หนึ่งในหัวข้อสำคัญในสังคมและวัฒนธรรม คือการศึกษาและตรวจสอบมุมมอง ของศาสนาและสังคมที่มีต่อเรื่องราวของสตรี,ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์เราอยู่ได้หลายประการ
1.ในประเทศไทยมีชาวมุสลิมและสังคมของชาว มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมของพุธ,ซึ่งในการพบปะคบค้าและการสื่อสารกันระหว่างสตรีมุสลิมและสตรีชาวพุธนั้นอาจจะเกิดคำถามขึ้นว่า,ศาสนาและสังของพวกเขามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับพวกเธอ? การที่เราได้คำตอบของปัญหานี้จะทำให้มุสลิมะได้รู้ว่า,แท้จริงแล้วอิสลามมีทัศนะอย่างไรต่อเหล่าสตรีและเช่นเดี่ยวกันจะเป็นที่เข้าใจแก่ศาสนิกชนท่านอื่น ๆ
2.อิสลาม,ในฐานะที่เป็นศาสนาแห่งโลกและเป็นศาสนาที่มีความเป็นนิรันดรกาลจึงมีหน้าที่ตอบสนองทุก ๆ ความต้องการของมนุษยชาติในทุกยุคและทุกสมัย,สภาพในทางเศรฐกิจ,การเมืองและสังคมของสตรีได้แตกต่างไปจากยุก่อนมาก,ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่ทำให้สังคมมีความจำเป็นต่อบทบาทของสตรีมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของสตรีที่จะถามต่ออิสลามว่าอิสลามได้แนะนำสตรีไว้อย่างไร?และสตรีมีสถานะภาพ ,หน้าที่ อย่างไร?เมื่อถูกนำมาเปรียบเทียบกับบรรดาบุรุษ
ในยุคนี้สตรียังมีบทบาทเพียงแต่ภายในครอบครัวการเป็นแม่ที่ดีหรือภรรยาที่สมบูรณ์แบบกระนั้นหรือ? หรือว่าสตรีสามารถที่จะมีบทบาทอื่น ๆได้ อีกในสังคมของตน
ท่านอิมามโคมัยนีผู้ก่อตั้งรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้กล่าวถึงสถานะภาพของสตรีและทัศนะที่เราควรมีต่อบรรดาสตรีในยุคนี้ว่า
สตรีจะต้องกล้าหาญ,สตรีจะต้องมีบทบาทอันเป็นหลักสำคัญในประเทศชาติ,สตรีคือผู้ที่จะให้กำเนิดมนุษย์ขึ้นมา
ความกล้าหาญ,การร่วมกับมีบทบาทเพื่อการพัฒนาประเทศชาติและการสร้างพลังบุคคลากที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคมนั้นเป็นบทบาทของสตรีตามคำสั่งสอนของท่านอิมามโคมัยนี
เช่นเดียวกันท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า สตรีคือรูปธรรมแห่งแรงบรรดาลใจที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติเพราะสตรีคือผู้ที่อบรมเหล่าสตรีและบุรุษผู้มีเกียติทั้งหลาย
ในทัศนะของอิสลามทั้งสตรีและบุรุษจะได้รับผลตอบแทนต่อผลการงานที่ดี(อะมัลที่ศอเละห์)ของพวกเขาในขณะเดียวกันในความเป็นบุรุษหรือศตรีนั้นได้หามีผลต่อค่าของการได้รับผลตอบแทนเนื่องจากการงานที่ดีงามของพวกเขาไม่
«انی لا اضیع عمل عامل منکم من ذکر او انثی
แท้จริงข้าจะไม่ให้สูญเสียซึ่งผลงานของผู้ที่ปฏิบัติคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าไม่ว่าเขาจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม .ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน/195
ในทัศนะของอิสลาม บุรุษและสตรีจะต้องแสวงหาความรู้อย่างแตกฉานในหนทางแห่งวิชาความรู้และแนวทางของจิตวิญญานอย่างเท่าเทียมกัน และทั้งสองมีหน้าที่ ที่จะต้องแสวงหาสองสิ่งนี้อย่างเต็มความสามารถ
ท่านศาสดาได้กล่าวว่า
«طلب العلم فریضة علی کل مسلم و مسلمة»
การแสวงหาวิชาความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง
ดังตัวอย่างที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าอิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาและวิชาความรู้ของโดยเฉพาะในหมู่สตรีเราสามารถมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์อิสลามได้ว่ามีเหล่าสตรีที่ถูกเอ่ยนามในฐานะผู้รู้และนักรายงานฮาดิษและนามของสตรีเหล่านั้นถูกจารึกไว้ในตำราต่าง ๆ แห่งประวัติศาสตร์และรวมไปถึงบทฮาดิษ
ท่านศาสดาอิสลามได้กล่าวถึงบรรดานักรายงานฮาดิษว่า
«من ادّی الی امتی حدیثا لتقام به سنه او تثلم به بدعه فهو فی الجنه»
ใครก็ตาม(ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรี)ที่ได้เผยแพร่ฮาดิษของเราแก่ประชาชาติและเป็นนักรายงานฮาดิษ(วัจนะ)ของเราเพื่อที่จะรักษาซุนนะห์ใด ๆ จากแบบอย่างของเรา แท้จริงแล้วตำแหน่งของพวกเขาคือสรวงสวรรค์
เฉพาะนักรายงานฮาดิษที่เป็นสตรีในสมัยของท่านศาสดาซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกรายชื่อของพวกนางเอาไว้เป็นจำนวนถึง 70 คนซึ่งสตรีเหล่านี้จะคอยติดตามฟังการบรรยายของท่านศาสดาที่มัสยิดและ ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อรับฟังคำสอนสั่งจากท่านศาสดาและเล่าขานไปยังผู้อื่น จากจำนวนดังกล่าวนี้ยั่งมีสตรีรายงานฮาดิษของท่านอิมามอาลี อีกเช่นเดียวกันเช่น อุมมุซาลามะ , อัสมา บินติ อามัยส์
และเช่นเดียวกัน ยังคงมีจำนวนนักรายงานฮาดิษสตรีที่อยู่ในยุคสมัยของบรรดาอิมามมะอฺซูมีนท่านอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากของพวกนางนั้น ล้วนเป็นผู้รู้ที่เข้าใจในเรื่องของอัลกุรอานรวมทั้งเหล่าบรรดานักสาธยายและผู้รู้ในแขนงนิติศาสตร์ของศาสนา(ฟะกิฮ) และพวกนางบางคนเป็นนักเผยแพร่ศาสนาของพระองค์และบางท่านก็เป็นบรรดาฮาฟิซผู้ที่สามารถท่องจำอัลกุรอ่านได้ทั้งเล่ม
ดังเช่นนางฟิฎเฎาะห์ สาวใช้ของท่านหญิงฟาติมะฮ ซะห์รอ ซึ่งนางเป็นสตรีผู้มีความรู้คนหนึ่งที่ท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่มในระดับขั่นที่นางจะใช้อายะต่าง ๆ จากอัลกุรอ่านในการสนทนาในชีวิตประจำวันของนาง
ซึ่งตามประวัตินางเป็นบุตรสาวของราชาจากอินเดียซึ่งครั้งหนึ่งนางถูกจับเป็นเชลยหลังสงครามจนได้รับโอกาสในการรับใช้ครอบครัวของศาสดาและได้อยู่ในบ้านของท่านหญิงฟาติมะซะห์รอตลอดมา ยกตัวอย่างการสนทนาโดยภาษาอัลกุรอ่านของท่านฟิฎเฎาะห์
ครั้งหนึ่งนางได้พลัดออกจากกองคาราวานฮัจญ์และกำลังเดินในทะเลทรายอยู่ตามลำพังในขณะนั้นมีนักรายงานคนหนึ่งได้พบนางและถามนางว่า “นางเป็นใคร?” นางได้กล่าวตอบว่า
سلام فسوف تعلمون
“จงกล่าวสลาม ก่อนที่ท่านจะถามสิ่งใด”
นักรายงานคนนั้นจึงได้กล่าวสลามและถามต่อว่านางมาจากไหน? นางได้ตอบว่า
يُنادَوْنَ مِنْ مَكانٍ بَعِيدٍ
ชนเหล่านี้จะถูกร้องเรียกจากสถานที่อันไกล (นางมาจากทางอันแสนไกล) .ซูเราะฮ์ฟุซซิลัต/44
นักรายงานถามต่อว่าจะเดินทางไปสู่ ณ ที่แห่งใด? นางตอบว่า
وَ لِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا
(และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น(การทำฮัจญ์)อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้)นางต้องการที่จะไปทำประกอบพิธีฮัจญ์ . ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน/95
นักรายงานจึงถามว่านางต้องการอาหารหรือไม่? นางตอบว่า
ما جَعَلْناهُمْ جَسَداً لا يَأْكُلُونَ الطَّعام َ
และเรามิได้ทำให้พวกเขามีร่างกายที่ไม่ต้องการอาหาร (ใช่ฉันกำลังหิว)ซูเราะฮ์
อัมบียาอ์/8
หลังจากที่นางได้รับประทานอาหารเสร็จแล้ว นักรายงานคนนั้นได้บอกนางว่าจงรีบเร่งเดินทางต่อเพื่อที่จะได้ไปสมทบกับกองคาราวานให้ทัน นางตอบว่า
لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلَّا وُسْعَها
อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น( ฉันทำได้เพี่ยงเท่าที่ความสามารถของตัวฉันมีอยู่เท่านั้น)ซูเราะฮ์บะเกาะเราะห์/286
หลังจากนางได้ขึ้นบนหลังม้าแล้วนางได้กล่าวอายะดังนี้
سُبْحانَ الَّذِي سَخَّرَ لَنا هذا
มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงให้พาหนะนี้เป็นความสะดวกแก่เรา ( ขอขอบคุณยังพระองค์(และขอความปลอดภัย))ซูเราะฮ์อัซซุครุฟ/13
เมื่อถึงกองคาราวานนั้นแล้วนักรายงานได้ถามนางว่า มีผู้คนที่นางรู้จักอยู่ในคาราวานนี้บ้างไหม ? นางได้อ่านอายะจากอัลกุรอ่านที่มีชื่อของดาวูด, มูฮัมหมัด , ยะฮยา และมูซา
นักรายงานถามต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้คือใครกัน?นางตอบว่า
الْمالُ وَ الْبَنُونَ زِينَةُ الْحَياةِ الدُّنْيا
ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้( (พวกเขาคือบุตรของฉัน) ซูเราะฮ์ กะห์ฟิ /46
หลังจากที่นักรายงานคนนั้นได้ส่งนางจนถึงมือบุตรชายของนาง,แล้วนางได้กล่าวแก่บุตรทั้งหลายของนางว่า
يا أَبَتِ اسْتَأْجِرْهُ، إِنَّ خَيْرَ مَنِ اسْتَأْجَرْتَ الْقَوِيُّ الْأَمِین
โอ้คุณพ่อจ๋า! จ้างเขาไว้ซิแท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตว์และด้วยกับอายะนี้ (นางได้ขอบุตรของนางตอบแทนเขา) ซูเราะฮ์ ก็อศ็อศ/26
บรรดาบุตรของนางได้กล่าวขอบคุณและมอบรางวัลอย่างมากมายให้กับนักรายงานผู้นั้น
นักรายงานคนนั้นได้ถามบุตรของนางว่าสตรีนางนี้คือผู้ใด? ไฉนจึงสามารถเข้าใจและท่องจำอัลกุรอานได้มากเช่นนี้? พวกเขากล่าวตอบว่า มารดาของเราคือฟิฎเฎาะห์สาวรับใช้ของท่านหญิงฟาติมะห์ ซะห์รอ (ซ)และนางได้เรียนรู้อยู่กับกุรอานเป็นเวลา 20 กว่าปีมาแล้ว
นี่คือตัวอย่างบทบาทของบรรดาสตรีในประวัติศาสตร์แห่งยุคก่อน เช่นเดียวกันกับสตรีในยุคปัจจุบันสตรีจากครึ่งหนึ่งของประชากรบนโลกนี้ยั่งคงมีบทบาทอยู่ในสังคมไม่ว่าจะเป็นบทบาททางด้านลบอันเป็นโทษหรือบทบาทที่ดีงามและมีผลในทางด้านบวก
สังคมใดที่บรรดาสตรีมีความรู้ความสามารถ และมีศาสนามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ก็จะสามารถเป็นพลังสำคัญสู่การขับเคลื่อนยังความสมบูรณ์แบบของสังคมได้ และอาจจะสร้างพลังที่ดีในสังคมมากกว่าบรรดาบุรุษก็ได้และในทางกลับกันสตรี ก็อาจมีบทบาทในทางลบอันก่อให้เกิดเป็นผลเสียต่อสังคมได้มากเช่นเดียวกัน