานต่อพระองค์ รวมทั้งการปฎิบัติในสิ่งดีงาม

จากโองการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือ (ซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 3) ในตัฟซีรอัลมีซาน ได้อรรถาธิบายถึงอายะฮ์นี้ไว้ว่า จุดมุ่งหมายของคำว่า “เตาบะฮ์” ในรูปของประโยค ثم توبواالیه   ที่ปรากฏหลัง “อิสติฆฟาร” นั้นเป็นการเน้นย้ำถึงการขออภัยโทษและกลับตัวกลับใจสู่พระองค์อย่างแท้จริง ด้วยกับอีมานและการปฏิบัติที่ดีงาม

สำหรับโองการที่สาม คือซูเราะฮ์นุฮ์ โองการที่ 10-12 ความว่า

พวกท่านทั้งหลาย จงขออภัยต่อองค์อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน

ท่านอิมามศอดิก(อ.) ได้อรรถาธิบายถึงโองการข้างต้นว่า “ขณะที่ปัจจัยยังชีพกำลังถูกส่งมายังพวกท่านนั้น ถึงแม้พวกท่านจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลำบากมากมาย หรือต้องทนทุกข์กับระยะเวลาที่ล่าช้าบ้าง ขอให้พวกท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด เพราะพระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในอัล กุรอานว่า จงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ตราบจนวันแห่งการสิ้นโลก สำหรับทรัพย์สินและบุตรหลานที่มากมาย พระองค์จะทรงประทานให้กับพวกท่านในโลกดุนยา ส่วนเรือกสวนไร่นาและลำน้ำนั้น พระองค์จะทรงประทานให้พวกท่านในโลกอาคิเราะฮ์”

จากโองการข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลพวงของการอิสติฆฟารที่มีค่ายิ่งในโลกดุนยามีอยู่ 3 สิ่งด้วยกันคือ “การประทานน้ำฝนที่ยังประโยชน์แก่มนุษย์ , การเพิ่มพูนทรัพย์สินเงินทองที่มากมาย , เนียะมัตจากการประทานบุตรหลาน

มีริวายะฮ์หนึ่ง กล่าวว่า ครั้งหนึ่ง มีบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมามริฏอ(อ.)และร้องเรียนถึง “ภัยแล้ง” ที่เขาประสพ ท่านอิมาม(อ.)จึงแนะนำวิธีการหนึ่งให้กับเขา โดยกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” หลังจากนั้นก็มีอีกบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมาม(อ.) เพื่อร้องเรียนในเรื่องของ “ความยากจนขัดสน” ท่านอิมามแนะนำเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” หลังจากนั้นก็มีอีบุคคลหนึ่งมาหาท่านอิมาม(อ.)เพื่อให้ท่านแนะนำดุอาอ์ให้กับเขาบทหนึ่ง เพื่อขอให้พระองค์อัลลอฮ์ประทานบุตรให้กับเขา ท่านอิมามริฏอ(อ.) ก็กล่าวกับเขาว่า “ท่านจงทำการอิสติฆฟารเถิด” บรรดาผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่างพากันประหลาดใจ และถามขึ้นว่า “ทั้งสามคนที่มาพบท่านนั้น ประสพปัญหาที่แตกต่างกัน ไฉนท่านจึงแนะนำพวกเขาให้ทำการอิสติฆฟารเหมือนกันเล่า” ท่านอิมามริฏอ(อ.)กล่าวว่า “ฉันมิได้แนะนำพวกเขาไปตามอำเภอใจ แต่ทว่าเป็นการชี้นำที่อ้างอิงจากโองการ

อัล กุรอาน และท่านอิมาม(อ.) ก็อ่านโองการกุรอานอังกล่าว”

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการอิสติฆฟาร

ช่วเวลาที่ดีที่สุดของการอิสติฆฟารคือ ยามใกล้รุ่งของวันศุกร์ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในอัล กุรอาน และบรรดาอิมามก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังต่อไปนี้

-ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 17 ความว่า “และบรรดาผู้ที่ขออภัยโทษในยามใกล้รุ่ง”

-ซูเราะฮ์ซาริยาต โองการที่ 18 ความว่า “ในยามใกล้รุ่งพวกเขาขออภัยโทษต่อพระองค์”

ท่านอิมามศอดิก(อ.) อรรถาธิบายถึงโองการข้างต้น ว่า “ใครก็ตามที่กล่าวอิสติฆฟาร 70 ครั้งในยามใกล้รุ่งเขาผู้นั้นคือบุคคลหนึ่งจากอายะห์นี้แน่นอน”

อิสติฆฟารอย่างไร

ท่านอิมามศอดิก(อ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามนมาซวิเตรและกล่าว  อัสตัฆฟิรุลลอฮะ วะอะตูบุอิลัย 70  ครั้งในขณะยืนและพวกเขาใส่ใจในนมาซนี้ เป็นเวลา 1 ปีเต็ม (เมื่อพวกเขาขาดนมาซนี้ พวกเข้าจะนมาซใช้)พระองค์อัลลอฮ์จะบันทึกพวกเขาไว้ในหมู่ชน “ผู้ทำการอิสติฆฟารในยามใกล้รุ่ง” และการให้อภัยเขาเหล่านั้นเป็นวาญิบสำหรับพระองฮ์”

มีริวายะฮ์หนึ่งจากท่านอิมาม ศอดิก(อ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามกล่าวอิสติฆฟารวันละ 400 ครั้งทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน  พระองค์อัลลอฮ์จะทรงประทานความรู้และทรัพสินที่มากมายให้กับเขา” ซึ่งให้อ่านการอิสติฆฟารดังนี้

 

 

 

Exit mobile version