บทบัญญัติเกี่ยวกับเอียะอ์ติกาฟ
เอียะอ์ติกาฟคือการพักแรมในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์
ชนิดต่าง ๆ ของการเอียะอ์ติกาฟ
เอียะอ์ติกาฟแบ่งออกเป็นสองรูปแบบด้วยกันคือ
1 – เอียะอ์ติกาฟมุสตะฮับ
2 – เอียะอ์ติกาฟวาญิบ
เอียะอ์ติกาฟตามหลักการโดยตัวของมันเองเป็น
ช่วงเวลาการเอียะอ์ติกาฟ
สามารถเอียะอ์ติกาฟได้ตลอดทั้งปี อย่างน้อยสามวันโดยให้ตั้งใจเหนียตอยู่ในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์และถือศิลอดก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
เงื่อนไขการเอียะอ์ติกาฟ
เงื่อนไขของความถูกต้องของการเอียะอ์ติกาฟ บางส่วนขึ้นอยู่มีกับตัวผู้เอียะอ์ติกาฟเอง แต่บางส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับเอียะอ์ติกาฟ ซึ่งจะขอกล่าวถึงเงื่อนไขและอะกามที่จำเป็นดังนี้
เงื่อนไขของผู้เอียะอ์ติกาฟ
1.มีสติสัมปชัญญะ(ผู้วิกลจริตถือว่าไม่ถูกต้อง)
2.ผู้มีศรัทธา(ไม่ใช่มุอ์มินถือว่าไม่ถูกต้อง)
3.ตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)( การมีเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ (ริยา) และการมีเจตนาโอ้อวด ทำให้เอียะติกาฟเป็นโมฆะ)
4.ถือศีลอดในช่วงเอียะติกาฟ
5.การขออนุญาติ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องขออนุญาติ
เงื่อนไขการเอียะติกาฟ
1.เวลา จะต้องไม่น้อยกว่า 3 วัน
- สถานที่ ต้องเป็นมัสยิดญามิอฺ (หมายถึงมัสยิดที่ใช้ประกอบพิธีละหมาดญ่ามาอะห์)
3.พำนักในมัสยิดโดยไม่ออกจามมัสยิด
การเนียตในเอียะติกาฟ
1.เอียะติกาฟเหมือนอิบาดะฮ์อื่นๆที่จะต้องตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)การมีเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ (ริยา) การมีเจตนาโอ้อวด และมีเจตนาเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ(ซบ.)ถือว่าเป็นโมฆะ
2.เนียตนั้นไม่จำเป็นว่าเราจะตั้งเจนนาเอียะติกาฟวาญิบหรือมุสตะฮับ
3.ตั้งแต่เริ่มเอียะติกาฟ จนกระทั้งจบเอียะติกาฟจะต้องตั้งเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อเอกองค์อัลลอฮ(ซบ.)
ดังนั้นเพียงการตั้งเจตนาว่าจะเริ่มเอียะติกาฟ ถือว่าถูกต้อง หรือเพียงแค่บุคคลผู้หนึ่งตั้งเจตนาว่าจะไมมัสยิด ตั้งการปรากฏของแสงเงินแสงทองของรุ่งอรุณ ถือว่าถูกต้อง
4.ในเอียะติกาฟมนุษย์สามารถที่เอียะติกาฟเพื่อตัวเอง หรือเพื่อผู้อื่นได้ ในส่วนที่สองเรียกว่า เอียะติกาฟ นิยาบะตี
5.การเอียะติกาฟเพื่อผู้อื่นถือว่าไม่เป็นไร แต่จะต้องถือให้กับผู้ที่ยังมีชีวิต…….
สรุปคือ เอียะติกาฟนั้นมีหลายส่วนด้วยกัน
1.เอียะติกาฟสำหรับตัวมนุษย์เอง
2.เอียะติกาฟสำหรับผู้อื่น
3.เอียะติกาฟเพื่อคนตาย
4.เอียะติกาฟเพื่อคนเป็น
หมายเหตุ
*แม้ว่าการถือศิลอดไม่สามารถทำแทนกันได้แต่ทว่าการถือศิลอดในเอียะติกาฟเช่นเดียวกับการนมาซที่มีต่อเตาวาฟที่การงานหนึ่งจะต้องสัมพันธ์ไปอีกการงานหนึ่ง เช่นเดียวกับเตาวาฟและนมาซที่ผู้กระทำต้องมีชีวิตถึงจะถูกต้อง การเอียะติกาฟและการถือศิลอดก็เช่นกัน
*การเอียะติกาฟเพื่อคนสองคนหรือเพื่อหลายคนถือว่าไม่ถูกต้อง แต่สามารถทำการเนียตเอียะติกาฟเพื่อตัวเองได้โทษอุทิสผลบุญเหล่านั้นแก่ผู้อื่น จะจำนวน 1 คน หรือหลายคน มีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม
การถือศีลอดในเอียะติกาฟ
1.ในช่วงเวลาเอียะติกาฟนั้นจะต้องถือศิลอด ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ เช่น คนเดินทาง คนป่วย สตรีที่มีประจำเดือน หรือนิฟาอ์ และผู้ที่ตั้งใจจะไม่ถือศิลอด เอียะติกาฟของเขาไม่ถูกต้อง
2.ผู้เดินทาง และผู้ป่วยหากทำการเอียะติกาฟ ถือว่าไม่ถูกต้อง แต่สตรีที่มีประจำเดือนหรือนิฟาอ์ ไม่เพียงการเอียะติกาฟของนางจะไม่ถูกต้องแล้วแต่ทว่าการพำนักอยู่ในมัสยิดนางยังเป็นบาปอีกด้วย
3.การเอียะติกาฟในวันอีดฟิตร อีดีรอัดฮา หรือสองวันก่อนอีดซึ่งวันที่สามไปตกอยู่วันอีดถือว่าไม่ถูกต้อง
4.ไม่จำเป็นที่จะถือศีลอดเพื่อการเอียะติกาฟ ศิลอดทุกๆศิลอดถือว่าถูกต้องเช่น ในช่วงเอียะติกาฟ ถือศิลอดใช่ (กอฎอ)นัซ(บนบาน)…….
5.หากผู้หนึ่งได้ทำการนัซ (บนบาน)ว่าจะถือศีลอดในช่วงเวลาที่ทำเอียะติกาฟ การถือศีลอดนัซ(บนบาน)เป็นหน้าที่ของเขา
เอี๊ยะติกาฟ (إعْـتِـكافٌ) อ่านว่า เอี๊ยะ-ติ-กาฟ ผันมาจากกริยาเดิมคือ ( عـَكَفَ ) อ้า-ก้า-ฟ่า โดยเพิ่ม อ้าลิฟกับตา เข้ามา ตามหลักภาษาแปลว่าการประจำอยู่ ณ สถานที่ไดสถานที่หนึ่งและอยู่ติด ฝังตัวกับสถานที่นั้นตลอดเวลา ส่วนคำนิยามตามศาสนบัญญัตินั้นนักนิติศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความไว้มากมายโดยใช้คำที่ต่างกันแต่ความหมายที่ออกมาใกล้เคียงกัน ดังนี้
- ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามฮานาฟี คือ การพำนักอยู่ในมัสยิดญามิอฺ (หมายถึงมัสยิดที่ใช้ประกอบพิธีละหมาดญ่ามาอะห์) โดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟพร้อมกับถือศีลอดควบคู่ไปด้วย
- ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามมาลีกี คือ การที่มุสลิมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วอยู่ประจำกับมัสยิดโดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟพร้อมกับถือศีลอดหนึ่งวันเพื่อเป็นการอิบาดะห์
- ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามชาฟีอี คือ การพำนักอยู่ในมัสยิดของบุคคลที่ศาสนากำหนดโดยมีการตั้งเจตนาเอี๊ยะติกาฟ
- ทรรศนะของสานุศิษย์อิหม่ามอะห์หมัด คือ การประจำอยู่ในมัสยิดเพื่อแสดงความภักดีต่ออัลเลาะห์ ด้วยกับรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้ กล่าวคือ ต้องเป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ สะอาดปราศจากฮ่าดัสใหญ่หรือสิ่งที่ทำให้จำเป็นต้องอาบน้ำวายิบ