คำสอนอะฮ์ลุลบัยต์ ตอนที่ 1 แผนชีวิต

In อะฮ์ลุลบัยต์

صَلٰاحُ حٰالِ التَّعٰایُشِ وَالتَّعٰاشُرِ مِلْأُ مِکْیٰالٍ ثُلْثٰاهُ فِطْنَهٌٔ وَ ثُلْثُهُ تَغٰافُلٌ

อิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า“การจะปรับปรุงแก้ไขหรือการทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น จะต้องกำหนดรูปแบบและแผนการณ์ที่เหมาะสม รูปแบบที่ดีที่สุดของการดำเนินชีวิตคือในเศษสองส่วนสามของแผนชีวิตให้เราใช้สติปัญญาและให้ความสนใจในรายละเอียดให้มาก อีกส่วนที่เหลือให้ใช้การมองข้ามและการลืม”

คำอธิบาย

การทำงานใด ๆ ก็แล้วแต่ถ้าหากไม่มีการวางแผนและคิดคำนวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกทั้งไม่ใช้สติปัญญาคิดไตร่ตรองเสียก่อนงานนั้นก็จะไม่เกิดผล แต่ในบางกรณีหากเราใส่ใจเกินไปไม่มองข้ามสิ่งที่ไม่จำเป็นงานก็อาจพังลงได้เช่นกัน

หมายถึง ถ้าหากในการทำงานของเราไม่มีการวางแผนให้รอบคอบแน่นอนงานชิ้นนั้นอาจจะไม่ได้รับผลสำเร็จก็เป็นได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งถ้าเราสนใจรายละเอียดจนเกินไป นำประเด็นเรื่องเล็กน้อยที่บางทีไม่ได้มีผลต่อความสำเร็จของงานมากนักมาคิดให้เป็นเรื่องใหญ่ การทำเช่นนี้ก็อาจมีผลทำให้งานนั้นเสียหายได้  ในการใช้ชีวิตของเราก็เช่นกัน ให้เราใช้ชีวิตอย่างมีระบบแบบแผนอย่างมีสติ แต่บางครั้งเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ได้มีผลอะไรมากนักกับชีวิตก็ไห้มองข้ามไปเสียบ้าง

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu