สะกอกีย์ ช่างตีเหล็กผู้พากเพียร

In เด็ก

นักปราชญ์ท่านหนึ่งมีชื่อว่า ซิรอญุดดีน อัส สะกอกีย์  (Seraj al-Din Sakaki)  เป็นหนึ่งในนักวิชาการศาสนาอิสลามและเป็นปราชญ์ด้านภาษาอาหรับ ท่านสะกอกีย์ อาศัยอยู่ในยุคการปกครองของ Khwarazm Shahs ของประเทศอิหร่าน

เดิมสะกอกีย์ เป็นช่างตีเหล็ก อยู่มาวันหนึ่ง เขาทำหีบเหล็กขนาดเล็กและละเอียดอ่อนมากอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งการจะทำสิ่งนี้ได้ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากในการสร้าง เมื่อทำเสร็จนำมันไปเป็นของขวัญมอบให้สุลต่านในเวลานั้น สุลต่านและคนรอบข้างมองดูงานของเขาอย่างระมัดระวังและยกย่องในฝีมือและความอุตสาหะของเขา

ในขณะที่เขากำลังฟังคำชื่นชมอยู่นั้น มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามา ทุกคนก้มหัวทำความเคารพอย่างนอบน้อม ทุกคนต่างให้เกียรติและให้ความสำคัญกับชายคนนั้น จนทำให้สะกอกีย์รู้สึกประทับใจและกล่าวถามคนรอบข้างว่า: เขาคือใครกัน ? พวกเขากล่าวตอบว่า เขาเป็นนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้เป็นอย่างมาก

ผู้คนให้ความสนใจกับผู้รู้ที่เดินเข้ามาและหันหลังให้กับงานศิลป์ของเขา  สะกอกีย์รู้สึกเสียใจ จึงตัดสินใจว่าจะไปเรียนเพื่อเป็นนักปราชญ์ให้ได้  ซึ่งขณะนั้นเขาอายุ 30 ปีแล้ว เขาเดินทางไปโรงเรียนแห่งหนึ่ง เข้าไปโรงเรียนและพูดกับครูว่า : ฉันต้องการเรียนรู้วิทยาการทั้งหมดของโรงเรียนนี้ ครูพูดว่า : อายุเท่านี้ ฉันไม่คิดว่าคุณจะสามารถทำสำเร็จได้ตามที่ตั้งใจได้

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะอยากจะเรียนครูอนุญาติให้เขาเข้าเรียน สะกอกีย์ตั้งใจเรียนมาก แต่ความจำและพรสวรรค์ของเขาในเรื่องเรียนแย่มากจนวันหนึ่งครูบอกเขาว่า : เจ้าจงหลักนิติศาสตร์อิสลามนี้ไว้ หลักที่กล่าวว่า ((หนังของสุนัขจะถูกทำให้สะอาดได้โดยการฟอกหนัง)) เขาอ่านมันหลายครั้งและท่องจำหลังดังกล่าวอย่างแข็งขัน แต่ในวันรุ่งขึ้นเขากลับพูดสิ่งนี้ต่อหน้าอาจารย์ และเพื่อนนักเรียนว่า : (สุนัข กล่าวว่า: ผิวหนังครูจะถูกทำให้บริสุทธิ์ได้ด้วยการฟอกหนัง!)) ครูและนักเรียนต่างก็หัวเราะเยาะเย้ยเขา

สะกอกีย์ ตั้งใจเรียนเป็นเวลาสิบปีแต่ก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ใด ๆ จนเขารู้สึกเบื่อและท้อแท้ จึงเดินทางมุ่งหน้าปลีกวิเวกเขาเดินไปท่ามกลางภูเขาและทะเลทรายเพื่อกลับบ้านของตัวเอง  เขาเดินในท้องทะเลทรายจนเหนื่อย เข้าพักในถ้ำแห่งหนึ่งในถ้ำมีน้ำหยุดจากเพดานถ้ำลงสู่หินเบื้องล่าง  เขา เห็นน้ำหยดจากเพดานถ้ำลงสู่ก้อนหินด้านล่าง จนหินด้านล่างเป็นรู

เขามองและครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพูดกับตัวเองว่า : ใจของข้าไม่ได้แข็งไปกว่าหินก้อนนี้ ถ้าอดทนกว่านี้คงจะประสบความสำเร็จในที่สุดอย่างแน่นอน  หลังจากพูดเช่นนี้เขาก็กลับไปโรงเรียนและเขาตั้งใจศึกษาอย่างจริงจังและอดทนเป็นเวลาถึง 40 ปีจนกระทั่งมาถึงจุดที่นักวิชาการในยุคของเขายกย่องให้เขาเป็นนักปราชญ์แห่งศาสตร์ด้านภาษาอาหรับและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคนิคภาษาอาหรับและวรรณกรรมอาหรับ

เขาเขียนหนังสือชื่อ Miftah al-Uloom ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับศาสตร์ภาษาอาหรับมี 12 เล่มด้วยกับ ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นเอกทางภาษาศาสตร์และวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่เล่มหนึ่งของโลกจนถึงปัจจุบัน

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความอดทนและพยายามเท่านั้นที่นำมนุษย์สู่ความสำเร็จ

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu