อิมามฮะซัน กับสมญานามผู้ใจบุญแห่งวงศ์วานศาสนทูต

In อะฮ์ลุลบัยต์

เนื่องจากท่านอิมามฮะซัน (อ.) มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากและผู้ยากไร้ในสังคม ท่านอยู่ร่วมกับคนจนและผู้ด้อยโอกาสในสังคมเสมอ พร้อมกันนั้นท่านยังรับฟังความโศกเศร้าของพวกเขาด้วยความจริงใจ ไม่มีคนยากจนคนใดกลับมาจากประตูบ้านของท่านด้วยความผิดหวัง บางครั้งตัวท่านเองเดินไปหาคนยากจนและเชิญพวกเขาไปที่บ้านของท่านและให้อาหารและเสื้อผ้าแก่พวกเขา (1)

ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ใช้พลังทั้งหมดที่มีในการทำสิ่งที่ดีและเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า ท่านแอบมอบทรัพย์สมบัติมากมายในทางของพระเจ้า นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการได้บันทึกเรื่องราวการบริจาคครั้งยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติชีวิตอันน่าภาคภูมิใจท่าน ในช่วงชีวิตของท่านได้ใช้จ่ายทรัพย์สมบัติทั้งหมดของตัวเองสองครั้งในทางของพระเจ้า และครั้งที่สามท่านได้แบ่งทรัพย์สมบัติของท่านออกเป็นสองส่วนและแบ่งครึ่งหนึ่งให้กับคนจนในทางของพระเจ้า (2)

มีรายงานว่า ท่านอิมามฮะซัน (อ.) เดินผ่านกลุ่มคนจนกำลังกินเศษขนมปังแห้งที่ถูกทิ้งไว้บนพื้น ท่านลงจากหลังม้าและกล่าวว่า “พระเจ้าไม่ทรงชอบคนหยิ่งจองหอง” แล้วพวกท่านก็นั่งรับประทานอาหารร่วมกับพวกเขา จากนั้นท่านเชิญให้คนยากจนทั้งหมดไปที่บ้านของท่านเพื่อรับประทานอาหาร ท่านอิมามต้อนรับพวกเขาด้วย อาหารที่ดีและให้เสื้อผ้าที่เหมาะสมแก่พวกเขา (3)

มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ของท่านอิมาม มีผู้คนถามท่านว่า เหตุใดเมื่อผู้คนมาขอท่าน ท่านจึงไม่ปฏิเสธพวกเขาเลยสักครั้ง ท่านอิมามกล่าวตอบว่า: “ฉันเป็นผู้แสวงหาความใกล้ชิดพระเจ้า และฉันต้องการให้พระเจ้าไม่พรากไปจากฉัน ฉันรู้สึกละอายใจที่จะทำให้ผู้แสวงหาฉันและเรียกร้องความช่วยเหลือจากฉันผิดหวังกลับไป การช่วยเหลือนี้จะทำให้พระเจ้าผู้ทรงดูฉันและทำให้ฉันอยู่ในการดูแลของพระองค์ตลอดไป” (4)

เนื่องจากความเมตตากรุณาและการทำความดีเหล่านี้ และการอยู่ในเส้นทางแห่งความดี ความเมตตากรุณา และการช่วยเหลือแก่ชนชั้นที่ไร้หนทางและขัดสนตลอดมา อิหม่ามจึงได้รับสมญานามว่า “ผู้ใจบุญแห่งวงศ์วานศาสนทูต”

แหล่งอ้างอิง :

  1. Zamani, Ahmad, ข้อเท็จจริงที่ซ่อนอยู่ จัดพิมพ์โดย Islamic Propaganda Office, Qom, พิมพ์ครั้งแรก, 1375, p. 268
  2. Siyuti, Tarikh al-Khalifa, Maktaba al-Muthani, Baghdad, 1383 A.H. p. 190. Tarikh Yaqoubi, Publications of al-Maktaba al-Haydariyya, Najaf, 1384 AH, vol. 2, p. 215.
  3. Allameh Majlesi, Bihar al-Anwar, Al-Wafa Foundation, Beirut, 1404 AH, vol. 42, p. 213.
  4. Qurashi, Baqer Sharif, Life of Imam Hasan (AS), แปลโดย Fakhruddin Hijazi, Tehran: Nash Baath, first edition, 1376, p. 135.

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu