- กิซเซาะฮ์คืออะไร ?
- กิซเซาะฮ์ (เรื่องเล่า) กุรอานเป็นอย่างไร ?
คำนิยามของคำว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”
ประเด็นเกี่ยวกับคำว่า กิซเซาะตุลกุรอาน นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันดังต่อไปนี้ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า โองการที่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าคือโองการที่นำเอาศิลปะและองค์ประกอบในการเล่าเรื่องมาใช้ในการนำเสนอ ตามทัศนะนี้เรื่องราวของ อัซฮาบุลฟีล ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าเพราะมีเนื้อหาสั้นไปไม่มีองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง
นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า โองการที่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน” คือโองการที่เล่าเรื่องราวของบรรพชนในอดีตเท่านั้น ตามทัศนะนี้ เรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ซึ่งถือเป็นเรื่องเล่าที่อยู่ร่วมสมัยกับการประทานอัลกุรอานจึงไม่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”
นักวิชาการอีกกลุ่มเชื่อว่า กิซเซาะตุลกุรอาน คือโองการที่กล่าวถึงเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตามทัศนะนี้ทุกเรื่องราวที่กุรอานเล่าให้ผู้ฟังรวมทั้งเรื่องราวในสมัยนบีถือเป็น “กิซเซาะตุลกุรอาน” ทั้งหมด บางกลุ่มก็เชื่อว่าตัวอย่างที่ถูกนำเสนอในกุรอานก็ถูกนับว่าเป็น กิซเซาะตุลกุรอานด้วยเช่นกัน
จากความขัดแย้งตรงนี้ทำให้มีการคำนวนโองการที่ถือเป็นเรื่องเล่าของกุรอานไปในจำนวนที่ขัดแย้งแตกต่างกันออกไปด้วย บางท่านเชื่อว่าหนึ่งในสี่ของโองการทั้งหมดเป็นเรื่องเล่า บางท่านเชื่อว่า มีเพียง116 เรื่องเล่าด้วยกัน
เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “กิซเซาะ” ตามคำนิยามของกุรอานเราจะขอนำเสนอความหมายตามรากศัพย์ของคำว่ากิซเซาะตามคำนิยามของกุรอานและนำเสนอตัวอย่างการนำคำนี้มาใช้ในกุรอานในวาระต่าง ๆ ด้วย
1.การเล่าเรื่องราวในอดีตหรือเรื่องราวของชนรุ่นก่อน
فَلَمَّا جَاءَهُ وَقَصَّ عَلَيْهِ الْقَصَصَ قَالَ لَا تَخَفْ نَجَوْتَ مِنَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ
“เมื่อมูซามาหาชุเอบและเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาให้เขาฟัง ชุเอบจึงกล่าวกับมูซาว่า อย่ากลัวเลยบัดนี้ท่านได้หนีรอดพ้นจากกลุ่มชนผู้กดขี่แล้ว”
2.การติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ
บางครั้งกุรอานใช้คำว่า กิซเซาะ ไปในความหมายที่สื่อให้เห็นถึงการติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ โดยกล่าวว่า
وَقَالَتْ لِأُخْتِهِ قُصِّيهِ فَبَصُرَتْ بِهِ عَنْ جُنُبٍ وَهُمْ لَا يَشْعُرُونَ
“มารดาของนบีมูซากล่าวกับลูกสาว (พี่สาวนบีมูซา) ว่า จงติดตามมูซาไปเถิด ต่อมาพี่สาวของนบีมูซาก็เห็นท่านนบีมูซาจากระยะไกลในขณะที่พวกศัตรูไม่ได้สนใจมอง”
3.ข่าวคราว , เรื่องราว , เรื่องเล่า
หนึ่งในความหมายของคำว่า กิซเซาะฮ์ คือข่าวที่ถูกเล่าหรือเรื่องเล่า ความหมายนี้ในพจนานุกรมใช้คำว่า กิซเซาะฮ์ ส่วนในกุรอานใช้คำว่า เกาะศอศ โดยคำว่า เกาะศอศ ถูกนำเสนอในกุรอาน 6 ที่ด้วยกัน ซึ่งบางครั้งให้ความหมายเป็นคำนาม ที่หมายถึง ข่าวที่ถูกเล่าหรือข่าวที่ได้รับการติดตาม ดังในโองการนี้ที่กล่าวว่า
لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِأُولِي الْأَلْبَابِ
แท้จริงเรื่องเล่าของพวกเขา (นบียูซุฟ) มีคำสอนสำหรับผู้มีปัญญา
บางทีก็ให้ความหมายในเชิงอาการนาม หมายถึงการติดตามข่าวและติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ เช่น
فارْتَدّا عَلَى آثَارِهِما قَصَصًا
หลังจากนั้นมูซาและเด็กหนุ่มที่ติดตามเขา
ความสัมพันธ์ของเรื่องเล่าในกุรอานกับความหมายทางภาษา
คำว่า กิซเซาะฮ์ ที่ถูกใช้ในกุรอานมีความหมายสอดคล้องกับความหมายในทางภาษาอย่างสมบูรณ์ ในกุรอานใช้คำว่า “กอศอศ” ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “กอซซ่อ” ไปในความหมายที่ว่า ผู้เล่าเรื่องกำลังติดตามเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วซึ่งบางครั้งหมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดมานานแล้วเช่นที่กุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ ฏอฮาโองการที่ 99 ว่า
كَذلِكَ نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ ما قَدْ سَبَقَ
“เช่นนี้แหละ เราได้บอกเล่าข่าวคราวที่ได้เกิดขึ้นแต่กาลก่อนแก่เจ้า”
หรือบางครั้งให้ความหมายตามรากศัพท์เดิม (มัศดัร) ที่หมายถึง การติดตามข่าวคราวหรือติดตามร่องรายของคนหรือสิ่งของ เช่นในกุรอานกล่าวว่า
قَالَ يَا بُنَيَّ لَا تَقْصُصْ رُؤْيَاكَ عَلَىٰ إِخْوَتِكَ
“เขา(ยะอฺกูบ) กล่าวว่า “โอ้ลูกรักเอ๋ย ! เจ้าอย่าเล่าความฝันของเจ้าแก่พี่น้องของเจ้า”
คำว่า กอศอศ ในกุรอานบางทีมาหลังจากการเล่าเรื่องผ่านไปแล้ว 1 เรื่อง หรือบางทีก็มาหลังจากเล่าเรื่องไปแล้วหลายเรื่องดังเช่นในซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน ที่มาหลังจากเล่าเรื่องเพียงเรื่องเดียวของท่านศาสดาอีซา (อ)
إِنَّ هَٰذَا لَهُوَ الْقَصَصُ الْحَقُّ
“แท้จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง”
ในซูเราะฮ์อะอ์รอฟ อัลลอฮ์ทรงใช้คำนี้หลังจากเล่าเรื่องหลายเรื่องราวมาแล้ว คือเรื่องราวของนบีอาดัม นูฮ์ ฮูดและมูซา (อ) พระองค์ทรงตรัสว่า
فَاقْصُصِ الْقَصَصَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ
“เจ้าจงเล่าเรื่องราวเหล่านั้นเถิด เพื่อว่าพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ”
ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดคำว่า “กอศอศ” ที่ถูกใช้ในกุรอานถูกนำเสนอไปในความหมายเกี่ยวกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วหรือเล่าเรื่องที่มีความต่อเนื่อง มีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างจินตนาการให้เกิดขึ้นในสติปัญญาของผู้ฟังซึ่งในนิยามของกุรอานเรียกว่า กิซเซาะฮ์กุรอาน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะมีความยาวหรือสั้นหรือเกิดขึ้นนานแล้วหรือเพิ่งเกิดก็ตาม
คำอื่นที่ถุกใช้ในความหมายกิซเซาะฮ์
ความหมายคำว่า กิซเซาะฮ์ ในกุรอานไม่ได้ถูกจำกัดไว้ในเฉพาะคำว่า กอศอศ เท่านั้นยังมีคำอื่นที่ให้ความหมายเดียวกันนี้เช่นกัน บางทีเช่นคำว่า นะบะอ์ ฮะดิษ คำเหล่านี้ก็มีความหมายเดียวกับคำว่า กอศอศ ด้วยซึ่งก็สามารถนำโองการที่ใช้คำเหล่านี้มาใช้ในเป้าหมายและแก่นแท้เดียวกับกิซเซาะฮ์ได้เช่นกัน เช่นโองการเหล่านี้
نَتْلُو عَلَيْكَ مِن نَّبَإِ مُوسَىٰ وَفِرْعَوْنَ بِالْحَقِّ
“เราจะอ่านแก่เจ้า บางส่วนแห่งเรื่องราวของมูซาและฟิรเอานด้วยความจริง”
وَهَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ مُوسَىٰ
“และเรื่องราวของมูซาได้มีมาถึงเจ้าบ้างไหม”
أَوْ كَالَّذِي مَرَّ عَلَىٰ قَرْيَةٍ وَهِيَ خَاوِيَةٌ عَلَىٰ عُرُوشِهَا
“หรือเช่นผู้ที่ได้ผ่านเมืองหนึ่ง (บัยตุลมักดิส) โดยที่มันพังทับลงบนหลังคาของมัน”
แม้กระทั่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของท่านศาสดาที่ถูกกล่าวไว้ในกุรกานเช่นเรื่องราวเกียวกับสงครามบะดัร สงครามอุฮุด บัยอัตริดวาน ซุลฮุดัยบียะฮ์ ถือเป็นเรื่องเล่ากุรอานด้วยเช่นกัน