- เวลาในเรื่องเล่ากุรอานมีบทบาทอย่างไรบ้าง ?
- ในเรื่องเล่ากุรอานสถานที่ถูกฉายไว้อย่างไรบ้าง ?
องค์ประกอบของเรื่องเล่าในกุรอาน (ตอนที่ 2)
เวลา
เวลาถือว่ามีบทบาทสำคัญสำหรับการเล่าเรื่องเช่นกัน เวลาเป็นองค์ประกอบที่เหมือนกับพาหนะที่เนื้อเรื่องใช้ขับขี่เพื่อขับเคลื่อนเหตุการณ์ให้ดำเนินไปสู่อนาคตข้างหน้า ช่วงเวลาในฉากต่าง ๆ ของเรื่องเล่าจะวาดภาพในหัวของผู้ฟังให้ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
ธรรมชาติของเวลาคือการขับเคลื่อนและการเคลื่อนไหวไปสู่อนาคตข้างหน้า ดังนั้นหากพิจารณาในเรื่องเล่าที่เล่าบนพื้นฐานของความเป็นจริง ช่วงเวลาต่าง ๆ ของเรื่องจะถูกวางไว้อย่างเป็นระเบียบสมบูรณ์ แต่ในส่วนของเรื่องเล่าที่ไม่ได้เล่าจากเรื่องจริง บางทีจะเห็นว่าเวลาไม่ได้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของมัน [1]
เรื่องเล่าในกุรอานที่ผู้เล่าเป็นผู้มีวาจาสัจและเล่าบนพื้นฐานความจริง องค์ประกอบเรื่องเวลาจะถูกนำเสนอไปอย่างมีความหมายและเรียงร้อยอย่างเป็นระบบระเบียบตามธรรมชาติของมันอย่างชัดเจน
เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างจะกล่าวถึงเรื่องราวการถูกเลือกของอาลิอิมรอนให้เป็นศาสนทูตจนกระทั่งท่านนบีอีซาซึ่งเป็นหนึ่งใน อาลิอิมรอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต จะเห็นว่ากุรอานใช้องค์ประกอบของเวลาไปในการสร้างความต่อเนื่องของเหตุการณ์ เช่นในซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน กุรอานชี้ให้เห็นความต่อเนื่องของเรื่องราวที่ดำเนินไปสู่อนาคตของท่านนบีอิมรอนไว้ดังนี้
1.1.อาลิอิมรอนถูกเลือกให้เป็นนบี
إِنَّ اللّهَ اصْطَفَى آدَمَ وَنُوحًا وَآلَ إِبْرَاهِيمَ وَآلَ عِمْرَانَ عَلَى الْعَالَمِينَ [2]
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเลือก อาดัม นูฮ์ วงศ์วานอิบรอฮีมและวงศ์วานของอิมรอน”
1.2.ภรรยาของนบีอิมรอนบนบานขอลูก จนถือกำเนินท่านหญิงมัรยัม
إِذْ قَالَتِ امْرَأَتُ عِمْرَانَ رَبِّ إِنِّي نَذَرْتُ لَكَ مَا فِي بَطْنِي مُحَرَّرًا فَتَقَبَّلْ مِنِّي ۖ إِنَّكَ أَنتَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ / فَلَمَّا وَضَعَتْهَا قَالَتْ رَبِّ إِنِّي وَضَعْتُهَا أُنثَىٰ وَاللَّهُ أَعْلَمُ بِمَا وَضَعَتْ وَلَيْسَ الذَّكَرُ كَالْأُنثَىٰ ۖ وَإِنِّي سَمَّيْتُهَا مَرْيَمَ[3]
“จงรำลึกถึงช่วงเวลาที่ภรรยาของอิมรอนกล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้า แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง (บุตร) ที่อยู่ในครรภ์ของข้าถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับคำขอของข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ ครั้นเมื่อนางได้คลอดบุตร นางก็กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของข้า แท้จริงข้าได้คลอดบุตรเป็นหญิง ….ข้าตั้งชื่อนางว่า “มัรยัม””
1.3.ท่านหญิงมัรยัมเติบโตและรับการเลี้ยงดูจากท่านนบีซักกะรียา
فتَقَبَّلَهَا رَبُّهَا بِقَبُولٍ حَسَنٍ وَأَنبَتَهَا نَبَاتًا حَسَنًا وَكَفَّلَهَا زَكَرِيّاَ [4]
“แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี
และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยพร้อมกันนั้นทรงให้ซะกะรียาอุปการะเลี้ยงดูนาง”
1.4.แจ้งข่าวดีถึงการมีบุตรของท่านหญิง มัรยัม
إِذْ قَالَتِ الْمَلآئِكَةُ يَا مَرْيَمُ إِنَّ اللّهَ يُبَشِّرُكِ بِكَلِمَةٍ مِّنْهُ اسْمُهُ الْمَسِيحُ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ [5]
“จงรำลึกถึงเมื่อครั้งที่มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย !แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีแก่เธอถึงสิ่งหนึ่งที่ประทานมาจากพระองค์ ชื่อของเขาคือ อัลมะซีห์ อีซาบุตรของมัรยัม”
1.5 ท่านนบีอีซาได้รับเลือกเป็นนบี
وَرَسُولًا إِلَى بَنِي إِسْرَائِيلَ أَنِّي قَدْ جِئْتُكُم بِآيَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ [6]
“และเป็นฑูต (นะบีอีซา) ไปยังวงศ์วานอิสรออีล
(โดยที่เขาจะกล่าวว่า) แท้จริงนั้นได้นำสัญญาณหนึ่งจากพระเจ้าของพวกท่านมายังพวกท่านแล้ว”
ประเด็นน่าสนใจ
การเล่าเรื่องในกุรอานจะชี้ให้เห็นเฉพาะบางช่วงเวลาที่มีคุณค่าและมีคำสอน จะไม่นำเสนอแบบละเอียดที่ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน เหมือนกับการเล่าเรื่องท่านนบีซักกะรียาที่นำเสนอเฉพาะช่วงเวลาที่ท่านนบีซักกะรียากับท่านหญิงมัรยัมและช่วงเวลาที่ท่านมีบุตรในตอนชราภาพแล้วเพื่อชี้ให้เห็นถึงพลานุภาพของอัลลอฮ์ เรื่องนี้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮ์อาลิอิมรอนว่า
فَتَقَبَّلَهَا رَبُّهَا بِقَبُولٍ حَسَنٍ وَأَنبَتَهَا نَبَاتًا حَسَنًا وَكَفَّلَهَا زَكَرِيَّا كُلَّمَا دَخَلَ عَلَيْهَا زَكَرِيَّا الْمِحْرَابَ وَجَدَ عِندَهَا رِزْقًا قَالَ يَا مَرْيَمُ أَنَّىٰ لَكِ هَـٰذَا قَالَتْ هُوَ مِنْ عِندِ اللَّـهِ إِنَّ اللَّـهَ يَرْزُقُ مَن يَشَاءُ بِغَيْرِ حِسَابٍ / هُنَالِكَ دَعَا زَكَرِيَّا رَبَّهُ قَالَ رَبِّ هَبْ لِي مِن لَّدُنكَ ذُرِّيَّةً طَيِّبَةً إِنَّكَ سَمِيعُ الدُّعَاءِ / فَنَادَتْهُ الْمَلَائِكَةُ وَهُوَ قَائِمٌ يُصَلِّي فِي الْمِحْرَابِ أَنَّ اللَّـهَ يُبَشِّرُكَ بِيَحْيَىٰ مُصَدِّقًا بِكَلِمَةٍ مِّنَ اللَّـهِ وَسَيِّدًا وَحَصُورًا وَنَبِيًّا مِّنَ الصَّالِحِينَ / قَالَ رَبِّ أَنَّىٰ يَكُونُ لِي غُلَامٌ وَقَدْ بَلَغَنِيَ الْكِبَرُ وَامْرَأَتِي عَاقِرٌ قَالَ كَذَٰلِكَ اللَّـهُ يَفْعَلُ مَا يَشَاءُ [7]
“แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยและทรงให้ซะกะรียาอุปการะเลี้ยงดูนาง คราใดที่ซะกะรียาเข้าไปหานางที่อัลมิห์รอบ (สถานที่ทำนมัสการ) เขาก็พบปัจจัยยังชีพ (อาหาร) วางอยู่ที่ข้างนางเสมอ เขากล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! เธอได้สิ่งนี้มาอย่างไร? นางกล่าวว่า มันมาจากอัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์โดยปราศจากการคิดคำนวณ เมื่อนั้นเองซะกะรียาวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้า โปรดได้ทรงประทานบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ให้แก่ข้าด้วยเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน และมะลาอิกะฮ์เรียกเขาขณะที่เขากำลังยืนละหมาดอยู่ในอัลมิห์รอบว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีแก่ท่านโดยจะประทานบุตร์ (ยะห์ยา) เพื่อพิสูจน์ความสัจจริงของคำดำรัสของพระองค์ และยะฮ์ยาจะเป็นผู้นำและผู้รักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์และเป็นนะบีคนหนึ่งจากหมู่ชนที่เป็นคนดี เขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้า ข้าพระองค์จะมีบุตรได้อย่างไร ฉันอยู่ในวัยชราภาพแล้ว และภรรยาของข้าพระองค์ก็เป็นหมันด้วย พระองค์ตรัสว่ากระนั้นก็ตามอัลลอฮ์จะทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์”
ช่วงเวลาในอดีตที่ไม่ได้กำหนดเฉพาะ
เวลาที่กล่าวถึงในเรื่องเล่ากุรอานส่วนมากจะเป็นเวลาที่กล่าวถึงเรื่องราวในอดีต และจะไม่มีการกำหนดรายละเอียดว่าเกิดขึ้นวันอะไร เดือนอะไรหรือปีอะไร แต่ถ้าการกล่าวถึงรายละเอียดมีผลทำให้ผู้อ่านเข้าใจและรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเล่าเรื่อง บางครั้งก็จะกล่าวถึงรายละเอียดด้วย เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับ อัซฮาบุลกะฮ์ฟิ
وَلَبِثُوا فِي كَهْفِهِمْ ثَلَاثَ مِائَةٍ سِنِينَ وَازْدَادُوا تِسْعًا [8]
และพวกเขาค้างอยู่ในถ้ำเป็นเวลาสามร้อยปีและเพิ่มไปอีกเก้าปี
สถานที่
ความหมายของสถานที่ในเรื่องเล่าหมายถึง พื้นที่ที่เกิดเรื่องราว ในกุรอานใช้ประโยชน์จากสถานที่ในการเล่าเรื่องน้อยมาก ส่วนมากจะกล่าวถึงในกรณีที่สถานที่มีส่วนในการนำเสนอสารธรรมคำสอน
เช่นในเรื่องราวที่ถึงเหตุการณ์ อิสรออ์เมียะรอจญ์ เป็นตัวอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าสถานที่มีผลสำคัญในการเล่าเรื่อง เพราะการกล่าวถึงมัสยิดุลฮะรอมและมัสยิดอัลอักซอรวมทั้งกล่าวถึงระยะทางระหว่างสองสถานที่อีกทั้งพูดถึงช่วงเวลากลางคืน ทั้งหมดนี้เป็นตัวทำให้เรื่องราวการขึ้นเมียะอ์รอจญ์กระจ่างและชัดเจนขึ้น หากไม่กล่าวถึงสถานที่ในการขึ้นเมียะอ์รอจของท่านนบีรวมทั้งไม่กล่าวถึงเวลาด้วยจะทำให้สื่อถึงความยิ่งใหญ่ของการเดินทางครั้งนี้ของท่านศาสดาได้ไม่ครบสมบูรณ์ โดยโองการที่เล่าเรื่องนี้กล่าวว่า
سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلًا مِّنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الأَقْصَى الَّذِي بَارَكْنَا حَوْلَهُ لِنُرِيَهُ مِنْ آيَاتِنَا إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ [9]
“มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัลหะรอมไปยังมัสยิดอัลอักซอซึ่งบริเวณรอบมันเราได้ให้ความจำเริญ เพื่อเราจะให้เขาเห็นบางอย่างจากสัญญาณต่างๆของเรา แท้จริง พระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น”
บางครั้งกุรอานกล่าวถึงสถานที่เพราะต้องการสื่อให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่นั้น ซึ่งบางสถานที่มีมารยาทปฏิบัติก่อนเข้าด้วย เช่น โองการที่เล่าถึงการเดินทางของท่านนบีมูซาไปยัง พื้นที่ ฏุวา อันศักดิ์สิทธิ์ว่า
إِنِّي أَنَا رَبُّكَ فَاخْلَعْ نَعْلَيْكَ إِنَّكَ بِالْوَادِ الْمُقَدَّسِ طُوًى [10]
“โอ้มูซา นี่คือฉันเองพระผู้อภิบาลของเจ้า จงถอดรองเท้าของเจ้าออกเถิด เพราะเจ้ากำลังอยู่ในพื้นที่ ฎุวา อันศักดิ์สิทธิ์”
1.หนังสือมะบานีย์โฮนะรีเยกิซเซะฮ์กุรอาน หน้า 188 , อะบุลกอซิม ฮุซัยนีย์
2.ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 33
3.ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน โองการที่ 35-36
4.ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 37
5.ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 45
6.ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 49
7.ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 37-40
8.ซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟิ โองการที่ 25