นิยามของครอบครัวในกุรอาน

In ครอบครัว

คำว่า “อัลอุสเราะฮ์” ในภาษาอาหรับหมายถึง ครอบครัว ซึ่งคำนี้ไม่มีปรากฏในโองการต่าง ๆ ของกุรอาน แต่มีอยู่คำหนึ่งที่กุรอานใช้แทนคำนี้คือคำว่า “อะฮ์ลุน”


ความหมายตามโองการต่าง ๆ มีดังนี้ :
1. ภรรยาคือสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว จะไม่เรียกว่าครอบครัวหากมีผู้ชายเพียงคนเดียว เนื่องจากมีบางโองการที่ได้บัญญัติให้ยกเว้นภรรยาออกจากครอบครัว
إِنَّا مُنَجُّوكَ وَأَهْلَكَ إِلا امْرَأَتَكَ
“แท้จริงเราเป็นผู้ช่วยเหลือท่านและครอบครัวของท่านเว้นแต่ภรรยาของท่าน” (ซูเราะฮ์ อันกะบูต โองการที่ 33)
โองการนี้ได้ยกเว้นภรรยาของศาสดานูห์ (อ.) ให้ออกจากครอบครัวที่ได้รับความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้โองการจึงบ่งบอกว่าภรรยาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว
قَالَ إِنَّ فِيهَا لُوطًا قَالُوا نَحْنُ أَعْلَمُ بِمَنْ فِيهَا لَنُنَجِّيَنَّهُ وَأَهْلَهُ إِلا امْرَأَتَهُ كَانَتْ مِنَ الْغَابِرِينَ
“เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่า แท้จริงในเมืองนั้นมีลูฏอยู่ด้วย พวกเขากล่าวว่า เรารู้ดีว่ามีใครอยู่ในนั้น แน่นอนเราจะช่วยเขาและครอบครัวของเขาให้รอดพ้น เว้นแต่ภรรยาของเขาเพราะนางอยู่ในหมู่ผู้ถูกทำลาย” (ซูเราะฮ์อันกะบูต โองการที่ 32)
โองการนี้ก็แนะนำว่าครอบครัวของศาสดาลูฏ (อ.) มาจากครอบครัวที่ได้รับความปลอดภัย แต่ทว่าภรรยาของท่านศาสดาลูฏ (อ.) ได้ถูกยกเว้นออกจากครอบครัวของท่านศาสดาลูฏ (อ.) ที่ได้รับความปลอดภัย
احْمِلْ فِيهَا مِنْ كُلٍّ زَوْجَيْنِ اثْنَيْنِ وَأَهْلَكَ إِلا مَنْ سَبَقَ عَلَيْهِ الْقَوْلُ
”จงบรรทุกจากทุกชนิดเป็นคู่ ๆ และครอบครัวของเจ้าลงในเรือ เว้นแต่ผู้ที่พระดำรัสได้กำหนดแก่เขาไว้ก่อน” (ซูเราะฮ์ ฮูด โองการที่ 40)
การยกเว้นในโองการนี้บ่งชี้ว่าภรรยาและบุตรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ด้วยเหตุนี้ทั้งสองจึงถูกยกเว้นออกจากครอบครัวของท่านศาสดานูห์ (อ.)
2. สำหรับสตรีและบุรุษที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่ตามหลักการศาสนาแล้วไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยา ก็ไม่ถูกเรียกว่าครอบครัว
“และครอบครัวของท่านเว้นแต่ภริยาของท่าน” (ซูเราะฮ์อันกะบูต โองการที่ 33)
“และครอบครัวของเขาให้รอดพ้น เว้นแต่ภริยาของเขา” (ซูเราะฮ์อันกะบูต โองการที่ 32)
กุรอานถือว่าภรรยา คือสตรีที่ได้อ่านนิกะห์กับบุรุษอย่างถูกต้องตามหลักการศาสนา โดยไม่ได้หมายรวมถึงสตรีทุก ๆ คนว่าเป็นภรรยา
3.บรรดาลูก ๆ ก็คือสมาชิกในครอบครัว เพราะท่านศาสดานูห์ (อ.) ได้เรียกบุตรของท่านว่าเป็นครอบครัวของตน
إِنَّ ابْنِي مِنْ أَهْلِي
“แท้จริงลูกชายของข้าพระองค์เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของข้าพระองค์” (ซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 45)
นักอรรถาธิบายกุรอานถือว่า กันอาน คือสมาชิกในครอบครัวของท่านศาสดานูห์ (อ.)
ในการอรรถาธิบายโองการ :
يَا نُوحُ إِنَّهُ لَيْسَ مِنْ أَهْلِكَ
“โอ้นูห์ ! แท้จริงเขามิได้เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของเจ้า” (ซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 46)
เป้าหมายของพระผู้เป็นเจ้าคือ กันอานไม่ใช่มาจากผู้ที่มีศาสนาของนูห์ (อ.) หรือเป้าหมายคือ กันอานไม่ใช่มาจากผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าสัญญาว่าจะให้ได้รับความปลอดภัย
แต่ทว่าการกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า ตามบรรทัดฐานของกุรอานไม่ได้หมายรวมถึงบุรุษและสตรีที่ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการศาสนาแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน เนื่องจากมีนักอรรถาธิบายจำนวนหนึ่งกล่าวว่า เป้าหมายของครอบครัวในโองการนี้وَإِذْ غَدَوْتَ مِنْ أَهْلِكَ   “และจงรำลึกถึงขณะที่เจ้าจากครอบครัวของเจ้าไปแต่เช้าตรู่(ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 121) หมายถึงพระนางอาอิชะฮ์  ท่านฟัครุรรอซี เขียนไว้ในตำราตัฟซีรของท่านว่า “ ตัวบทนี้หมายถึงพระนางอาอิชะฮ์ (อ.)  ซึ่งพระนางเป็นครอบครัวของท่านนบี(ศ็อลฯ)” (ฟัครุรรอซี อัลกะบีร พิมพ์ครั้งที่ 3 อารุ อิห์ยาอิษษะรอติลอะรอบี เล่ม 8 หน้า 206)
ไม่เพียงแต่บุตรชายจะเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวเท่านั้นทว่าบุตรสาวก็เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวเช่นกัน ตามพื้นฐานอันนี้กุรอานได้กล่าวถึงท่านหญิงมัรยัมว่าได้ปลีกตัวออกจากครอบครัวของท่าน
وَاذْكُرْ فِي الْكِتَابِ مَرْيَمَ إِذِ انْتَبَذَتْ مِنْ أَهْلِهَا مَكَانًا شَرْقِيًّا
“และจงรำลึกถึง (เรื่องของ) มัรยัมที่อยู่ในคัมภีร์เมื่อนางได้ปลีกตัวออกจากหมู่ญาติของนาง ไปยังมุมหนึ่งทางตะวันออก(ของบัยตุลมักดิส)”(ซูเราะฮ์มัรยัม โองการที่ 16)
4. นอกจากลูก ๆ แล้ว เหล่าภรรยาของลูก ๆ ก็ถือว่าเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน  เพราะท่านศาสดานูห์ (อ.) ได้นำสะใภ้ทั้งสามของท่านขึ้นเรือด้วย
”จงบรรทุกจากทุกชนิดเป็นคู่ ๆ และครอบครัวของเจ้าลงในเรือ เว้นแต่ผู้ที่พระดำรัสได้กำหนดแก่เขาไว้ก่อน” (ซูเราะฮ์ ฮูด โองการที่ 40)
และในเรื่องเล่าของท่านศาสดายูซุฟ (อ.) ได้เรียกบรรดาพี่น้องของท่านศาสดายูซุฟ (อ.)ว่าเป็นสมาชิกในครอบครัว
وَنَمِيرُ أَهْلَنَا
“และเราจะได้เพิ่มเสบียงอาหารแก่ครอบครัวของเรา” (ซูเราะฮ์ยูซุฟ โองการ65)
5. บรรดาพี่น้องที่เป็นชายกับบรรดาพี่น้องที่เป็นสตรีก็ถือว่าเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน เพราะท่านศาสดามูซา (อ.) ได้ขอให้กำหนดตัวแทนหนึ่งมาจากครอบครัวของท่าน และพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ฮารูน ผู้เป็นพี่ชายท่านศาสดามูซา (อ.) เป็นตัวแทน
وَاجْعَلْ لِي وَزِيرًا مِنْ أَهْلِي (٢٩)هَارُونَ أَخِي
“และทรงโปรดให้คนในครอบครัวของข้าพระองค์ เป็นผู้ช่วยแก่ข้าพระองค์ด้วย”

“ฮารูนพี่ชายของข้าพระองค์”

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu