สตรีในมุมมองของอิสลาม

In ผู้หญิง

หนึ่งในหัวข้อสำคัญในสังคมและวัฒนธรรม คือการศึกษาและตรวจสอบมุมมอง ของศาสนาและสังคมที่มีต่อเรื่องราวของสตรี,ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์เราอยู่ได้หลายประการ

1.ในประเทศไทยมีชาวมุสลิมและสังคมของชาว มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมของพุธ,ซึ่งในการพบปะคบค้าและการสื่อสารกันระหว่างสตรีมุสลิมและสตรีชาวพุธนั้นอาจจะเกิดคำถามขึ้นว่า,ศาสนาและสังของพวกเขามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับพวกเธอ? การที่เราได้คำตอบของปัญหานี้จะทำให้มุสลิมะได้รู้ว่า,แท้จริงแล้วอิสลามมีทัศนะอย่างไรต่อเหล่าสตรีและเช่นเดี่ยวกันจะเป็นที่เข้าใจแก่ศาสนิกชนท่านอื่น ๆ

2.อิสลาม,ในฐานะที่เป็นศาสนาแห่งโลกและเป็นศาสนาที่มีความเป็นนิรันดรกาลจึงมีหน้าที่ตอบสนองทุก ๆ ความต้องการของมนุษยชาติในทุกยุคและทุกสมัย,สภาพในทางเศรฐกิจ,การเมืองและสังคมของสตรีได้แตกต่างไปจากยุก่อนมาก,ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่ทำให้สังคมมีความจำเป็นต่อบทบาทของสตรีมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของสตรีที่จะถามต่ออิสลามว่าอิสลามได้แนะนำสตรีไว้อย่างไร?และสตรีมีสถานะภาพ ,หน้าที่ อย่างไร?เมื่อถูกนำมาเปรียบเทียบกับบรรดาบุรุษ 

ในยุคนี้สตรียังมีบทบาทเพียงแต่ภายในครอบครัวการเป็นแม่ที่ดีหรือภรรยาที่สมบูรณ์แบบกระนั้นหรือ? หรือว่าสตรีสามารถที่จะมีบทบาทอื่น ๆได้ อีกในสังคมของตน

ท่านอิมามโคมัยนีผู้ก่อตั้งรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้กล่าวถึงสถานะภาพของสตรีและทัศนะที่เราควรมีต่อบรรดาสตรีในยุคนี้ว่า

สตรีจะต้องกล้าหาญ,สตรีจะต้องมีบทบาทอันเป็นหลักสำคัญในประเทศชาติ,สตรีคือผู้ที่จะให้กำเนิดมนุษย์ขึ้นมา

ความกล้าหาญ,การร่วมกับมีบทบาทเพื่อการพัฒนาประเทศชาติและการสร้างพลังบุคคลากที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคมนั้นเป็นบทบาทของสตรีตามคำสั่งสอนของท่านอิมามโคมัยนี

เช่นเดียวกันท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า สตรีคือรูปธรรมแห่งแรงบรรดาลใจที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติเพราะสตรีคือผู้ที่อบรมเหล่าสตรีและบุรุษผู้มีเกียติทั้งหลาย

ในทัศนะของอิสลามทั้งสตรีและบุรุษจะได้รับผลตอบแทนต่อผลการงานที่ดี(อะมัลที่ศอเละห์)ของพวกเขาในขณะเดียวกันในความเป็นบุรุษหรือศตรีนั้นได้หามีผลต่อค่าของการได้รับผลตอบแทนเนื่องจากการงานที่ดีงามของพวกเขาไม่

«انی لا اضیع عمل عامل منکم من ذکر او انثی

แท้จริงข้าจะไม่ให้สูญเสียซึ่งผลงานของผู้ที่ปฏิบัติคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าไม่ว่าเขาจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม .ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน/195

ในทัศนะของอิสลาม บุรุษและสตรีจะต้องแสวงหาความรู้อย่างแตกฉานในหนทางแห่งวิชาความรู้และแนวทางของจิตวิญญานอย่างเท่าเทียมกัน และทั้งสองมีหน้าที่ ที่จะต้องแสวงหาสองสิ่งนี้อย่างเต็มความสามารถ

ท่านศาสดาได้กล่าวว่า

«طلب العلم فریضة علی کل مسلم و مسلمة»

การแสวงหาวิชาความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง

ดังตัวอย่างที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าอิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาและวิชาความรู้ของโดยเฉพาะในหมู่สตรีเราสามารถมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์อิสลามได้ว่ามีเหล่าสตรีที่ถูกเอ่ยนามในฐานะผู้รู้และนักรายงานฮาดิษและนามของสตรีเหล่านั้นถูกจารึกไว้ในตำราต่าง ๆ แห่งประวัติศาสตร์และรวมไปถึงบทฮาดิษ

ท่านศาสดาอิสลามได้กล่าวถึงบรรดานักรายงานฮาดิษว่า

«من ادّی الی امتی حدیثا لتقام به سنه او تثلم به بدعه فهو فی الجنه»

ใครก็ตาม(ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรี)ที่ได้เผยแพร่ฮาดิษของเราแก่ประชาชาติและเป็นนักรายงานฮาดิษ(วัจนะ)ของเราเพื่อที่จะรักษาซุนนะห์ใด ๆ จากแบบอย่างของเรา แท้จริงแล้วตำแหน่งของพวกเขาคือสรวงสวรรค์

เฉพาะนักรายงานฮาดิษที่เป็นสตรีในสมัยของท่านศาสดาซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกรายชื่อของพวกนางเอาไว้เป็นจำนวนถึง 70 คนซึ่งสตรีเหล่านี้จะคอยติดตามฟังการบรรยายของท่านศาสดาที่มัสยิดและ ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อรับฟังคำสอนสั่งจากท่านศาสดาและเล่าขานไปยังผู้อื่น จากจำนวนดังกล่าวนี้ยั่งมีสตรีรายงานฮาดิษของท่านอิมามอาลี อีกเช่นเดียวกันเช่น อุมมุซาลามะ , อัสมา บินติ อามัยส์

และเช่นเดียวกัน ยังคงมีจำนวนนักรายงานฮาดิษสตรีที่อยู่ในยุคสมัยของบรรดาอิมามมะอฺซูมีนท่านอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากของพวกนางนั้น ล้วนเป็นผู้รู้ที่เข้าใจในเรื่องของอัลกุรอานรวมทั้งเหล่าบรรดานักสาธยายและผู้รู้ในแขนงนิติศาสตร์ของศาสนา(ฟะกิฮ) และพวกนางบางคนเป็นนักเผยแพร่ศาสนาของพระองค์และบางท่านก็เป็นบรรดาฮาฟิซผู้ที่สามารถท่องจำอัลกุรอ่านได้ทั้งเล่ม

ดังเช่นนางฟิฎเฎาะห์ สาวใช้ของท่านหญิงฟาติมะฮ ซะห์รอ ซึ่งนางเป็นสตรีผู้มีความรู้คนหนึ่งที่ท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่มในระดับขั่นที่นางจะใช้อายะต่าง ๆ จากอัลกุรอ่านในการสนทนาในชีวิตประจำวันของนาง

ซึ่งตามประวัตินางเป็นบุตรสาวของราชาจากอินเดียซึ่งครั้งหนึ่งนางถูกจับเป็นเชลยหลังสงครามจนได้รับโอกาสในการรับใช้ครอบครัวของศาสดาและได้อยู่ในบ้านของท่านหญิงฟาติมะซะห์รอตลอดมา ยกตัวอย่างการสนทนาโดยภาษาอัลกุรอ่านของท่านฟิฎเฎาะห์

ครั้งหนึ่งนางได้พลัดออกจากกองคาราวานฮัจญ์และกำลังเดินในทะเลทรายอยู่ตามลำพังในขณะนั้นมีนักรายงานคนหนึ่งได้พบนางและถามนางว่า “นางเป็นใคร?” นางได้กล่าวตอบว่า

سلام فسوف تعلمون

“จงกล่าวสลาม  ก่อนที่ท่านจะถามสิ่งใด”

 

นักรายงานคนนั้นจึงได้กล่าวสลามและถามต่อว่านางมาจากไหน? นางได้ตอบว่า

يُنادَوْنَ مِنْ مَكانٍ بَعِيدٍ

ชนเหล่านี้จะถูกร้องเรียกจากสถานที่อันไกล (นางมาจากทางอันแสนไกล) .ซูเราะฮ์ฟุซซิลัต/44

 

นักรายงานถามต่อว่าจะเดินทางไปสู่ ณ ที่แห่งใด? นางตอบว่า

وَ لِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا

(และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น(การทำฮัจญ์)อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้)นางต้องการที่จะไปทำประกอบพิธีฮัจญ์ . ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน/95

 

นักรายงานจึงถามว่านางต้องการอาหารหรือไม่? นางตอบว่า     

ما جَعَلْناهُمْ جَسَداً لا يَأْكُلُونَ الطَّعام َ

 และเรามิได้ทำให้พวกเขามีร่างกายที่ไม่ต้องการอาหาร (ใช่ฉันกำลังหิว)ซูเราะฮ์

อัมบียาอ์/8

 

หลังจากที่นางได้รับประทานอาหารเสร็จแล้ว นักรายงานคนนั้นได้บอกนางว่าจงรีบเร่งเดินทางต่อเพื่อที่จะได้ไปสมทบกับกองคาราวานให้ทัน นางตอบว่า 

لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلَّا وُسْعَها

 อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น( ฉันทำได้เพี่ยงเท่าที่ความสามารถของตัวฉันมีอยู่เท่านั้น)ซูเราะฮ์บะเกาะเราะห์/286

 

หลังจากนางได้ขึ้นบนหลังม้าแล้วนางได้กล่าวอายะดังนี้

سُبْحانَ الَّذِي سَخَّرَ لَنا هذا

มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงให้พาหนะนี้เป็นความสะดวกแก่เรา ( ขอขอบคุณยังพระองค์(และขอความปลอดภัย))ซูเราะฮ์อัซซุครุฟ/13

เมื่อถึงกองคาราวานนั้นแล้วนักรายงานได้ถามนางว่า มีผู้คนที่นางรู้จักอยู่ในคาราวานนี้บ้างไหม ? นางได้อ่านอายะจากอัลกุรอ่านที่มีชื่อของดาวูด, มูฮัมหมัด , ยะฮยา และมูซา

 นักรายงานถามต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้คือใครกัน?นางตอบว่า 

الْمالُ وَ الْبَنُونَ زِينَةُ الْحَياةِ الدُّنْيا

 

ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้( (พวกเขาคือบุตรของฉัน) ซูเราะฮ์ กะห์ฟิ /46

หลังจากที่นักรายงานคนนั้นได้ส่งนางจนถึงมือบุตรชายของนาง,แล้วนางได้กล่าวแก่บุตรทั้งหลายของนางว่า

يا أَبَتِ اسْتَأْجِرْهُ، إِنَّ خَيْرَ مَنِ اسْتَأْجَرْتَ الْقَوِيُّ الْأَمِین

 โอ้คุณพ่อจ๋า! จ้างเขาไว้ซิแท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตว์และด้วยกับอายะนี้ (นางได้ขอบุตรของนางตอบแทนเขา) ซูเราะฮ์ ก็อศ็อศ/26

 บรรดาบุตรของนางได้กล่าวขอบคุณและมอบรางวัลอย่างมากมายให้กับนักรายงานผู้นั้น

นักรายงานคนนั้นได้ถามบุตรของนางว่าสตรีนางนี้คือผู้ใด? ไฉนจึงสามารถเข้าใจและท่องจำอัลกุรอานได้มากเช่นนี้? พวกเขากล่าวตอบว่า มารดาของเราคือฟิฎเฎาะห์สาวรับใช้ของท่านหญิงฟาติมะห์ ซะห์รอ (ซ)และนางได้เรียนรู้อยู่กับกุรอานเป็นเวลา 20 กว่าปีมาแล้ว

นี่คือตัวอย่างบทบาทของบรรดาสตรีในประวัติศาสตร์แห่งยุคก่อน เช่นเดียวกันกับสตรีในยุคปัจจุบันสตรีจากครึ่งหนึ่งของประชากรบนโลกนี้ยั่งคงมีบทบาทอยู่ในสังคมไม่ว่าจะเป็นบทบาททางด้านลบอันเป็นโทษหรือบทบาทที่ดีงามและมีผลในทางด้านบวก

สังคมใดที่บรรดาสตรีมีความรู้ความสามารถ และมีศาสนามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ก็จะสามารถเป็นพลังสำคัญสู่การขับเคลื่อนยังความสมบูรณ์แบบของสังคมได้ และอาจจะสร้างพลังที่ดีในสังคมมากกว่าบรรดาบุรุษก็ได้และในทางกลับกันสตรี ก็อาจมีบทบาทในทางลบอันก่อให้เกิดเป็นผลเสียต่อสังคมได้มากเช่นเดียวกัน 

 

     

 

You may also read!

ความรู้ที่แท้จริง

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง

Read More...

 อิมามอาลีกับความสมถะ

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับท่านอิมามอะลีว่า (more…)

Read More...

คนมีปมด้อย

อิมาม ซอดิก (อ) กล่าวว่า ما مِنْ رَجُل تَجَبَّرَ أَؤ تَکَبَّرَ إلاّ لِذِلَّه یَجِدُها قِی نَفْسِهِ “ไม่มีคนใดที่แสดงความโอ้อวดและแสดงตนเหนือผู้อื่น นอกเสียจากว่าเขาพบปมด้อยที่มีในตัวของเขาเอง คำอธิบาย  มีผลสำรวจและคำยืนยันจากนักจิตวิทยาว่า ต้นตอของการโอ้อวดและการยกตนเหนือกว่าผู้อื่นมาจากปมด้อย  เป็นปมด้อยที่ผู้ที่ประสพกับปัญหาทางจิตนี้ต้องทนทุกข์ทรมาน  เพื่อเป็นการชดเชยและปกปิดปมด้อยของตัวเองจึงแสดงตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจยิ่ง 

Read More...

Leave a reply:

Your email address will not be published.

Mobile Sliding Menu