Site icon

ความรู้ที่แท้จริง

معلومات_عامة_ثقافية

รายงานจากท่านอิมามมูซากาซิมว่า เมื่อท่านศาสนทูตเดินเข้ามัสยิดเห็นคนกำลังนั่งล้อมชายคนหนึ่งอยู่ ท่านศาสนทูตถามพวกเขาว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ พวกเขากล่าวตอบว่า ชายคนนี้คือ อัลลามะฮ์ ท่านศาสนทูตกล่าวถามว่า อัลลามะฮ์ คืออะไร ? บรรดาสาวกกล่าวตอบว่า เขาคือผู้รู้มากที่สุดในเรื่องเชื้อสายของชนชาวอาหรับ รู้ความเป็นมาของคนอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์อีกทั้งรู้เรื่องบทกวีของชาวอาหรับเป็นอย่างดีด้วย ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า เหล่านี้คือศาสตร์ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ไม่รู้เสียประโยชน์แต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านศาสดากล่าวต่อว่า แท้จริงความรู้มีสามสิ่งด้วยกัน รู้โองการที่ชัดแจ้ง รู้บทบัญญัติและรู้แบบฉบับศาสดา นอกเหนือจากนี้เป็นกำไร

คำอธิบาย

คำอธิบายฮะดิษนี้มีประเด็นที่ต้องกล่าวถึง สามประเด็นด้วยกันประเด็นที่ 1 คือ ความรู้มีความหมายหลายความหมายด้วยกัน ความหมายแรกคือ หมายถึงความชื่อมั่นโดยไม่มีข้อสงสัย ความหมายที่สองคือ หมายถึงความรู้ทั่วไปที่ตรงข้ามกับคำว่าโง่เขลาหรือความไม่รู้ ส่วนความหมายที่สามคือหมายถึงการมีองค์ความรู้ต่อกฏเกณฑ์โดยรวมเพื่อนำองค์ความรู้นั้นมาปรับใช้กับหน่วยย่อยอื่น ๆ เป็นที่ชัดเจนว่า ความรู้ที่ฮะดิษข้างต้นต้องการสื่อให้เราเข้าใจคือ ความรู้ในความหมายที่สองและสาม 

ประเด็นที่ 2 เราสามารถมองความรู้ได้ในหลายมุมมองด้วยกันและจากความหลากหลายนี้เองความรู้จึงแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ มากมายด้วย ฮะดิษข้างต้นมองความรู้ในมุมของการมีคุณประโยชน์ โดยกล่วว่าความรู้ที่ให้ประโยชน์มีสามชนิดด้วยกันคือ  ความรู้ที่เกี่ยวกับโองการกุรอาน ความรู้เกี่ยวบทบัญญัติศาสนาและความรู้เกี่ยวกับแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ)

ประเด็นที่ 3 ผู้ที่พูดที่นำเสนอความรู้ให้ผู้อื่นจะรับในสิ่งที่ตนนำเสนอ ดังนั้นในขณะที่นำเสนอและอรรถาธิบายความรู้จะต้องคำนึงถึงสถานภาพของตัวเองด้วย 

หากพิจารณาจากสามประเด็นข้างต้นโดยพิจารณารวมกับคำกล่าวของท่านศาสนทูต ทำให้เข้าใจได้ว่า ความรู้ในมุมของท่านศาสนทูตแบ่งเป็นสามชนิดด้วยกัน คือรู้เกี่ยวกับหลักความเชื่อพื้นฐาน สองรู้เรื่องจริยธรรมและจรรยมารยาท

ตัวบทฮะดิษ :

عَنْ أَبِي الْحَسَنِ مُوسَى ع قَالَ دَخَلَ رَسُولُ اللّهِ ص الْمَسْجِدَ فَإِذَا جَمَاعَةٌ قَدْ أَطَافُوا بِرَجُلٍ فَقَالَ مَا هَذَا فَقِيلَ عَلّامَةٌ فَقَالَ وَ مَا الْعَلّامَةُ فَقَالُوا لَهُ أَعْلَمُ النّاسِ بِأَنْسَابِ الْعَرَبِ وَ وَقَائِعِهَا وَ أَيّامِ الْجَاهِلِيّةِ وَ الْأَشْعَارِ الْعَرَبِيّةِ قَالَ فَقَالَ النّبِيّ ص ذَاكَ عِلْمٌ لَا يَضُرّ مَنْ جَهِلَهُ وَ لَا يَنْفَعُ مَنْ عَلِمَهُ ثُمّ قَالَ النّبِيّ ص إِنّمَا الْعِلْمُ ثَلَاثَةٌ آيَةٌ مُحْكَمَةٌ أَوْ فَرِيضَةٌ عَادِلَةٌ أَوْ سُنّةٌ قَائِمَةٌ وَ مَا خَلَاهُنّ فَهُوَ فَضْلٌ‏

اصول كافى جلد 1 صفحه: 37 روايه :1 

 

Exit mobile version