อิมามอาลีในสงครามปกป้องศาสนา

In อะฮ์ลุลบัยต์

อิมามอาลีในสงคราม

ตลอดระยะเวลาสิบปีหลังการอพบยบของท่านศาสดาและบรรดาสาวกมามะดีนะฮ์ รัฐอิสลามของท่านศาสดา กลุ่มยิวและคริสต์ให้การสนับสนุนพวกมุชริกในการต่อต้านและทำสงครามกับมุสลิม ทำให้มุสลิมต้องลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องตนเอง สงครามระหว่างมุสลิมกับพวกมุชริกที่ได้เกิดขึ้นเกือบจะทั้งหมดเป็นสงครามในรูปแบบการปกป้องตนเอง และในทุกสงครามที่เกิดขึ้น อิมามอาลี คือผู้กล้าและนักรบคนสำคัญอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้  

อิมามอาลีในสงครามบะดัร

สงครามแรกที่เกิดขึ้นระหว่างมุสลิมกับศัตรูคือสงครามบะดัร ฝ่ายศัตรมีกองกำลังจำนวนถึง ๙๕๐ คน จัดทัพมาพร้อมอาวุธครบมือ เดออกมาจากนครมะกะฮ 

ส่วนฝ่ายศาสดา(ศ)มีกองกำลังแค่เพียง ๓๑๓ คนได้เดินทางออกจากมะดีนะฮ ทั้งสองกองทัพมาเผชิญหน้ากันในพื้นที่ที่มีชื่อเรียกว่า  “บะดัร” เนื่องจากกองกำลังของมุสลิมมีจำนวนน้อยกว่า ทำให้อุตบะฮกล่าวว่า พวกเจ้ามีจำนวนน้อยกว่ามิคู่ควรที่จะรบกับเราให้พวกเจ้าส่งหัวหน้าของพวกเจ้ามาสู้กับพวกเราตัวต่อตัวจะดีกว่า

ท่านศาสดา (ศ) ส่งท่านอิมามอะลี ท่านฮัมซะฮ และท่าอุบัยดะฮ ออกไป ท่านอิมามอะลีสู้กับวะลีด ท่านฮัมซะฮสู้กับชัยบะฮ ส่วนท่านอุบัยดะฮสู้กับอุตบะฮ  ในสนามรบทั้งสามรบกับศัตรูอย่างกล้าหาญจนฝ่ายอิสลามได้รับชัยชนะ

 

อิมามาอาลีใน สงครามอุฮุด

บรรดาพวกมุชริกมีความเจ็บแค้นเป็นอย่างมาก หลังจากประสบความพ่ายแพ้ในสงครามบะดัร ก็ได้คิดวางแผนจะจู่โจมฝ่ายมุสลิมเพื่อล้างแค้น จึงได้เคลื่อนทัพ จนมาถึงภูเขาอุฮุด   และพวกมุชริกได้เตรียมกองพลถึง๕๐๐๐นาย ที่จะเผชิญหน้ากับฝ่ายของศาสดามุฮัมมัด ส่วนฝ่ายของมุสลิมก็มีกองกำลังอยู่ก็ไม่น้อย  ฝ่ายมุสลิมวางยุทธศาสตร์ในการรบครั้งนั้นด้วยการขั้นตีวงลอ้มภูเขาอุฮุดเพื่อไม่ให้ศัตรูบุกโจมตีโอบทางด้านหลังของภูเขา

   สงครามเริ่มขึ้นโดยทหารฝ่ายศัตรูควบม้ามุ่งมาหาท่านฎอลฮะฮ บิน อะบีฎอลฮะฮ และท้าทายให้สู้รบแบบตัวต่อตัว แต่ไม่มีใครกล้า ท่านอิมามอะลี จับดาบเดินไปตามคำท้าทาย    ทหารผู้นั้นกล่าวว่า…” ข้ารู้อยู่แก่ใจแล้วว่าคงไม่มีใครกล้าหาญจะประมือตัวต่อตัวกับข้าหรอก นอกจากเจ้าเท่านั้น โอ้อะลี” 

  ทันใดนั้นทหารผู้นั้นได้เอาดาบฟันอิมามอะลี แต่ท่านอิมามอะลีได้ปกป้องรับด้วยโล่เอาไว้ได้ และแล้วอิมามอะลีได้เอาดาบฟันไปที่ศรีษะของทหารผู้นั้น จนตกลงพื้นดินและเสียชีวิตทันที 

      ต่อมา มุเศาะอับ พี่ชายของฎอลฮะฮ ได้จับดาบสู้กับอิมามอะลี แต่แล้วเขาก็ถูกฟันที่เท้าและตายในสนามรบ และใครเข้ามาสู้รบกับท่านอิมามอะลี ก็จะได้รับความตายกลับคืนไป.

       นี่คือพลานุภาพของกองกำลังมุสลิมเหนือพวกมุชริกในเวลานั้น แต่ทว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้นในสงครามอุฮุด คือชัยชนะเป็นของฝ่ายศัตรู เนื่องจากทหารบางกลุ่มของฝ่ายมุสลิมที่เฝ้าดูอยู่บนภูเขาอุฮุด ได้หลงใหล ลโมบต่อทรัพย์สินในสงคราม จึงได้เททะลักกันลงมาจากภูเขาเพื่อรอรับส่วนแบ่งทรัพย์สินที่ยึดได้จากสงคราม จนทำให้ฝ่ายศัตรูตะวัดหลัง กลับขึ้นสู่ภูเขาซึ่งเป็นยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการที่เอาชนะฝ่ายมุสลิมในครั้งนั้น จนทำให้ ฝ่ายมุชริกได้ฆ่าและสังหารฝ่ายมุสลิมไปจำนวนมาก 

      อิมามอะลีได้ยืนหยัดต่อสู้เคียงบ่าเคียงใหล่กับท่านศาสดา(ศ) ท่านอิมามอะลีจะปกปอ้งท่านศาสดาสุดชีวิต จนกระทั้งอิมามอะลีได้รับบาดแผลจากการสู้รบถึง ๙๐ บาดแผลและจากเหตุการณ์ครั้งนั้นญิบรอฮีลได้กล่าวว่า

…” ไม่มีดาบใด(ที่จะยิ่งใหญ่) นอกจากเป็นดาบซุลฟิกอร และไม่มีชายหนุ่มใด(ที่จะยิ่งใหญ่) นอกจากท่านอะลี”

ญิบรอฮีลได้กล่าวว่า…”โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ ท่านไม่เห็นการเสียสละของชายผู้ยิ่งใหญ่ เช่น อะลีดอกหรือ?”

ท่านศาสดากล่าวว่า..” แท้จริงฉันมาจากเขา และเขามาจากฉัน”

ญิบรอฮีลกล่าวต่อว่า…”และฉันมาจากท่านทั้งสอง”

 

สงครามคอนดัก

สงครามครั้งนี้บรรดาพวกมุชริกได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยทิ้งความขัดแย้งภายในของพวกเขา แล้วมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านฝ่ายอิสลาม และพวกเขาถือว่าอิสลามและมุสลิมคือศัตรูหมายเลขหนึ่งของพวกเขา พวกมุชริกได้ให้การสนับสนุนกันและกันทั้งทรัพย์สินและกำลังพล ดังนั้นพวกเขาเดินทางและยกทัพกันมายังเมืองมะดีนะฮหมายที่จะขยี้อิสลามและมุสลิมใหสิ้นซาก  

   ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ปรึกษาหารือกับบรรดาศอฮาบะฮในการรับมือกับพวกมุชริกในสงครามครั้งนั้น ต่างคนก็ได้แสดงทัศนะในการสู้รบและแนะนำยุทธวิธีต่างๆ แต่แล้วทุกคนได้ยอมรับทัศนะของท่านซัลมาน ฟัร ซี

   ซัลมาน ฟัรซีได้กล่าวว่า “ พวกเราต้องขุดหลุมให้รอบๆ เพื่อไม่ให้ศัตรูจู่โจมเข้ามายังเรา และไม่สามารถจะเข้าถึงฐานทัพและเมืองมะดีนะฮของพวกเราได้”

    ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เห็นด้วยกับยุทธิวิธีที่ท่านซัลมาน ฟัรซีนำเสนอ ดังนั้นท่านศาสดา(ศ)ได้ลงมือขุดหลุม พร้อมกับบรรดาสาวก เมื่อกองทัพของฝ่ายศัตรูได้เข้ามาเผชิญหน้ากับฝ่ายมุสลิม ซึ้งพร้อมที่จะทำสงคราม   ทางฝ่ายมุชริกได้ส่ง ทหารชายจกรรย์ ชื่อว่า อัมรุ บิน อับดิวัด เป็นนักสู้ที่มีชื่อเสียงมากของอาหรับ และเป็นคนที่แข็งแรง ร่างกายกำยำทีเดียว

    มีเพียงคนเดียวของฝ่ายมุสลิมที่หาญกล้าในการจะสู้กับอัมรุ อับดุวัด คือ ท่านอิมามอะลี(อ) เมื่อท่านอะลีเดินเข้าไป อัมรุ อับดุวัดกล่าวว่า “ถอยไป  ข้าไม่ปรารถนาจะฆ่าเจ้า”

อิมามอะลี(อ).กล่าวว่า.” เจ้าเคยให้สัญญากับพระเจ้าของเจ้าไว้ไม่ใช่หรือว่า ถ้ามีใครจากกุเรชได้ขอต่อเจ้า ในสิ่งที่ต้องการสองประการ เจ้าจะให้เขาหนึ่งอย่าง”

อัมรุ อับดุวัดกล่าวว่า..”ใช่ ข้าสัญญาไว้  เจ้าต้องการอะไร?”

อิมามอะลี” ข้าเชิญชวนเจ้าสู่อัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์  และต่ออิสลาม”

อัมรุ อับดุวัด “ข้าไม่ต้องการสิ่งนั้น”

อิมามอะลี “นั้นเตรียมพร้อมได้เลย(ที่จะตาย)”

อัมรุ อับดุวัด “กลับไปเสียเถอะ ฉันกับบิดาของเจ้าเคยดีต่อกัน ข้าไม่ต้องการจะฆ่าเจ้า”

อิมามอะลี “ แต่ทว่าข้าปรารถนาที่จะฆ่าเจ้า ขอสาบานต่ออัลลอฮ ตราบเท่าที่เจ้ายังได้ดื้อดึงต่อการยอมรับสัจธรรม”

อัมรุ อับดุวัด ได้ลงจากหลังม้า แล้วเอาดาบฟันไปที่อิมามอะลี แต่อิมามอะลีใช้ดาบรับแล้วฟันสวนกัน และทำให้ดาบของอัมรุ อับดุวัด ตกลงพื้น  ดังนั้นอิมามอะลีได้ฟันไปที่ขาของเขา และได้สังหารเขา และได้ตายในที่สุด

   บรรดาสาวกของศาสดาเมื่อได้เห็นชัยชนะที่อิมามอะลีได้สังหาร อัมรุ อับดุวัด พวกเขาได้วิ่งกันเข้ามาหาท่านอิมามอะลี และแสดงความดีใจต่อชัยชนะครั้งนั้น(อิรชาด เชคมุฟีด หน้า๔๔-๔๕)

 

สงครามฆัยบัร

 ครั้งเมื่อกองทัพของท่านศาสดาและทหารของมุสลิมได้มาถึงใกล้กับที่พักและป้อมปรากาฬของชาวยิว เรียกว่า”ฆัยบัร”นั้น  ท่านศาสดาได้รับสั่งให้ทุกคนหยุด และรับสั่งให้ทุกคนอ่านบทดุอาขอพรต่อองค์อัลลอฮและให้จัดที่พัก ณ สถานที่นั้น

   ท่านอิมามอะลี ได้ประสบกับปัญหาอย่างหนึ่งในขณะนั้น คือท่านเจ็บตาเป็นอย่างมาก ไม่สามารถจะออกไปทำสงครามได้ ดังนั้นศาสดาได้เรียกอะบูบักรมา และมอบธงให้กับอบูบักร ดังนั้นอบุบักรกับทหารกลุ่มหนึ่งได้มุ่งหน้าไปยังสนามรบ แต่ทว่ากลับมา ในสภาพที่ปราชัย ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายศัตรูได้  และยังทำให้มุสลิมมีอาการขวัญหนีดีผ่อ ตกใจ และกลัว

   ท่านศาสดากล่าวว่า…

“ ธงแห่งชัยชนะนี้ ไม่ใช่เป็นของพวกเขา(ศอฮาบะฮ) ไปเรียกอะลี มาหาฉันเดียวนี้”

 

ท่านศาสดากล่าวอีกว่า…

” จงนำเขาผู้นั้นมาหาฉันเดียวนี้  แล้วพวกท่านจะเห็นว่า เขาผู้เป็นผู้ที่อัลลอฮและศาสดารักเขา และเขารักอัลลอฮและรักศาสดา เขาจะนำธงแห่งชัยชนะสู่อิสลาม และเขาไม่มีวันหนีทัพอย่างเด็ดขาด “

  ดังนั้นบรรดาศอฮาบะฮได้นำท่านอิมามอะลีมายังท่านศาสดา “  ท่านศาสดากล่าวว่า “เจ้าเป็นอะไรไป ไม่สบายใจเรื่องอะไรโอ้ อาลี?”

อิมามอะลีกล่าวว่า “ข้ารู้สึกปวดหัวและเจ็บดวงตามาก”

ดังนั้นท่านศาสดาได้อ่านดุอา และได้เอาน้ำลายของท่านแตะไปที่ดวงตาและศรีษะของอะลี ทันใดนั้นท่านก็ได้หายจากความเจ็บและความปวด   ท่านอิมามอะลีได้เอาธงไว้ในมือ และเตรียมพร้อมฟังคำสั่งของศาสดาในการสู้รบกับฝ่ายศัตรู

ท่านศาสดากล่าวว่า…” โอ้อะลี ญิบรออีลจะร่วมรบกับเจ้าด้วย ชัยชนะอยู่กับเจ้าแต่เพียงผู้เดียว พระองค์อัลลอฮทรงทำให้หัวใจของพวกเขารู้สึกกลัวต่อเจ้า  เพราะว่าพวกเขาได้พบสิ่งที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ของพวกเขาว่า.. “นามของผู้ที่จะทำให้พวกเขา(ยะฮูดี)ปราชัย ชื่อว่า อีลียา(คืออะลี ในภาษาอาหรับ)” 

    เมื่อเจ้าไปถึงยังพวกยิวเหล่านั้น บอกพวกเขาว่า ฉันชื่ออะลี ด้วยพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ พวกเขาจะหวาดกลัวและไม่กล้าเผชิญหน้า”(อีรชาด ๕๗)

   ท่านอิมามอะลีได้มุ่งสู่สมรภูมิรบ และเป็นคนแรกที่เปิดฉากรบกับทหารคนหนึ่งของพวกยะฮูดีย์มีชื่อว่ามัรฮับ ฆัยบะรี  เขาเป็นทหารทรงพลังและเข้มแข็งมาก เป็นนักสู้และนักรบของชาวยิวที่มีความโดดเด่นและโด่งดัง อิมามอะลีได้จู่โจมเข้าหาทหารผู้นั้น  แล้วอิมามอะลีกล่าวบทกลอนหนึ่งว่า..

 

 “ ข้าคือ ผู้ที่มารดาของข้าได้ตั้งชื่อว่า ฮัยดัร”

เมื่มัรฮับได้ยินสิ่งทีอิมามอะลีกล่าว  เขาได้นึกถึงคำพูดของบรรพบุรุษผู้รู้ของเขา ที่กล่าวกับเขาว่า “ท่านจะเอาชนะกับทุกคนได้หมดในการต่อสู้ ยกเว้นผู้หนึ่งที่มีชื่อว่าฮัยดัร และท่านจะถูกฆ่าอย่างแน่นอน”

  มัรยับต้องการจะหนีทับ ทันใดนั้นชัยฎอนเข้ามายุแย่ว่า เจ้ารู้ได้อย่างไรว่าฮัยดัรที่บรรพบุรุษผู้รู้ได้ทำนายไว้ จะเป็นคนนี้ เพราะคนที่ชื่อฮัยดัรมีมากมายในโลก  ดังนั้นเขาได้มุ่งเข้าไปสู่สนามรบอีกครั้ง เขาได้ฟันไปที่อิมามอะลีจนท่านได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ทว่าท่านอะลี ได้ใช้คมดาบนั้นสังหารเขาในที่สุด เมื่อชาวยิวได้เห็นเช่นนั้น ต่างก็ได้วิ่งเข้าไปหลบอยู่ในป้อมปรากาฬฆัยบัรแล้วปิดประตูฆัยบัรนั้น แต่ท่านอิมามอะลีได้เปิดประตูฆัยบัรออก ซึ่งประตูนั้นจะต้องใช้คนเปิดถึงยี่สิบคนทีเดียว แล้วฝ่ายมุสลิมบุกเข้ามาโจมตีพวกยิว  และในที่สุดพวกยิวได้จำนน ชัยชนะเป็นของฝ่ายมุสลิม(บิฮารุลอันวารเล่ม ๒๑/๑๖)

 

 

You may also read!

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

อย่าโอหัง

  ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِه อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง (more…)

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu