กุรอานกับการเสริมสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง
يا أيُّهَا الَّذينَ آمَنوُا قُوا أنفُسَكُمْ وَ أهْلِيكُمْ ناراً وَ قُودُهَا النَّاسُ وَ الحِجَارَة
“ศรัทธาชนเอ๋ย จงปกป้องตนเองและครอบครัวจากไปนรกที่มีมนุษย์และหินเป็นเชื้อเพลิงของมัน” (กุรอานรซูเราะฮ์อัตตะห์รีม โองการที่ 6)
การก่อตั้งสถาบันครอบครัวและการเสริมสร้างให้มีความเข้มแข็งและดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่กุรอานในฐานะแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้ให้ความสำคัญไว้อย่างสูง ซึ่งในซูเราะฮ์ความนี้จะขอกล่าวถึงปัจจัยสำคัญบางประการในการเสริมสร้างครอบครัวในทัศนะของกุรอานพอสังเขปดังนี้
๑) ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์
ชีวิตคู่ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งมิเพียงแต่เพื่อการสืบเผ่าพันธุ์เท่านั้น แต่ยังเพื่อตอบสนองความต้องการในทางอารมณ์และในทางสังคมของการดำเนินชีวิตอีกด้วยเช่นกัน
وَ اللَّهُ جَعَلَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ أَزْوَاجاً وَ جَعَلَ لَكُمْ مِنْ أَزْوَاجِكُمْ بَنيِنَ وَ حَفَدةً
“และอัลลอฮ์ทรงบันดาลคู่ครองสำหรับพวกเจ้าจาก (สกุลเดียวกันกับ) ตัวของพวกเจ้าเอง และทรงบันดาลลูกและหลานสำหรับพวกเจ้าจากคู่ครองของพวกเจ้า”
(ซูเราะฮ์อันนะหล์ โองการที่ 72)
ความต้องการทางเพศตามธรรมชาตินี้มีอยู่อย่างรุนแรงยิ่งในมนุษย์ ซึ่งหากมีอุปสรรคขวางกั้นการตอบสนองความต้องการดังกล่าว มนุษย์ก็จะพยายามอย่างที่สุดในการขจัดอุปสรรคนั้น แม้กระทั่งหากเกิดอุปสรรคเพียงชั่วคราวก็ยังสร้างความยากลำบากให้กับมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น กุรอานจึงอนุมัติให้ผู้ถือศีลอดสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองของตนเองในยามค่ำคืนของเดือนรอมะฎอนได้
اُحِلَّ لَكُمْ ليلةَ الصِّيَّامِ الرَّفَثُ إِلَى نِسَائِكُمْ هُنَّ لِبَاسٌ لَكُمْ وَ أَنْتُمْ لِبَاسٌ لَهُنَّ…
“การร่วมเสน่หากับภรรยาของพวกเจ้าในค่ำคืนของการถือศีลอดเป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเจ้า นางเป็นอาภรณ์สำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าเป็นอาภรณ์สำหรับนาง”(ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 187)
อนึ่ง เนื่องจากความต้องการทางเพศตามธรรมชาติขอมนุษย์นี้มิใช่เป็นเรื่องของธรรมสัญชาตญาณล้วนๆ แต่เป็นแบบกึ่งสัญชาตญาณ อิสลามจึงกำหนดวิธีการและขอบเขตในการสนองตอบความต้องการดังกล่าวไว้เพื่อแยกมนุษย์ออกจากสัตว์เดรัจฉาน
๒) ความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ
มนุษย์แสวงหามิตรและความรัก และจะรู้สึกว่ามีความสงซูเราะฮ์างจิตใจจากความเหนื่อยหล้า, ความโดดเดี่ยว, ความวิตกกังวล และความสับสนวุ่นวายของชีวิตเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งเขาจะสัมผัสกับความรู้สึกนี้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในบรรยากาศของครอบครัวเคียงข้างคู่ครองของตน
وَ مِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُم أَزْوَاجاً لِتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَ جَعَلَ بَيْنَكُمْ مَوَدَّةً وَ رَحْمَةً…
“และหนึ่งในสัญญาณของพระองค์คือ พระองค์ได้ทรงสร้างคู่ครองสำหรับพวกเจ้าจาก (สกุลเดียวกันกับ) ตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีใจสงบเคียงข้างนาง และพระองค์ทรงบันดาลให้มีความรักและความเมตตาในระหว่างพวกเจ้า…” (ซูเราะฮ์อัรรูม โองการที่ 21)
ดังนั้น หากคู่ครองตระหนักถึงซูเราะฮ์บาทดังกล่าวนี้ของตนเอง ครอบครัวย่อมจะดำเนินไปบนวิถีทางแห่งความผาสุกได้อย่างมั่นคง
๓) การควบคุมความต้องการทางเพศและกำหนดทิศทางให้อยู่ในกรอบของชีวิตคู่
เนื่องจากการไม่ควบคุมสายตาและจิตใจจากเพศตรงข้ามและการมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามโดยเสรี นอกจากจะทำลายแรงกระตุ้นให้ชายและหญิงแต่งงานและจัดตั้งครอบครัวในฐานะความต้องการที่จำเป็นเร่งด่วนแล้ว ยังสั่นคลอนเสถียรภาพของครอบครัวจนบางครั้งอาจนำไปสู่การหย่าร้างด้วยเช่นกัน
ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งและปิดช่องทางของการเบี่ยงเบนและความเสื่อมเสียในเรื่องนี้ อิสลามจึงบัญญัติข้อกฎหมายทางสังคมขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง พร้อมกับเตือนสำทับในทางศีลธรรมและความเชื่อ, พัฒนาจิตวิญญาณ, เสริมสร้างพลังในการแยกแยะถูกผิดและความสำรวมตนในตัวของพวกเขาไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งเราสามารถจัดหมวดหมู่ของโองการกุรอานที่นำเสนอประเด็นดังกล่าวในหัวข้อสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
ก) ความจำเป็นในการรักษาพรหมจรรย์และหลีกเลี่ยงจากการล่วงในกาม
قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُونَ…. وَ الَّذينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظوُنَ. إِلاَّ عَلَى أَزْوَاجِهِمْ أوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ فَإِنَّهُمْ غَيْرُ مَلُومِينَ.
فَمَنْ ابْتَغَى وَرَاءَ ذَلِكَ فَاُوْلَئِكَ هُمْ الْعَادُون
“แน่นอน เหล่าศรัทธาชนได้บรรลุความสำเร็จแล้ว… (คือ) บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้รักษาส่วนสงวนของตน (จากมลทินของความสำส่อน) เว้นแต่ (ร่วมเสน่หา) กับคู่ครองหรือทาสีของตน ในกรณีเช่นนี้ พวกเขาจะไม่เป็นผู้ถูกตำหนิ ฉะนั้น ผู้ใดแสวงหาอื่นจากนั้น พวกเขาเป็นผู้ละเมิด” (ซูเราะฮ์อัลมุอ์มินูน โองการที่ 1 และ5 – 7)
ข) ฮิญาบและการรักนวลสงวนตัวคือมาตรการในการรักษาดุลยภาพของความต้องการทางเพศ
قُلْ لِلْمُؤْمِنيِنَ يَغُضُّوا مِنْ أبْصَارِهِمْ وَ يَحْفَظُوا فُرُوجَهُمْ ذَلِكَ أَزْكَى لَهُمْ إِنَّ اللَّهَ خَبيِرٌ بِمَا يَصْنَعُونَ.
وَ قُلْ لِلْمُؤْمِنَاتِ يَغْضُضْنَ مِنْ أَبْصَارِهِنَّ وَ يَحْفَظْنَ فُرُوجَهُنَّ وَ لاَ يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلاَّ مَا ظَهَرَ مِنْهَا
وَلْيَضْرِبْنَ بِخُمُرِهِنَّ عَلَى جُيُوبِهِنَّ وَ لاَ يُبْدِيِنَ زِينَتَهُنَّ إِلاَّ لِبُعُو لَتِهِنَّ أوْ آبائهنّ اَو آباءِ بُعُولَتِهِنَّ أوْ أبْنَائِهِنَّ أوْ أبْنَاءِ بُعُولَتِهِنَّ
أوْ إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِى إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِى أخَوَاتِهِنَّ أَوْ نِسَائِهِنَّ أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُنَّ أَوْ التَّابِعينَ غَيْرِ اُوْلِى الْأَرْبَةُ مِنْ الرِّجَآلِ
أَوْ الطِّفْلِ الَّذينَ لَمْ يَظْهَروُا عَلَى عَوْرَاتِ النِّسَاءِ وَ لاَ يَضْرِبْنَ بِأَرْجُلِهِنَّ لِيُعْلَمَ مَا يُخْفِينَ مِنْ زِينَتِهِنَّ
وَ تُوبُوا إِلَى اللَّهِ جَميعَاً أَيُّهَا الْمُؤْمِنوُنَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحوُنَ
“และจงกล่าวแก่หมู่ชายผู้ศรัทธาให้พวกเขาลดสายตาของตน (จากการมองที่ต้องห้าม) และให้ปกป้องส่วนพึงสงวนของตน (ด้วยการปกปิดให้พ้นจากสายตาผู้อื่น) นี่เป็นการผ่องแผ้วกว่าสำหรับพวกเขา แท้จริง อัลลอฮฺทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเขากระทำ และจงกล่าวแก่หมู่หญิงผู้ศรัทธาให้พวกนางลดสายตาของตน (จากการมองที่ต้องห้าม) และให้ปกป้องส่วนพึงสงวนของตน (จากสายตาของผู้อื่น) และจงอย่าเปิดเผยเครื่องประดับของตน เว้นแต่ที่เปิดเผยตามปกติ และให้พวกนางปิดคอเสื้อของตนด้วย (ชาย) ผ้าคลุมศีรษะ (เพื่อต้นคอและส่วนบนของหน้าอกจะได้ถูกปกปิดไปด้วย) และจงอย่าให้พวกนางเปิดเผยเครื่องประดับ เว้นแต่แก่สามีของนาง หรือบิดาของนาง หรือบิดาของสามีของนาง หรือลูกชายของนาง หรือลูกชายของสามีของนาง หรือพี่ชายน้องชายของนาง หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของนาง หรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกนาง หรือผู้หญิงร่วมศาสนาเดียวกับพวกนาง หรือทาสีที่พวกนางครอบครอง หรือคนรับใช้ชายที่ไม่สนใจทางเพศ หรือเด็กๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องทางเพศเกี่ยวกับผู้หญิง และจงอย่าให้นางกระทืบเท้าเพื่อเครื่องประดับของพวกนางที่ซ่อนไว้อยู่นั้นจะเป็นที่รู้จักกัน (และผู้คนจะได้ยินเสียงกำไลเท้าของพวกนาง) และบรรดาศรัทธาชนเอ๋ย พวกเจ้าทั้งมวลจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์เถิด เพื่อพวกเจ้าจะได้ประสบความสำเร็จ” (ซูเราะฮ์อันนูร โองการที่ 30 – 31)
ค) ความสำคัญของการเลือกคู่ครองที่บริสุทธิ์
الْخبيثَاتُ لِلْخَبِيثينَ وَالْخَبيثُونَ لِلْخَبيِثَاتِ وَ الطَّيِّباتُ لِلطَّيِّبينَ وَ الطَّيِّبوُنَ لِلطَّيِّباتِ
اُوْلَئِكَ مُبَرَّءُونَ مِمَّا يَقُولُونَ لَهُمْ مَغْفرَةٌ وَ رِزْقٌ كَريمٌ
“หญิงจัญไรเหมาะสำหรับชายจัญไร และชายจัญไรก็เหมาะสำหรับหญิงจัญไร ส่วนหญิงบรสุทธิ์เหมาะสำหรับชายบริสุทธิ์ และชายบริสุทธิ์ก็เหมาะสำหรับหญิงบริสุทธิ์ ชนเหล่านี้เป็นผู้ไร้มลทินจากที่พวกเขา (ผู้สับปลับ) กล่าวร้าย และพวกเขาจะได้รับการอภัยและเครื่องยังชีพอันทรงค่ายิ่ง” (ซูเราะฮ์อันนูร โองการที่ 26)
الزَّانِى لاَ يَنكِحُ إلاَّ زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لاَ يَنكِحُهَآ إِلاَّ زَانٍ أَوٌْ مُشْرِكٌ وَ حُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنينَ
“ชายผู้ผิดประเวณีจะไม่สมรสกับผู้ใด เว้นแต่กับหญิงผู้ผิดประเวณีหรือหญิงผู้ตั้งภาคี และหญิงผู้ผิดประเวณีจะไม่มีผู้ใดสมรสกับนาง นอกจากชายผู้ผิดประเวณีหรือชายผู้ตั้งภาคี และ (การสมรส) เช่นนี้นั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่เหล่าศรัทธาชน” (ซูเราะฮ์อันนูร โองการที่ 3)
๔) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครองให้อบอุ่นโดยการมอบความรักและความเมตตาเป็นการพิเศษแก่พวกเขา
وَ جَعَلَ بَيْنَكُمْ مَوَدَّةً وَ رَحْمَةً
“และพระองค์ทรงบันดาลให้มีความรักและความเมตตาในระหว่างพวกเจ้า…” (ซูเราะฮ์อัรรูม โองการที่ 21)
ความรักคือความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดประการหนึ่งของมนุษย์ เพราะหากปราศจากความรัก มนุษย์จะไม่สามารถมีบุคลิกภาพที่สมดุลและมั่นคงได้ กุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อกำหนดให้ความรักเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในครอบครัวในเวลาเดียวกันกับที่ผู้หญิงถูกซื้อขายเหมือนสินค้าหรือถูกมอบเป็นมรดกให้แก่กัน
๕) ส่งเสริมให้มีความเมตตาและรักใคร่กันด้วยรางวัลตอบแทนในปรโลก
เนื่องจากอิสลามยอมรับว่าความรู้สึกรักใคร่และอ่อนโยนต่อคู่ครองเป็นธรรมชาติหนึ่งของมนุษย์ อิสลามจึงส่งเสริมความรู้สึกนี้โดยอาศัยความเชื่อและความศรัทธาต่อการตอบแทนในปรโลก และถือว่าการรักครอบครัวคือคุณสมบัติหนึ่งของชาวสวรรค์
قَالُوا إِنَّا كُنَّا قَبْلُ فِى أَهْلِنَآ مُشْفِقيِنَ. فَمَنَّ اللَّهَ عَلَيْنَا وَ وَقَانَا عَذَابَ السَّمُومِ.
“พวกเขา (ชาวสวรรค์) กล่าวว่า แต่ก่อนนี้พวกเราเป็นผู้มีเมตตากรุณาในครอบครัวของเรา ดังนั้น อัลลอฮ์ทรงโปรดปรานอย่างใหญ่หลวงแก่เรา และได้ทรงปกป้องเราให้พ้นจากการลงโทษปางตาย…” (ซูเราะฮ์อัฏฏูร โองการที่ 26 – 27)
๖) บุตร สายใยรักระหว่างพ่อแม่
ความรักและความผูกพันกับบุตรหลานคือหนึ่งในความต้องการทางอารมณ์และความรู้สึกทางจิตใจที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อย่างสูง ดังที่กุรอานได้กล่าวถึงการวิงวอนที่เต็มไปด้วยความอ่อนไหวและอารมณ์ความรู้สึกของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดาซะกะรียา (อ.) เพื่อขอบุตรจากพระผู้เป็นเจ้าว่า
الحمدُللَّهِِ الّذى وَهَبَ لى عَلَى الكِبَر إِسماعيل و إسحاق إنّ ربّى لَسَميعُ الدُّعاء
“การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ที่ได้ทรงประทานอิสมาอีลและอิสหากแก่ฉันในยามชรา แท้จริง พระผู้อภิบาลของฉันเป็นผู้ทรงได้ยิน (และผู้ทรงตอบรับ) การวิงวอนอย่างแน่นอน” (ซูเราะฮ์อิบรอฮีม โองการที่ 39)
هُنالِكَ دَعا زَكَرِيّا رَبَّهُ، قالَ رَبِّ هَبْ لى مِنْ لَدُنْكَ ذُرِّيّةً طَيّبةً اِنّكَ سَميعُ الدُّعاء
“ณ ที่นั้น ซะกะรียาได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของเขา เขากล่าวว่า พระผู้อภิบาลของฉัน ได้ทรงโปรดประทานลูกที่บริสุทธิ์ผุดผ่องแก่ฉันจากพระองค์ เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินการวิงวอน” (ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 38)
ในซูเราะฮ์อะบะสะ โองการที่ 33 – 36 กุรอานได้กล่าวถึงความน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่งของวันสิ้นโลกว่า
فَإِذَا جَاءَتْ الصَّاخَّةُ. يَوْمَ يَفرُّ الْمَرْءُ مِنْ أَخِيِه. وَ أُمِّهِ وَ أَبِيِهِ. وَ صَاحِبَتِهِ وَ بَنِيِهِ.
“เมื่อเสียงกัมปนาทก้องขึ้นมา ในวันที่มนุษย์หนีจากพี่น้องของเขา และจากแม่และพ่อของเขา และจากภรรยาและลูกๆ ของเขา”
ตามกฎเกณฑ์ทางภาษาอาหรับ จากการเรียงลำดับในการแจกแจงเรื่องราวการละทิ้งบุตรเป็นกลุ่มสุดท้ายเนื่องจากความน่าสะพรึงของวัยสิ้นโลกที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มโองการนี้ ทำให้เข้าใจได้ว่าบิดามารดามีความรักและความผูกพันต่อบุตรของตนมากกว่าบุคคลอื่นๆ ทั้งหมดแม้แต่บิดามารดาของตนเองก็ตาม
นอกจากนี้ ความรักและความผูกพันดังกล่าวยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งที่ทำให้บิดามารดาอดทนต่อปัญหาและความไม่ราบรื่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในชีวิตคู่โดยไม่ด่วนตัดสินใจแยกทางกันเสียก่อน
๗) การปิดช่องทางของการเบี่ยงเบนทางเพศด้วยจุดประสงค์เพื่อการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง
รักร่วมเพศถือเป็นการเบี่ยงเบนทางเพศและเป็นพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติ ซึ่งผู้กระทำได้ถูกคาดโทษทั้งในโลกนี้และในปรโลกจากพระผู้เป็นเจ้าไว้อย่างรุนแรง กุรอานได้กล่าวถึงพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศดังกล่าวของกลุ่มชนของศาสดาลูฏ (อ.) ว่า
أتَأتُونَ الذُّكْرَانَ مِنْ الْعَالَمينَ. وَ تَذَروُنَ مَا خَلَقَ لَكُمْ رَبُّكُمْ مِنْ أَزْوَاجِكُمْ بَلْ أَنْتُمْ قَوْمٌ عَادوُنَ. قَالوُا لَئِنْ لَمْ تَنْتَهِ يَا لوُطُ لَتَكُونَنَّ مِنْ الُْمخْرِجيِنَ…. ثُمَّ دَمَّرْنَا الْآخَرينَ. وَأمْطَرْنَا عَلَيْهِمْ مَطَراً فَسَاءَ مَطَرُ الْمُنذَريِنَ
“ในหมู่ผู้คนทั้งหลายนี้ พวกท่านเข้าหาผู้ชาย (และสมสู่กับเพศเดียวกัน) และปล่อยภรรยาที่พระผู้อภิบาลของพวกท่านได้ทรงสร้างขึ้นมาสำหรับพวกท่านไว้กระนั้นหรือ ? พวกท่านเป็นหมู่ชนผู้ฝ่าฝืนอย่างแท้จริง พวกเขากล่าวว่า ลูฏเอ๋ย ถ้าท่านยังไม่หยุดยั้ง (คำพูดเช่นนี้) ท่านจะต้องถูกอัปเปหิออกไปอย่างแน่นอน … แล้วเราได้ทำลายคนอื่น (ที่หลงผิด) และเราได้ให้ห่าฝน (หินแห่งการลงทัณฑ์) ตกลงมาบนพวกเขา ช่างชั่วร้ายแท้ๆ ฝนของผู้ถูกตักเตือน” (ซูเราะฮ์อัชชุอะรออ์ โองการที่ 165 – 167 และ 172 – 173)
ในกลุ่มโองการนี้ รักร่วมเพศคือปัจจัยหนึ่งที่ทำลายสถาบันครอบครัว เป็นพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติและขัดแย้งกับปรัชญาของชีวิตคู่ อีกทั้งเป็นบาปใหญ่ที่ติดตามมาด้วยการลงโทษอันมหันต์จากพระผู้เป็นเจ้า
แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่งที่วัฒนธรรมเสรีนิยมในยุโรปได้นำผู้คนไปสู่ความถดถอยและความเสื่อมทรามจนกระทั่งรักร่วมเพศกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย
๘) การจัดแบ่งหน้าที่ทางกฎหมายและทางสังคมระหว่างสามีภรรยาบนพื้นฐานของความแตกต่างกันทางธรรมชาติ
พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณได้ทรงมอบหน้าที่ของการเป็นแม่แก่ผู้หญิงทั้งโดยโครงสร้างทางธรรมชาติและโดยการบัญญัติข้อกฎหมาย ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ได้ทรงมอบสิทธิแก่นางที่ไม่ต้องคิดเรื่องการหาเลี้ยงชีพโดยทรงมอบหน้าที่ดังกล่าวให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ชาย
وَالْوَالِدَاتُ يُرْضِعْنَ أَوْلاَدَهُنَّ حَوْلَيْنِ كَامِلَيْنِ لِمَنْ أَرَادَ أَنْ يُتُمَّ الرِّضَاعَةَ وَ عَلَى الْمَوْلُودِ لَهُ رِزْقُهُنَّ وَ كِسْوَتُهُنَّ بِالْمَعْروُفِ لاَ تُكَلِّفُ نَفْسٌ إِلاَّ وُسْعَهَا
“และแม่จะให้นมลูกของนางสองปีเต็ม (นี่) สำหรับผู้ประสงค์จะให้การดื่มนมจนครบ และสำหรับผู้มีลูก (คือผู้เป็นพ่อ) จำเป็นที่เขาจะต้องจัดหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มของนาง (ในระหว่างนี้) อย่างเหมาะสม ไม่มีผู้ใดแบกรับภาระเกินสมรรถภาพของตน …” (ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 233)
อนึ่ง อิสลามมิได้คัดค้านการทำงานนอกบ้านของภรรยาในกรณีที่จำเป็น และในบางเงื่อนไขการทำงานนอกบ้านของนางสามารถเสริมสร้างให้ครอบครัวเข้มแข็งและมั่นคงขึ้นได้ แต่วัฒนธรรมบางอย่างในสังคมเสรีนิยม เช่น เสรีภาพทางเพศ, รักร่วมเพศ, รูปแบบของเครื่องแต่งกาย และอื่นๆ อาจทำให้การทำงานนอกบ้านของภรรยากลายเป็นต้นเหตุของการหย่าร้างและความล้มเหลวของชีวิตคู่ได้